กรุงเทพฯ--30 พ.ย.--หอการค้าไทย
นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยกำหนดจัดสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 36 ขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม 2561 ณ กรุงเทพฯ โดยในปีนี้เป็นปีที่หอการค้าไทยครบรอบ 85 ปี จึงได้มี Theme การจัดงานสัมมนาฯ คือ "85 ปี แห่งความทุ่มเท ให้ไทยเท่ ไทยเท่าเทียม ไทยยั่งยืน" โดยในวันนี้ (30 พฤศจิกายน 2561) จะมีการจัดสัมมนา Young Entrepreneur Chamber of Commerce (YEC) หรือการสัมมนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ YEC หอการค้าทั่วประเทศ ทั้งนี้ ส่งเสริมและพัฒนา YEC ให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น
นอกจากนี้ ยังได้มีการประกวด YEC Pitching ซึ่งปีนี้จัดเป็นปีที่ 3 โดยมี Theme ในการแข่งขัน "Local STARTUP ไทยเท่" ซึ่งไทยเท่ เป็นการนำเอกลักษณ์วัฒนธรรมของจังหวัด ผนวกกับ นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ สร้างเป็นสินค้าและบริการที่แตกต่าง ให้มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่ โดยสามารถขับเคลื่อน ได้ทั้ง 3 Value Chain หลักของหอการค้าฯ ทั้งในด้านการค้าการลงทุน ด้านเกษตรและอาหาร ด้านท่องเที่ยวและบริการ " YEC Pitching เป็นกิจกรรมหนึ่งที่เปิดโอกาสให้ YEC ได้ นำแนวคิดที่ดีมาพัฒนาต่อยอด และมี YEC เพิ่มขึ้น จากหลายจังหวัดที่ได้ส่งผลงานเข้าประกวด ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการที่ YEC ได้มีส่วนร่วมในการที่จะทำงานเพื่อส่วนรวม และพัฒนาเศรษฐกิจให้กับจังหวัด ภูมิภาค และประเทศ" นายกลินท์ กล่าว
นางสาวปริม จิตจรุงพร ประธานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ YEC หอการค้าไทย กล่าวว่า คณะกรรมการฯ มีการดำเนินการ 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้าน Membership Management 2) ด้าน Learning 3) ด้าน Pitching 4) ด้าน Connect และ5) ด้าน Communication โดยได้ดำเนินการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อที่จะเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของ YEC ให้มีความเข้มแข็งมายิ่งขึ้น ตลอดระยะเวลา 2 ปี ตามวาระคณะกรรมการฯ (ปี 25602561) ได้มีการจัดทำโครงการ และกิจกรรมต่าง ๆ กว่า 200 โครงการ ที่ YEC ได้นำเทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้ามาบริหารจัดการให้เกิดความสะดวก และเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย รวมทั้ง เชื่อมโยงเครือข่ายของ YEC ทั่วประเทศ
สำหรับการประกวด YEC Pitching เป็นอีก 1 โครงการ ที่คณะกรรมการฯ จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนาฯ YEC ให้ใช้พลังความคิดสร้างสรรค์ และเป็นช่องทางในการพัฒนาต่อยอดโครงการในอนาคต รวมทั้ง เป็นการนำนวัตกรรม แนวคิดใหม่ ๆ มาต่อยอดผลิตภัณฑ์ ที่เป็นสินค้า GI หรือของเด่นแต่ละจังหวัด ในการเพิ่มมูลค่าและสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการ สำหรับการท่องเที่ยวชุมชน โดยมีหอการค้าจังหวัด และ YEC เป็นผู้ขับเคลื่อน นางสาวปริม กล่าวว่า การประกวดฯ ในปีนี้ได้มีผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรก จำนวน 8 ทีม โดยจะมีการนำเสนอโครงการให้กับคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เข้าร่วมสัมมนา ได้มีส่วนร่วมในการตัดสิน ซึ่งหลังจากที่ผ่าน
การคัดเลือกแล้ว จะมีการจัดอบรมให้กับทั้ง 8 ทีม โดยได้วิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาช่วย
ให้ข้อเสนอแนะ และแสดงความคิดเห็น เพื่อนำกลับไปปรับปรุง พัฒนาโครงการให้ดีมากยิ่งขึ้น
รายชื่อทีมที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 8 ทีม ได้แก่
1. โครงการ Hi Rayong : YEC หอการค้าจังหวัดระยอง ซึ่งเป็นระบบ Web-based Application ที่ทำขึ้นเพื่อให้เป็นศูนย์รวมแหล่งข้อมูล Unseen ในท้องถิ่นและชุมชนย่อยๆ ในจังหวัดระยอง ซึ่งไม่สามารถหาอ่านข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ได้ทั่วไปตามอินเตอร์เน็ตหรือเว็บไซต์ และยังเป็นแหล่งให้ข้อมูลการท่องเที่ยว Unseen แบบครบวงจร รวมทั้งเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการในชุมชนทั้งทางตรงและทางอ้อม พร้อมเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ให้เป็นที่พึงพอใจสูงสุด
2. โครงการ บ้านไหม HUB : YEC หอการค้าจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นแอพฯ เดียวที่รวมผ้าไหมคุณภาพดี ขึ้นชื่อในด้านความสวยงาม พิถีพิถันในขั้นตอนการผลิตจาก "โคราช" ที่สุดแห่งการปฏิวัติวงการผ้าไหม แอพฯ นี้จะทำให้สามารถเลือกผ้าไหมในสไตล์ที่ถูกใจ พร้อมรับประกันจัดส่งถึงบ้าน หรือ "สั่งตัด"
3. โครงการ MORNDAY : YEC หอการค้าจังหวัดแพร่, สุราษฎร์ฯ, กรุงเทพฯ MORNDAY (มอนเดย์) เป็นการเริ่มต้นจากแนวคิดของการนำผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นที่มีอยู่เดิมมาพัฒนาต่อยอด ให้เกิดคุณค่าการนำเอาของดีแต่ละจังหวัดมารวมกัน เพื่อสร้างมูลค่าให้มากขึ้นโดยที่ผลิตภัณฑ์จะต้องเป็นของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน (Lifestyle Product) นอกจากนั้น ยังเป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างสรรค์ให้มีจุดขายที่แตกต่าง สามารถเข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป เข้ากับกลุ่มเป้าหมายได้กว้างขึ้น มีเรื่องราว มีที่มาที่ไปของวัตถุดิบแต่ละชนิด เป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างยังยืน
4. โครงการ Nan Alive : YEC หอการค้าจังหวัดน่าน น่าน อะไลฟ์ (NanAlive.co) เกิด จากแนวคิดการอยากทาอะไรสักอย่างเพื่อบ้านเกิดของสมาชิกในทีมทั้ง 3 คน นั่นคือ "เมืองน่าน" โดยเล็งเห็นถึงคุณค่าของ วิถีชีวิต ชุมชน วัฒนธรรม ประเพณี รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์ ที่มีมีเสน่ห์ชวนค้นหา ควรค่าต่อการรักษา แต่ยังขาดการรับรู้จากคนรุ่นใหม่ในพื้นที่ และคนส่วนใหญ่ในประเทศ น่าน อะไลฟ์ จึงเป็น Travel Platform
Online ที่จะบูรณาการระหว่างส่วนสาคัญ 2 กลุ่ม นั่นคือ1. กลุ่ม ชุมชนหรือผู้ประกอบการในท้องถิ่นกับ 2. กลุ่มนักท่องเที่ยวที่ชอบการท่องเที่ยวสไตล์ FIT (Free and Independent Traveler) โดยน่านอะไลฟ์ จะอานวยความสะดวก ในเรื่องของการบริการที่ ง่าย ครบ จบ ในเว็บเดียว (One Stop Service)
5. โครงการ เพาะรัก(ษ์) : YEC หอการค้าจังหวัดพะเยา เป็นแนวคิดที่เกิดจากมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งเป็นผู้ทำการวิจัยเรื่องนกยูงไทย ชุมชน องค์กรภาครัฐและภาคเอกชนในจังหวัดพะเยา โดยมีกลุ่ม YEC พะเยาดำเนินการในการสร้างการรับรู้และช่องทางการทำการตลาด เรามีนกยูงไทยคอเขียวที่หายากและใกล้สูญพันธุ์แต่มีมากกว่า 3,000 ตัว ทั่วจังหวัดพะเยา เป็นจุดขาย มีสินค้า GI ตัวเดียวที่ใช้ร่วมกับ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน คือข้าวก่ำล้านนา ที่ถูกนำมาบรรจุเป็นสินค้าชุมชนเพื่อมาจัดจำหน่าย มีวิสาหกิจชุมชนข่วงนกยูงที่ ต.ห้วยข้าวก่ำ อ.จุน จ.พะเยา เป็นโมเดลของการบริหารจัดการชุมชน เพื่อให้ คน นก ป่า อยู่ร่วมกันเชิงสร้างสรรค์ เพื่อให้คนในพะเยา มั่งคั่ง มั่นคง อย่างยั่งยืน โดยใช้แนวคิดการทำการตลาดแบบ "Shairing Economic System"
6. โครงการ ส้มโอท่าข่อย : YEC หอการค้าจังหวัดพิจิตร ผลิตภัณฑ์ Night Healthy Body Lotion
(ไนท์ เฮลตี้ บอดี้ โลชั่น) เป็นการคิดค้นผลิตภัณฑ์บำรุงผิว เนื้อสัมผัสโลชั่นที่อ่อนนุ่ม โดยใช้ส้มโอท่าข่อยเข้ามามีส่วนประกอบในการทำผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นผลไม้ GI ของจังหวัดพิจิตร ที่อุดมไปด้วยวิตามินซีสูงช่วยทำให้ผิวกระจ่างใส ให้รู้สึกผ่อนคลายจากน้ำมันหอมระเหยจากสารสกัดเปลือกส้มโอท่าข่อย
7. โครงการ เรื่องของโอ่ง : YEC หอการค้าจังหวัดราชบุรี เป็นการต่อยอดทางธุรกิจ จากโรงงานโอ่งเรืองศิลป์ พัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมจังหวัดราชบุรี ซึ่งศิลปะการปั้นโอ่งกำลังเลือนหายไป จึงได้นำเอกลักษณ์ของจังหวัดราชบุรีมาผสมผสานเข้ารวมกันอย่างลงตัว และยังทำให้คนรุ่นหลังได้รู้จักกับศิลปะโบราณและรักษาวิถีชุมคนราชบุรี ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน
8. โครงการ อะกรีโต : YEC หอการค้าจังหวัด (กลุ่มภาคใต้) อะกรีโต เป็นแพลตฟอร์มทัศนวิสัยแบบทันเวลาจริงในห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจกาแฟ พร้อมระบบแนะนำอย่างแม่นยำ ที่เชื่อมโยงตั้งแต่ต้นน้ำ จนถึงปลายน้ำ ของธุรกิจกาแฟ ช่วยให้เกษตรกรมีช่องทาง และเครื่องมือในส่งมอบสินค้า และบริการให้กับลูกค้า ปรับบทบาทจากผู้ผลิตเป็นผู้แปรรูปโดยผ่านระบบ sharing economy ระบบช่วยแนะนำการผลิตสารกาแฟให้ได้คุณภาพอย่างสม่ำเสมอ สามารถเพิ่มกำลังการผลิต ลดความสูญเสียจากการว่างของเครื่องจักร แนะนำการผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาด และ ตรวจสอบย้อนกลับได้