ม.มหิดล จัดวิจัย “การศึกษาผลของเครื่องออกกำลังกายด้วยการสั่นทั้งตัวต่อการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจในอาสาสมัครวัยกลางคน”

ข่าวทั่วไป Wednesday January 9, 2008 11:25 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 ม.ค.--ม.มหิดล
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ขอเชิญร่วมงานวิจัย “การศึกษาผลของเครื่องออกกำลังกายด้วยการสั่นทั้งตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจในอาสาสมัครวัยกลางคน”
ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ขอเชิญผู้สนใจ อายุ ๓๐ — ๔๐ ปี เข้าร่วมงานวิจัย เรื่อง “การศึกษาผลของเครื่องออกกำลังกายด้วยการสั่นทั้งตัวต่อการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจในอาสาสมัครวัยกลางคน” (ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล แล้ว เมื่อวันที่ ๑๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ รหัสโครงการ ๓๓๑/๒๕๕๐(EC2)
เครื่องออกกำลังกายด้วยการสั่น (Whole Body Vibration Exercise) เป็นอุปกรณ์สำหรับช่วยในการออกกำลังกายโดยอาศัยหลักการของการสั่นในแนวดิ่ง (vertical vibration) ที่ต้านกับแรงโน้มถ่วงของโลก
หลักการใช้งานโดยทั่วไป จะเป็นการออกกำลังด้วยการยืน นั่ง หรือ นอน โดยจัดท่าทางให้มีการเกร็งของกล้ามเนื้อที่ต้องการออกกำลังบนฐานของเครื่อง (platform) ซึ่งจะมีการสั่นขึ้นลงในแนวดิ่งด้วยความถี่ที่กำหนดเมื่อใช้ในการออกกำลังกายจะมีประโยชน์หลายด้าน ได้แก่ การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อ เพิ่มความสามารถในการทรงตัว เพิ่มการไหลเวียนโลหิต มีการเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก และยังมีผลกับฮอร์โมนชนิดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (musculoskeleton adaptation)
ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พญ.ประถมาภรณ์ หอมสุคนธ์ โทร.๐-๒๔๑๙-๗๕๐๘, ๐๘-๕๑๑๑-๐๖๕๗

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ