กรุงเทพฯ--18 ธ.ค.--มหาวิทยาลัยศิลปากร
อย่างที่ทราบกันดีว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีของดีมากมาย ทุกจังหวัด อำเภอ หมู่บ้าน ล้วนมีสถานที่ท่องเที่ยว วัฒนธรรม อาหาร และผ้าไทยที่มีจุดเด่นแตกต่างกันออกไป นิทรรศการขอนแก่นไลฟ์สไตล์ วิถีนุ่งห่ม "ผ้าเมืองแคน แดนแก่นคูณ" กิจกรรมในโครงการ "พัฒนาต่อยอดคุณภาพมาตรฐานออกแบบและจัดทำบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดขอนแก่น" ภายใต้ "โครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีจังหวัดขอนแก่น" ที่สร้างและพัฒนาผู้ผลิต ผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย ให้มีขีดความสามารถในการคิดเชิงต่อยอดเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยทีม ADSU หรือASSET DESIGN คณาจารย์และนักศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบ โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดขอนแก่น ลงพื้นที่ชุมชนต่างๆ พัฒนาต่อยอดออกแบบผ้าไทย สินค้า OTOP ของชุมชนจังหวัดขอนแก่น 114 หมู่บ้าน 373 ผลิตภัณฑ์ เพื่อร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าชุมชนอย่างรอบด้าน เพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการ ชาวบ้านที่ร่วมกันสืบสานผ้าไทย และเป็นการสร้างความเข้มแข็งกับชุมชน
นายปัญจพล เหล่าพูนพัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่ามหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับมอบหมายในโครงการ OTOP นวัตวิถี ด้วยการนำบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญมาให้องค์ความรู้พัฒนาออกแบบและจัดทำบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ชุมชนให้แก่ผู้ประกอบการในชุมชนของจังหวัดขอนแก่น โดยจากจุดเริ่มต้นที่ผู้ประกอบการได้นำผลิตภัณฑ์ซึ่งทำในชุมชนมาแสดง และวิทยากร นักออกแบบจะให้คำแนะนำในการพัฒนาแต่ละผลิตภัณฑ์แบบตัวต่อตัว แล้วนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนา ต่อยอดจากผลิตภัณฑ์เดิม ปรับตัวสู่ผลิตภัณฑ์ที่สามารถพัฒนาไปในระดับที่ดีกว่า และก้าวกระโดดสู่การเป็นผลิตภัณฑ์เกรดพรีเมี่ยม เป็นการยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ ประเภท ผ้าและเครื่องแต่งกาย เป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนอย่างแท้จริง
"ตลอดระยะเวลาในการถ่ายทอดความรู้ได้มีการแนะนำ ให้คำปรึกษา ติดตาม จนเกิดการพัฒนาต่อยอดและผลิตภัณฑ์ที่สวยงาม ถือได้ว่าเป็นหนึ่งผลสัมฤทธิ์ที่งดงาม สร้างความน่าภาคภูมิใจที่จ.ขอนแก่น กลายเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่จะมีผลิตภัณฑ์ผ้าที่สวยงาม จำนวน 373 ชิ้น ซึ่งการออกแบบพัฒนา ไม่ใช่เพียงรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังให้ความรู้ในเรื่องการบรรจุภัณฑ์ สร้างจุดเด่น จุดขาย บ่งบอกถึงเอกลักษณ์โดดเด่น แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีที่สอดคล้องกับชุมชนนั้นๆ ขณะเดียวกัน ยังเป็นการพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ และนักศึกษา ในการลงพื้นที่ ได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เรียนรู้วิถีชีวิตชุมชน ได้ลงมือปฎิบัติจากสถานที่จริง ได้พัฒนางานออกแบบให้เกิดผลงานที่เป็นรูปธรรมชัดเจน"นายปัญจพล กล่าว
ศ.เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กล่าวว่า รู้สึกเป็นเกียรติและยินดีที่ได้มาร่วมงานครั้งนี้ ได้เห็นความสำเร็จจากความร่วมมือ ร่วมแรงของหลายฝ่ายจนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ดีๆ สวยงาม เพราะกว่าจะได้อย่างวันนี้คงไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งทางจ.ขอนแก่น คณะวิทยากรผู้ให้ความรู้ และผู้ประกอบการล้วนต้องทำงานอย่างหนัก พัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีรูปลักษณ์ที่สวยงาม เอกลักษณ์โดดเด่น และมีเรื่องราที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นจุดขายที่สามารถนำไปต่อยอดทางการตลาดเพื่อขายทั้งในและต่างประเทศ
"ขอนแก่น เป็นจังหวัดที่โชคดี และมีความเจริญที่สุดในอีสาน แต่ไม่ใช่เกิดขึ้นเอง ชาวขอนแก่นทุกคนต้องช่วยกันสร้าง ดีใจที่เห็นโครงการนี้เกิดขึ้น ได้เห็นความร่วมมือต่างๆ โดยเฉพาะม.ศิลปากร ที่ไม่ได้ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตรับปริญญาอย่างเดียว แต่ลงพื้นที่ให้บริการชุมชน ได้มาให้ความรู้ แลกเปลี่ยน ทำให้เกิดการพัฒนา การออกแบบ การจัดการ การจำหน่าย รูปแบบต่างๆ การบรรจุภัณฑ์ เรื่องเหล่านี้ล้วนต้องการความรู้ทางวิชาการทั้งสิน แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการพัฒนาลายผ้าใหม่ๆ เกิดขึ้น อยากฝากให้ทุกคนไม่ทิ้ง หรือหลงลืมลายผ้าเก่าๆควรจะยังคงรักษาลายผ้าเก่าๆ ควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์ลายผ้าใหม่ๆ "ศ.เกียรติคุณ คุณหญิงไขศรี กล่าว
ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่าจังหวัดขอนแก่น เป็น 1 ใน 7 เมืองที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาร์ทซิตี้ของไทย ซึ่งได้มีการดำเนินการก้าวหน้าไปได้ด้วยดี แต่การจะเป็นเมืองดังกล่าวได้นั้น ต้องลดความเหลื่อมล้ำ ทั้งการกระจายรายได้ เพราะต่อให้โครงสร้างรายได้ของประชาชนชาวขอนแก่นจะมี รายได้เฉลี่ยสูงที่สุดในจ.ภาคอีสาน โดยมีรายได้เฉลี่ย 119,000 บาทต่อคนต่อปี ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลในการลดความเหลื่อมล้ำ มีรายได้ มีความอยู่ดีกินดีมากขึ้น ทางจังหวัดขอนแก่นจึงได้มีการจัดโครงการต่างๆ เพื่อพยายามให้ประชาชนไปสานต่อ หลุดพ้นเป็นผู้มีรายได้ปานกลาง หรือ 450,000บาท ต่อปี หรือต้องมีรายได้ เพิ่มมูลค่าขึ้นอีก 3 เท่าตัว การพัฒนาผลิตภัณฑ์ คุณภาพสินค้ามีความจำเป็น โครงการดังกล่าวภายใต้แนวคิดวิถีนุ่งห่ม ผ้าเมืองแคน แดนแก่นคูน เกิดขึ้นจากโครงการชุมชนท่องเที่ยวOTOP นวัตวิถีจังหวัดขอนแก่น ประเภทผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายจากชุมชนต่าง เป็นอีกวิถีที่ทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
"การดำเนินการดังกล่าว ถือเป็นการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของโครงการที่มีความต้องการส่งเสริมและยกระดับผลิตภัณฑ์ เพิ่มโอกาสช่องทางการตลาด การขายที่หลากหลายให้แก่ผู้ประกอบการ เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิต กระจายรายได้ให้แก่ประชาชนกลุ่มใหญ่ในสังคมได้อย่างแท้จริง อีกทั้ง การที่ผู้ประกอบการในชุมชนได้ผ่านกระบวนการติดอาวุธทางปัญญาผ่านการฝึกอบรมจากมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยมีกรมพัฒนาชุมชน เป็นหน่วยงานหลักในการดูแลอย่างใกล้ชิด จนเห็นผลสัมฤทธิ์ที่เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้