กรุงเทพฯ--19 พ.ย.--Med Agency
จากที่ ผู้สื่อข่าวเว็บไซต์เมดฮับนิวส์ดอทคอม (MEDHUBNEWS.COM) และ เพจ sasook รายงานไปทางเพจ พร้อมภาพว่า ศาสตราจารย์ Tikki Pangestu ยืนยันว่า องค์การอนามัยโลก ( WHO ) ไม่เคยสั่งแบนบุหรี่ไฟฟ้า ต่อมามีผู้สนใจจำนวนมาก และถามถึงผู้ชายคนนี้ ที่ผู้สื่อข่าวสายสาธารณสุข ของเว็บไซต์เมดฮับนิวส์ดอทคอม (MEDHUBNEWS.COM) ได้สัมภาษณ์อย่างใกล้ชิด ที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันก่อนคือใคร ?
ทั้งนี้ หากพูดถึงศาสตราจารย์ Tikki Pangestu หรืออาจารย์ชาวเอเชียของแพทย์ทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งผ่านประสบการณ์มากมาย
แม้บรรดาคนทั่วไป ประชาชนคนไทย ผู้อ่านข่าว ยังไม่ทราบดีว่า คนๆ นี้เป็นใคร ทำไมผู้สื่อข่าวสายสาธารณสุข ของเว็บไซต์เมดฮับนิวส์ดอทคอม เราจึงตื่นเต้นกับคำพูดของเขา
แต่เชื่อว่า บรรดาแพทย์ หรือ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักระบาดวิทยา และ ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขของไทย คงรู้จักกันอย่างดี
เนื่องจาก ศาสตราจารย์ Tikki Pangestu มีบทบาทที่สำคัญต่อการกำหนดนโยบายสาธารณสุขในระดับโลก และคำพูดของเขามีอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายในหลายๆ ประเทศ
ศาสตราจารย์ Tikki Pangestu เคยเป็นผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยนโยบาย และความร่วมมือ ขององค์การอนามัยโลก ( WHO )
อดีตเคยเป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลก ซึ่งมีงานวิจัย งานวิชาการมากมาย ซึ่งจะเห็นได้ว่านักวิทยาศาสตร์การแพทย์ของไทยยังต้องอ่านตำราของเขา
โดยองค์ความรู้ด้านระบาดวิทยาได้ตีพิมพ์ผลงานของอาจารย์ท่านนี้ ผ่านบทความทางวิทยาศาสตร์กว่า 250 ชิ้น และเป็นผู้เขียนรายงานสำคัญหลายฉบับของ องค์การอนามัยโลก (WHO)
รวมทั้งรายงานสุขภาพโลกในปี 2013 , การวิจัยเพื่อสุขภาพสากล , ความรู้เพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นในปี 2004 และ Genomics and World Health (2002)
จุดเด่นในงานวิจัยของเขา จะเชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ และการป้องกันโรคติดเชื้อ
รวมถึงกำหนดนโยบายสาธารณสุข ไม่ว่าจะเป็น แนวทางปฏิบัติ การพัฒนาขีดความสามารถการวิจัยในประเทศกำลังพัฒนา เป็นต้น
และที่ต้องฟังอย่างยิ่ง คือ ในปี 2018 ศาสตราจารย์ Tikki Pangestu เป็นผู้ตรวจทานงานวิจัย "บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์" หรือ บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งได้รับมอบหมายจาก กระทรวงสาธารณสุขอังกฤษ อย่างละเอียด รอบด้าน
จนกระทั่งทำให้ คณะกรรมการวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของสภาแห่งราชอาณาจักร ผ่านกฎหมายให้ประชาชนชาวอังกฤษได้ใช้ "บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์" หรือ บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งระบุชัดเจนว่าลดอันตรายต่อผู้สูบบุหรี่ รวมถึงสมาชิกในครอบครัวอีกด้วย
เขาบอกว่า องค์การอนามัยโลก ( WHO ) ไม่เคยสั่งแบนบุหรี่ไฟฟ้า และ เรียกร้องให้ทุกประเทศในเอเชียพิจารณาโดยด่วน
และนี่คือ จุดเปลี่ยนสำคัญของเอเชีย และ ถึงเวลาที่บรรดาแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักระบาดวิทยา และผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขของไทย ต้องรีบกำหนดนโยบายด่วน