กรุงเทพฯ--13 ธ.ค.--มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรภ.สงขลา แทคทีมนำ 7 ผลงานวิจัยพัฒนาท้องถิ่น โชว์เวทีประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
เมื่อเร็วๆ นี้ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เดินทางไปเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในเวทีประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2561 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ ซึ่งในการประชุมวิชาการครั้งนี้มีคณาจารย์ของทางคณะฯ เข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย รวม 7 เรื่อง แบ่งเป็นภาคโปสเตอร์ 1 เรื่อง และภาคบรรยาย 6 เรื่อง ซึ่งงานวิจัยภาคโปสเตอร์เป็นการศึกษาอิทธิพลของปริมาณสารคู่ควบไซเลนต่อการอ่อนตัวของความเค้นและพลังงานสูญหายของยางธรรมชาติวัลคาไนซ์ที่ผสมซิลิกาเป็นสารตัวเติม จัดทำโดย ดร.วัชรินทร์ สายน้ำใส นายสุไหลหมาน เบญฤทธิ์ นายกิตตินันท์ ช่วยดำ และ น.ส.ศศิลักษณ์ ชีทอง จากหลักสูตรยางและพอลิเมอร์
สำหรับผลงานวิจัยภาคบรรยาย ได้แก่ 1. การแยกและคัดเลือกยิสต์ชอบแรงดันออสโมติกสูงจากน้ำผึ้งท้องถิ่นเพื่อผลิตเอทานอล โดย น.ส.วาสนา มู่สา น.ส.โซเดีย มาหะมะ และ น.ส.อัมนี มะงงหลักสูตรจุลชีววิทยาประยุกต์ 2. การหาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตเอนไซม์โปรตีเอสทนร้อนในสภาวะด่างโดย Bacillus sp.PS53 จัดทำโดย ผศ.เชาวนีพร ชีพประสพ หลักสูตรเคมีและเคมีประยุกต์ 3. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของแอลฟ่าแมงโกสตินจากเปลือกมังคุดและแดปโนเรตินจากรากพาหมี โดย ผศ.ดร.ทวีสิน นาวารัตน์ และ น.ส.นันธิดา ลิ่มเสฎโฐ หลักสูตรเคมีและเคมีประยุกต์ 4. ปริมาณและองค์ประกอบมูลฝอยในหาดชลาทัศน์ จ.สงขลา โดย ผศ.ขวัญกมล ขุนพิทักษ์ น.ส.มณิสรา เลื่อนนก และ น.ส.วรรษมล ฤทธิไพโรจน์ หลักสูตรการจัดการสิ่งแวดล้อม 5. แบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับโรคมือ เท้า ปาก บนเครือข่าย โดย นายอดิศักดิ์ เด็นเพ็ชรหน๋อง และ น.ส.ประพรรณพร รัตนะ หลักสูตรคณิตศาสตร์และสถิติ 6. การประยุกต์ใช้กระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับขั้นในการเลือกทำเลที่ตั้งของจุดรับซื้อปาล์มน้ำมันใน จ.นครศรีธรรมราช โดย ผศ.สารภี จุลแก้ว ผศ.กันต์ธมน สุขกระจ่าง และ ผศ.ธนะรัตน์ รัตนกูล หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์
นอกจากนั้น ในโอกาสเดียวกันนี้ยังมีอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มรภ.สงขลา เข้าร่วมงานประชุมวิชาการในครั้งนี้ด้วย คือ ดร.ธีรยุทธ์ ศรียาเทพ อาจารย์จิรภา คงเขียว ผศ.ดร.จารุวรรณ คำแก้ว อาจารย์จิราภรณ์ กวดขัน ดร.ภัทราวรรณ เพชรแก้ว และ อาจารย์ศรันยา เฮงสวัสดิ์