“AECS ” ชี้ รอลุ้นปัจจัยบวก พยุงตลาดหุ้นไทย ช่วงปลายปี แนะนำ STEC , BDMS , BLA , AH ส่งสัญญาณฟื้นตัว

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday November 13, 2018 14:59 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 พ.ย.--มีเดีย แพลนเนอร์ คอนซัลแทนท์ บล.เออีซี ประเมินทิศทางตลาดหุ้นไทย สัปดาห์นี้ คาด SET Index ผันผวนตามกรอบ สัญญาณทางเทคนิค โดยให้แนวรับ1,645 จุด ขณะที่แนวต้าน 1,700 จุด ระบุ นักลงทุน รอลุ้นปัจจัยบวก ที่อาจจะเข้ามาหนุนตลาด ในช่วงปลายปี เหตุจะเข้าสู่ช่วง High Season ของธุรกิจท่องเที่ยว และ ธุรกิจอุปโภคบริโภค ขณะที่ภาคการลงทุนส่อแววฟื้นตัว กระตุ้นการเลือกตั้ง พร้อมแนะลงทุนหุ้น STEC , BDMS , BLA , AH ที่ส่งสัญญาณฟื้นตัว บริษัทหลักทรัพย์ เออีซี จำกัด (มหาชน) หรือ AECS เปิดเผยว่าสัปดาห์นี้คาด SET Index ยังคงแกว่งตัวในกรอบ 1,645 - 1,700 จุด โดยแม้คาดตลาดจะผันผวนจาก Earning Season ตลอดทั้งสัปดาห์ ประกอบกับ มีปัจจัยกดดันจากหุ้นกลุ่มพลังงาน ที่คาดว่าร่วงตามราคาน้ำมันดิบ ทั้งนี้ แม้ว่าดัชนีหุ้นไทย จะมีการผันผวนอย่างต่อเนื่องในช่วงนี้ แต่ทางฝ่ายวิเคราะห์ ยังมีมุมมองเชิงบวกต่อตลาดหุ้น ในช่วงปลายปี เนื่องจากยังคงมีปัจจัยหนุน อาทิ ช่วงปลายปี เป็นช่วง High Season ของธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจอุปโภคบริโภค ดังนั้นจึงเชื่อว่าหุ้นในกลุ่มนี้ จะสามารถเข้ามาช่วยหนุนตลาดในช่วงจังหวะเวลาดังกล่าวได้ นอกจากนี้ กรณีการเลือกตั้งใน ปีหน้า จะเข้ามาเป็นตัวหนุนอีกหนึ่งปัจจัย ที่เข้ามาช่วยขับเคลื่อนการลงทุน ทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ดังนั้นจึงแนะนำลงทุน หุ้น STEC , BDMS , BLA , AH " ฝ่ายวิจัย คัดเลือกหุ้น 2 กลุ่ม คือ 1) Earning Growth (หุ้นกลุ่มที่ Consensus คาดกำไรช่วง 3Q61/หรือประกาศแล้ว โต YoY,กำไรช่วง 4Q61 และปี 61-62 โต YoY) ได้แก่ STEC (S24.3,R25.5), BDMS (S24.5,25.5) 2)Q3 Bottom (หุ้นกลุ่มที่คาดกำไรช่วง 3Q61/หรือประกาศแล้วหดตัว QoQ ต่อเนื่องจากช่วง1Q61-2Q61 และช่วง 4Q61 คาดกำไรฟื้นตัว QoQ ) ได้แก่ BLA (S32,R34), AH (S24,R25.5) " พร้อมกันนี้ ยังแนะนำให้จับตาทิศทางในต่างประเทศ โดย เฉพาะปัจจัยสำคัญ ได้แก่ การพูดคุยระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ และสี จิ้นผิง ในวันที่ 20 พ.ย.เพื่อหาทางออกร่วมกันต่อปัญหาสงครามการค้า ที่เริ่มส่งผลกระทบมายังภาคเศรษฐกิจ ซึ่งหากการพูดคุยดังกล่าวไม่สร้างความคืบหน้าด้านบวก จะส่งผล ทำให้ Sentiment ในตลาดกลับมาแย่ลงอีกครั้ง นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังมีทิศทางอ่อนตัว โดยแม้มีโอกาสฟื้นตัวในช่วงสั้น หลังซาอุฯ ประกาศเตรียมลดกำลังการผลิตเพิ่มอีก 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่คาดไม่เพียงพอต่อที่จะหักล้างแรงกดดันจากความต้องการใช้พลังงานที่มีแนวโน้มชะลอลง จากกำลังซื้อในหลายประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า นอกจากนี้ในส่วนของอุปทานน้ำมันดิบโลกยังมีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะการผลิตShale oil จากสหรัฐฯ ที่ทำให้ล่าสุดสหรัฐฯ มีกำลังการผลิตน้ำมันดิบสูงขึ้นเป็นอันดับ 1 ของโลก ทำให้เราแนะนำให้รอติดตามการประชุมOPEC ครั้งถัดไป (6 ธ.ค.) เพื่อดูมติของกลุ่มต่อความร่วมมือปรับลดกำลังการผลิต อีกทั้ง ความเสี่ยงด้านการคลังของอิตาลี หลังคณะกรรมาธิการยุโรประบุถึงแนวโน้มการโตของ ศก. ของกลุ่มที่มีโอกาสจะชะลอตัวลง พร้อมทั้งเตือนถึงสถานการณ์ด้านการคลังของอิตาลี ที่หากยังเดินหน้าใช้งบประมาณตามร่างงบประมาณที่นำเสนอครั้งล่าสุด จะทำให้ยอดขาดดุลงบประมาณของอิตาลีสูงเกินระดับที่กลุ่มกำหนดไว้ที่ 3% ในปี 63

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ