กรุงเทพฯ--17 ธ.ค.--นิด้าโพล
"การรับรู้ภาพลักษณ์ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในสายตาประชาชน"
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ร่วมกับ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็น เรื่อง "การรับรู้ภาพลักษณ์ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในสายตาประชาชน" ทำการสำรวจระหว่างเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม พ.ศ. 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศกระจายทุกภูมิภาค ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Sampling) จำนวน 2,065 หน่วยตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ และลงพื้นที่ภาคสนาม กำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95.00จากผลการสำรวจเมื่อถามว่ารู้จัก หรือเคยได้ยินชื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) หรือไม่ พบว่า ผลสำรวจ ปี 2561 ประชาชนส่วนใหญ่รู้จัก สนช. ร้อยละ 83.54 และไม่รู้จัก ร้อยละ 16.46 และผลสำรวจเมื่อปี 2558 พบว่า ประชาชนรู้จักสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ร้อยละ 42.30 และไม่รู้จัก ร้อยละ 57.70 เมื่อเปรียบเทียบผลการสำรวจ พบว่า ในปี 2561 ประชาชนรู้จักสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพิ่มขึ้นมากกว่าปี 2558
เมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ทั้ง 4 ด้าน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ด้านการส่งเสริมประชาธิปไตย ร้อยละ 84.50 มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ร้อยละ 82.50 ด้านการตรากฎหมาย ร้อยละ 82.00 และด้านการต่างประเทศ ร้อยละ 81.75
สำหรับความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในด้านอื่น ๆ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 19.88 ระบุว่า สนช. ดำเนินงานได้ดีแล้ว ทำให้ประชาชนได้รับรู้ถึงบทบาทหน้าที่ทางด้านนิติบัญญัติ ร้อยละ 13.25 ระบุว่า ควรเพิ่มช่องทางประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินงานต่าง ๆ ของ สนช.ให้ประชาชนทุกกลุ่มได้ทราบอย่างทั่วถึง และระบุว่า อยากให้ สนช. ลงพื้นที่พบปะประชาชนให้มากขึ้นและครอบคลุมทุกพื้นที่ ร้อยละ 9.94 ระบุว่า ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในเรื่องต่าง ๆ และแสดง
ความคิดเห็นมากกว่านี้ ร้อยละ 4.22 ระบุว่า อยากให้ สนช. ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลให้มากกว่านี้ ร้อยละ 3.92 ระบุว่า อยากให้มี การปลูกฝังหรือจัดกิจกรรมที่ให้ความรู้เกี่ยวการทำงานของ สนช. กับเยาวชนในโรงเรียน ร้อยละ 3.61 ระบุว่า อยากให้ สนช. จัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทุกพื้นที่ ร้อยละ 3.01 ระบุว่า อยากให้ สนช. ทำงานโดยปราศจากการแทรกแซงทางการเมือง และร้อยละ 2.71 ระบุว่า การพิจารณากฎหมาย ควรมีความเป็นกลาง โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ
เมื่อพิจารณาลักษณะข้อมูลทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 52.45 เป็นเพศชาย และร้อยละ 47.55 เป็นเพศหญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 25.52 มีอายุระหว่าง 46-55 ปี ร้อยละ 19.81 อายุระหว่าง 36-45 ปี ร้อยละ 19.61 อายุระหว่าง 56-65 ปี ร้อยละ 19.47 มีอายุระหว่าง 26-35 ปี ร้อยละ 9.88 มีอายุระหว่าง 18-25 ปี ร้อยละ 5.23 มีอายุระหว่าง 65 ปีขึ้นไป และร้อยละ 0.48 ไม่ระบุ
ตัวอย่างร้อยละ 37.53 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.12 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 17.00 จบการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี/เทียบเท่า ร้อยละ 12.01 จบการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.96 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า และร้อยละ 0.39 ไม่ระบุ ตัวอย่างร้อยละ 33.12 เป็นข้าราชการ/ลูกจ้างของรัฐ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 21.84 เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ/ค้าขาย ร้อยละ 10.94 เกษตรกร/ประมง ร้อยละ 10.70 พนักงานเอกชน ร้อยละ 8.96 ผู้ใช้แรงงาน/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 8.72 พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 4.84 นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.53 ไม่ระบุ และอื่น ๆ ร้อยละ 0.34
ตัวอย่างร้อยละ 28.72 มีรายได้ 10,001 - 20,000 บาท ร้อยละ 23.73 มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 23.58 มีรายได้ 20,001 - 30,000 บาท ร้อยละ 11.14 มีรายได้มากกว่า 40,000 บาท ร้อยละ 9.83 มีรายได้ 30,001 - 40,000 บาท ร้อยละ 2.47 ไม่ระบุรายได้ และร้อยละ 0.53 ไม่มีรายได้ ตัวอย่างร้อยละ 27.36 อาศัยอยู่ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 22.18 อาศัยอยู่ในภูมิภาคกลาง ร้อยละ 19.66 อาศัยอยู่ในภูมิภาคใต้ ร้อยละ 16.90 อาศัยอยู่ในภูมิภาคเหนือ และร้อยละ 13.90 อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล