UKA ผ่าตัดเปลี่ยนผิว ข้อเข่าเทียมบางส่วน “เก็บข้อเข่าเดิมเอาไว้ ใช้งานได้เหมือนธรรมชาติ”

ข่าวทั่วไป Wednesday December 26, 2018 10:36 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--26 ธ.ค.--โรงพยาบาลสุขุมวิท โดยทั่วไปการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมสามารถแบ่งเป็น 2 ชนิดกว้างๆ คือ การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม ทั้งหมด (Total Knee Arthroplasty หรือ TKA) ใช้กับผู้ป่วยที่มีข้อเข่าเสื่อมรุนแรง มีอาการปวดทั่วทั้ง เข่า และแกนขา ผิดรูปมากมักพบในผู้ที่มีอายุมากแล้ว จึงมีความจำเป็นต้องทำการผ่าตัดแบบ เปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมทั้งหมด ส่วนผู้ป่วยที่ผิวข้อเข่าสึกหรอเพียงบางส่วน และยังคงมีผิวข้อเข่าส่วนที่สภาพดีเหลืออยู่ กรณีนี้ศัลยแพทย์จะใช้การผ่าตัดรักษา ที่เรียกว่า การผ่าตัดแบบเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน (Unicompartment Knee Arthroplasty หรือ UKA) เป็นการ ผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม เฉพาะส่วนที่มีการสึกหรอ UKA ผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน การผ่าตัดเอาผิวข้อเข่าเฉพาะส่วนที่เสื่อมออก โดยเก็บรักษาผิวข้อเข่า ในส่วนที่กระดูกอ่อนยังอยู่ใน สภาพดีไว้ แล้วทดแทนด้วยผิวข้อเทียม และกระดูกอ่อนเทียมเพียงบางส่วน ซึ่งในอดีตผู้ป่วยที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมเพียงบางส่วน มักนิยมผ่าตัดโดยการตัดต่อกระดูก บริเวณใต้ข้อ เข่า เพื่อ แก้ไขความโก่งงอ แต่เนื่องจากไม่ได้แก้ไขความเสื่อมภายในข้อเข่า ปัจจุบันวิธีนี้ดังกล่าวจึงได้รับความนิยมน้อยลงมาก แพทย์บางท่านอาจพิจารณาเลือกผ่าตัด โดยวิธีการ เปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมทั้งหมด (TKA) ซึ่งพบว่าได้ผลดีมาก แต่ต้องยอมสูญเสีย ผิวข้อเข่าส่วนที่ยังอยู่ในสภาพดีไป ดังนั้น การผ่าตัดชนิดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเฉพาะบางส่วน จึงเป็นวิธีน่าสนใจที่ถูกนำมาพิจารณา ข้อดีของการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA) ปัจจุบันได้รับการพัฒนาให้การพัฒนาเทคนิคการผ่าตัดให้มีขนาดเล็กลงโดยอาศัยเทคนิคของ Minimally Invasive Surgery ทำให้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในต่างประเทศ เนื่องจากการ ผ่าตัดแบบ UKA มีข้อดีหลายประการ 1. บาดแผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลงอย่างมาก 2. เนื่องจากบาดแผลมีขนาดเล็กลง ย่อมส่งผลทำให้การเสียดเลือดในการผ่าตัดนั้นลดลงเช่นกัน 3. ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบ UKA ร่วมกับเทคนิคผ่าตัดแบบแผลเล็กลง จะสามารถทำให้ผู้ป่วย เดินได้ เร็วกว่าการผ่าตัดด้วยวิธีแบบเดิม ซึ่งโดยส่วนใหญ่พบว่าผู้ป่วยสามารถเดินได้ภายใน 1-2 วัน หลักจากเข้ารับการ ผ่าตัด 4. ผู้ป่วยจะสามารถฟื้นฟูสรรมภาพหลังจากทำการผ่าตัดได้เร็วขึ้นกว่าเดิม จนสามารถใช้งาน และ ทำงาน ได้ตามปกติภายใน 3-4 สัปดาห์ 5. มีภาวะการแทรกซ้อนน้อยลง โดยเฉพาะการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นได้ ข้อจำกัด ถึงแม้การผ่าตัด UKA โดยอาศัยเทคนิคของการผ่าตัดแบบแผลเล็ก ซึ่งแม้จะมีข้อดีหลายประการ แต่ก็มีข้อ จำกัดบางประการด้วยเช่นกัน ได้แก่ 1. การผ่าตัดด้วยเทคนิคพิเศษนี้น่อมเป็นวิธีที่ทำได้ยากกว่าการผ่าตัดด้วยวิธีการแบบเดิม จึงมีความจำเป็น ต้องใช้แพทย์ที่มีความขำนาญในการผ่าตัดเป็นพิเศษ 2. การผ่าตัดวิธีนี้ ไม่เหมาะที่จะทำการผ่าตัดในผู้ป่วยที่ภาวะความเสื่อมมากในขั้นรุนแรง 3. ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวมาก ไม่เหมาะที่ใช้วิธีการผาตัดด้วยวิธีการแบบ UKA 4. ในอดีตการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่า แพทย์มักจะแนะนำให้กับผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไปแต่ผิวข้อเข่าเทียมในปัจจุบันได้ถูกพัฒนาให้มีอายุการใช้งานเพิ่มมากขึ้นถึง 10-20 ปี โดยสรุป การรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อมโดยการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่า เทียมเพียงบาง ส่วนชนิด Unicompart ment Knee Arthroplasty โดยอาศัยเทคนิคของการผ่าตัด แบบแผลเล็ก ร่วมด้วยนั้น มีข้อดีหลายประการ แต่ผู้ป่วย จำเป็นต้องมาพบแพทย์โดยเร็ว ก่อนที่ภาวะของ ข้อเข่าเสื่อมจะเป็นมากเกินไป และจำเป็นต้องทำการผ่าตัด โดยแพทย์ ที่มีความ ชำนาญในการ ผ่าตัดด้วยวิธีนี้เท่านั้น ปรึกษาปัญหาอาการปวดข้อได้ที่ ศูนย์ศัลยกรรม ชั้น 1A โรงพยาบาลสุขุมวิท โทร. 02-391 0011 ต่อ 110,111

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ