กรุงเทพฯ--15 ม.ค.--ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน
โรลส์-รอยส์ได้รับความไว้วางใจจากสนามบินนานาชาติ Fiumicino ณ กรุงโรม และสนามบิน Malpensa ณ กรุงมิลาน ประเทศอิตาลี ให้เป็นผู้ผลิตนำเสนอระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพและประหยัดพลังงาน
สนามบิน Malpensa จะทำการติดตั้งเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์แบบอุตสาหกรรมรุ่น RB211 ขนาด 25MW เครื่องที่สองเข้ากับเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม โดยบริษัท Turbomack จากประเทศสวิสเซอร์แลนด์เป็นผู้ผลิตเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้าดังกล่าว
เครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ชุดที่สองนี้จะทำงานร่วมกับเครื่องยนต์ RB211 ที่ติดตั้งเดิมอยู่แล้วเพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่สนามบิน Malpensa รวมถึงการจ่ายพลังงานความร้อนเพื่อใช้กับเครื่องปรับอากาศบริเวณอาคารผู้โดยสารของสนามบิน
ในส่วนของสนามบิน Fiumicino จะติดตั้งเครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยแก๊สธรรมชาติรุ่น Bergen B-gas จำนวน 3 เครื่อง ควบคู่กับเครือข่ายระบบผลิตกระแสไฟฟ้าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและลดผลกระทบที่เกิดกับสภาพแวดล้อมผ่านการลดปริมาณแก๊สไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) อีกด้วย
เครื่องยนต์จากโรลส์-รอยส์ทั้งสามเครื่องจะทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่สนามบิน Fiumicino โดยความร้อนที่เกิดขึ้นจากเครื่องยนต์จะถูกใช้เป็นพลังงานความร้อนแบบ Thermal Energy (ผ่านน้ำที่มีความร้อนสูง) สำหรับเครื่องปรับอากาศในอาคารผู้โดยสารของสนามบินในช่วงฤดูร้อนและใช้สำหรับการทำความร้อนภายในอาคารในช่วงฤดูหนาว
ม.ร. จีอูเซ็ปเป้ ซีออนกอลี (Giuseppe Ciongoli) ผู้อำนวยการระดับภูมิภาคของโรลส์-รอยส์ในอิตาลีกล่าวว่า "สนามบิน ณ กรุงโรมและกรุงมิลานเลือกใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าของโรลส์-รอยส์ เนื่องจากอุปกรณ์ของเราเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดซึ่งสามารถสนองตอบต่อความต้องการเฉพาะของแต่ละสนามบินในเรื่องของการดำเนินงานอย่างประสบความสำเร็จและปลอดภัย โดยที่โรลส์-รอยส์มีทางเลือกสำหรับลูกค้าในการเลือกใช้เครื่องยนต์ที่ใช้แก๊สธรรมชาติหรือเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์"
ม.ร. ซีออนกอลี กล่าวต่อไปว่า "ในแต่ละปีมีเที่ยวบินหลายร้อยเที่ยวโดยอากาศยานที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมเครื่องยนต์ของโรลส์-รอยส์ที่ขึ้นและลงจอดในสนามบิน ณ กรุงโรมและกรุงมิลาน ดังนั้นเราจึงรู้สึกยินดีเป็นอย่างมากที่ทราบว่าเราสามารถช่วยผู้โดยสารเดินทางเข้าและออกสนามบินได้อย่างปลอดภัยโดยการจัดสรรพลังงานให้แก่ส่วนบริการสำคัญต่างๆ ในภาคพื้นดินด้วย"
แผนการขยายโรงงานไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ณ สนามบิน Fiumicino และ สนามบิน Malpensa เป็นผลมาจากความต้องการใช้พลังงานที่ผลิตได้เองได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยที่ไม่ต้องอาศัยแหล่งพลังงานจากภายนอก โรงงานใหม่ที่ใช้เครื่องยนต์โรลส์-รอยส์ที่จะเปิดให้บริการในปี 2008 จะสามารถจัดสรรพลังงานที่สามารถสนองตอบต่อจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มสูงขึ้นได้ในอนาคต
ทั้งนี้ ทั้งสองสนามบินยังได้ตั้งเงื่อนไขให้พลังงานที่ผลิตได้จะต้องเป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม โดยประสิทธิภาพของเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ RB211 และเครื่องยนต์ Bergen B-gas สามารถลดปริมาณของเสียที่ปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศได้มากและยังช่วยประหยัดพลังงานอีกด้วย อันเป็นผลมาจากการใช้พลังงานที่ลดลงเมื่อเทียบกับโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้ารูปแบบอื่นๆ
หมายเหตุสำหรับสื่อมวลชน
1. สนามบิน Fiumicino เป็นสนามบินหลักของกรุงโรม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ห่างจากกรุงโรมไป 27 กม. ซึ่งในแต่ละปีสายการบิน 130 แห่งจะให้บริการผู้โดยสารจำนวน 30 ล้านคนที่สนามบินแห่งนี้
2. บริษัท Malpensa Energia ก่อตั้งในปีค.ศ. 1992 โดย SEA (Societa Esercizi Aeroportuali) รับผิดชอบดูแลสนามบินสองแห่งในกรุงมิลาน โดยบริษัทแห่งนี้ถือหุ้นร้อยละ 51 ส่วนบริษัท AEM (บริษัทไฟฟ้าของเมืองกรุง มิลาน) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของประเทศอิตาลีเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 49
3. เมื่อทำงานเต็มประสิทธิภาพ เครื่องยนต์ RB211 สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ 25 MW และเมื่อนำไปรวมกับกระแสไฟฟ้าในปริมาณที่เท่ากันของอุปกรณ์ RB211 ที่ติดตั้งเอาไว้แล้ว อุปกรณ์ทั้งสองเครื่องสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าเลี้ยงสนามบินได้ ในขณะที่กระแสไฟฟ้าส่วนเกินจะส่งต่อเข้าสู่เครือข่ายระบบจ่ายไฟแห่งชาติของอิตาลี ความร้อนที่เกิดจากเครื่องยนต์เครื่องใหม่จะถูกใช้สำหรับสร้างไอน้ำจากหม้อน้ำ เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องยนต์เทอร์ไบน์ไอน้ำ
4. พลังงานที่ได้เพิ่มเติม (ที่คาดว่าจะเริ่มให้บริการได้ภายในไตรมาสที่สามของปีค.ศ. 2008) จะทำให้ Malpensa Energia ที่รับผิดชอบการจ่ายพลังงานให้แก่สนามบินทั้งสองแห่งในกรุงมิลานมีรายได้เพิ่มขึ้น
5. เครื่องยนต์ RB211 Turbomach เครื่องแรกติดตั้งในช่วงครึ่งหลังของปี 2003 และเริ่มให้บริการในปลายเดือนธันวาคมปี 2003
6. เครื่องยนต์ Bergen B35:40V20 ทั้งสามเครื่องที่กรุงโรมจะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 8,500 kW (8.5 MW) ต่อเครื่อง บวกกับผลิตความร้อนได้ 5,900kW (5.9MW) ต่อเครื่อง ปริมาณกระแสไฟฟ้าจากโรงงานใหม่จะผลิตกระแสไฟฟ้าร้อยละ 47 และผลิตความร้อนร้อยละ 33 ซึ่งทำให้กำลังการผลิตโดยรวมสูงกว่าร้อยละ 80
7. โรงงานไฟฟ้าแห่งใหม่กำลังเตรียมการจัดซื้ออุปกรณ์ B-gas เครื่องที่สี่จากโรลส์-รอยส์ ซึ่งจะทำให้สามารถผลิตพลังงานได้รวม 37MW
8. พลังงานที่ได้จากโรงงานแห่งใหม่จะใช้สำหรับการจ่ายไฟให้แก่หลอดไฟทุกดวงในอาคารผู้โดยสารและรันเวย์ หอควบคุมการบิน คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเช็คอิน เรดาร์ เครื่องปรับอากาศ และความร้อนที่ใช้ในการประกอบอาหาร
9. ปัจจุบันโรลส์-รอยส์ได้จำหน่ายเครื่องยนต์สำหรับจ่ายพลังงานให้แก่สนามบินในอาบูดาบี, อิตาลี (กรุงโรมและกรุงมิลาน), ญี่ปุ่น, ซาอุดิอาราเบีย และสหรัฐอเมริกา
10. ปัจจุบันในอิตาลีมีการใช้เครื่องยนต์แก๊สของโรลส์-รอยส์จำนวน 100 เครื่อง รวมทั้งเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ระดับอุตสาหกรรมของโรลส์-รอยส์จำนวน 18 เครื่อง ซึ่งเมื่อรวมกันแล้วสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 350 MW และผลิตพลังงานความร้อนได้ 250 MW
11. โรลส์-รอยซ์มุ่งมั่นและพัฒนาในการปรับปรุงด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากผลิตภัณฑ์ของบริษัท โดยแต่ละปีโรลส์-รอยซ์ได้ร่วมลงทุนกับพันธมิตรในทางธุรกิจในการวิจัยและพัฒนา เป็นมูลค่ากว่า 700 ล้านปอนด์ โดยสองในสามของการลงทุนด้านเทคโนโลยีพื้นฐานมีวัตถุประสงค์เพื่อลดมลภาวะทางเสียงรวมถึงการปล่อยมลพิษอื่นๆ
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรลส์-รอยซ์
www.rolls-royce.com
รูปและสื่อประกอบ
สำหรับข้อมูลภาพถ่าย สามารถดาวน์โหลดได้จาก www.rolls-royce.com/media/gallery/default.jsp สำหรับข้อมูลในรูปแบบไฟล์วิดิทัศน์ สามารถรับชมได้จาก www.thenewsmarket.com/rollsroyce ทั้งนี้ ผู้ใช้งานครั้งแรก กรุณาลงทะเบียน และหากมีข้อสงสัยประการใด กรุณาติดต่อ rolls-royce@thenewsmarket.com
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
มาร์ติน จอห์นสัน
บริษัท โรลส์รอยส์ จำกัด
โทรศัพท์: +44 (0)1332 269911
โทรสาร: +44 (0)1332 269540
Email: Martin.Johnson@rolls-royce.com
ธรณ ชัชวาลวงศ์
ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน ประเทศไทย
โทรศัพท์: 0-2627-3501 ต่อ 118
โทรสาร: 0-2627-3545
Email: tchatchavalvong@th.hillandknowlton.com