กรุงเทพฯ--3 ธ.ค.--เฮ็ดบอท
เมื่อวันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน ได้มีการเปิดตัวโปรเจคท์ CodeZero ความร่วมมือล่าสุดของสองผู้นำด้านแชทบอทในไทยอย่าง ConvoLab และ HBOT.io เพื่อให้เป็น "open-source for conversational A.I." ครั้งแรกในภูมิภาค โดย CodeZero จะเป็นเหมือนแหล่งรวม open-source เป็น repository สำหรับ developers ทั้งชาวไทยและต่างประเทศให้สามารถนำ Code ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดย Convolab และ HBOT.io ไปใช้เพื่อสร้างฟังก์ชั่นการใช้งานต่างๆเกี่ยวกับ conversational A.I. การร่วมมือกันในครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการยกระดับมุมมองความคิดที่กลุ่มบริษัทเอกชนด้านเทคโนโลยีในไทย ออกมาแบ่งปันพัฒนาการของตัวเองเพื่อสังคมนักพัฒนาซอฟท์แวร์ รวมถึงผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ในรูปแบบ open-source ไม่คิดค่าใช้จ่าย
"แนวคิด open-source อาจจะถือเป็นเรื่องใหม่ในภูมิภาคของเรา แต่เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและขยายผลไปในวงกว้าง เราควรต้องแบ่งปันสิ่งที่คิดค้นขึ้นมา เพื่อประโยชน์สูงสุดของการพัฒนาประเทศด้วยเทคโนโลยี ตัวอย่างในอดีตเช่น Linux หรือในปัจจุบันอย่าง Android และล่าสุดก็มี Tesla ออก open-source เทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับ ประเทศเราต้องการสิ่งเหล่านี้ อยากให้มี open-source partners และผู้ร่วมแนวคิดมาช่วยกันเยอะๆ มาช่วยกันสร้าง A.I. nation ให้เรา leapfrog ประเทศอื่นๆให้ได้" ดร. โกศล ทรัพย์ประเสริฐ หนึ่งในผู้ผลักดันการพัฒนาด้าน A.I. กล่าว
โดย CodeZero เป็นการร่วมมือกันของเครือข่ายองค์กรพันธมิตร ระหว่าง Convolab และ HBOT.io ซึ่งจะเปิดเป็น series และคาดว่าจะมี open-source ทยอยออกมาให้ใช้งานกันอย่างหลากหลาย และ open-source หลายๆชิ้นสามารถเชื่อมต่อกันเหมือนเป็น modules หรือ micro-services ที่เห็นกันบ่อยๆในการทำแอพฯ แต่รอบนี้เราเน้นไปเพื่อ A.I. chatbot
เริ่มด้วย "Flex Designer" ซึ่งทาง CEO แห่ง ConvoLab คุณทัชพล ไกรสิงขร ได้เปิด open-source ออกมาเป็นตัวแรกภายใต้โปรเจคท์นี้ ซึ่งคุณสมบัติของ "Flex Designer" ประกอบไปด้วยความสามารถที่จะสามารถทำให้ผู้สร้าง chatbot บนไลน์สามารถเข้าถึงและใช้งาน Line Flex Message ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยผู้ใช้งานสามารถออกแบบ Line Flex Message ได้บน Flex Designer โดย Flex Designer จะทำการแปลง Flex Message ดังกล่าวออกมาเป็น code เพื่อสามารถนำไปใช้งานกับ Line ได้ทันที" นอกจากนี้ยังมี Synonym Crawler (The service is designed to perform word-segmentation on a Thai sentence and crawl out all relevant synonyms of each word, allowing NLP services to train its AI on a much richer and broader set of data. Current word segmentation accuracy of 95%+ on NECTEC's BEST corpus.) ซึ่ง Mission ของ ConvoLab คือการสร้างประสบการณ์ใหม่ในการเชื่อมถึงกันระหว่างองค์กรธุรกิจและผู้คน ซึ่งแชทบอทเป็น key สำคัญในการขับเคลื่อนดังกล่าว แชทบอทเป็นเทคโนโลยีที่มีความซับซ้อนเพราะเป็นการผสมผสานระหว่างการใช้งาน A.I. และการออกแบบ User experience ที่ต้องทำได้อย่างลงตัวซึ่งจะสำเร็จได้หากมีการแบ่งปันเทคโนโลยีและประสบการณ์ความรู้ระหว่างกัน เราจึงต้องการสนับสนุน ecosystem ของแชทบอทเมืองไทยและภูมิภาคให้ก้าวหน้ามากขึ้นด้วยการเปิด open source ชิ้นส่วนสำคัญหลายๆอย่างที่จำเป็นต่อการสร้างแชทบอท เพื่อส่งเสริมให้นักพัฒนาอิสระและองค์กรต่างๆร่วมกันต่อยอดคิดค้นและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ"
ต่อด้วยอีกหนึ่งผู้ผลักดันการพัฒนา open-source A.I. อย่าง HBOT.io ก็เตรียมปล่อย open-source ที่มีชื่อว่า "Omni" โดย คุณทรงพล บัวสถิตย์ (CEO, Thailand) ยกประเด็นเกี่ยวกับความยากของการรับส่ง data ระหว่าง channels/platforms ให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ซึ่ง "Omni" จะทำหน้าที่เป็นเหมือนวุ้นแปลภาษา ที่จะช่วยให้ chat message หรือข้อความที่คุยผ่าน channels ต่างๆ เช่น LINE, Facebook Messenger และช่องทางอื่นๆให้อยู่ในรูปแบบหนึ่งเดียว เหมือนเป็นตัวที่แปลง data ให้ chatbots ที่อยู่ต่าง channels กันสามารถที่จะสื่อสารเข้าใจตรงกันได้ ประโยชน์ในการนำไปพัฒนา chatbot หรือซอฟท์แวร์ที่เกี่ยวข้องก็คือ ในการพัฒนาระบบแชทบอทต่อไป นักพัฒนาไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ messaging protocal ในทุกๆ messaging app นักพัฒนาสามารถทำ ระบบ backend ตัวเดียวและใช้ Omni เป็นตัวกลางสื่อสารไปยัง facebook หลายๆเพจ Line account หลายอัน หรือ channel ที่พัฒนาขึ้นมาเองได้ในทันที และนั้นสามารถย่นระยะเวลาการพัฒนาลงได้ถึง 40% นอกเหนือจากประโยชนในการพัฒนาแล้ว Hbot สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีแบบ open-source และให้เป็นของคนไทยจึงอยากเชิญชวนนักพัฒนามาร่วมกัน contribute ใน code github ของ omni เพื่อให้ omni รองรับ messaging app ทุก app บนโลกใบนี้
แน่นอนว่า CodeZero เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการทำ open-source ในด้าน A.I. ของประเทศไทย แต่จุดมุ่งหมายของโปรเจคท์นี้คงไม่ได้หยุดอยู่เพียงเท่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการต่อยอดทางเทคโนโลยีของ open-source ในแต่ละตัว รวมถึงการใช้งานที่แพร่หลายและความร่วมมือของกลุ่มนักพัฒนาในระดับภูมิภาค (regional communities) ที่น่าจะนำมาซึ่งสิ่งใหม่ๆ เพื่อขยายขีดความสามารถในการพัฒนาและผลงานนวัตกรรมใหม่ๆ อันจะส่งผลสู่ความสำเร็จที่เริ่มขึ้นจากฝีมือคนไทยในเวทีโลก