กรุงเทพฯ--28 ธ.ค.--กลุ่มเซ็นทรัล
หัวใจแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน เริ่มจากการสร้างสรรค์และดัดแปลงทรัพยากรที่มีอยู่รอบตัวให้เกิดประโยชน์และคุณค่าสูงสุด รวมถึงเพิ่มความรู้แก่ชุมชน เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคง ด้วยเหตุนี้กลุ่มเซ็นทรัลจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาชุมชน ด้วยการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างชุมชน และการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ชุมชนอย่างยั่งยืน ภายใต้โครงการเพื่อสังคม "เซ็นทรัลทำ" โดยร่วมกับ มูลนิธิชัยพัฒนา ในการสนับสนุนช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าเกษตร ตรา "ทรัพย์–ปัน"ภายใต้การบริหารโดยโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงของมูลนิธิชัยพัฒนา ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ซึ่งผลผลิตที่นำมาจำหน่ายได้แก่ ผักออร์แกนิคตามฤดูกาลต่างๆ และล่าสุดเปิดตัวข้าวเพื่อสุขภาพ "ข้าวพิษณุโลก 80" ที่จะวางจำหน่ายในเดือนมกราคม ปี 2562
บุษบา จิราธิวัฒน์รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสื่อสารองค์กรบริษัทกลุ่มเซ็นทรัล จำกัด กล่าวว่ากลุ่มเซ็นทรัลดำเนินธุรกิจควบคู่กับการช่วยเหลือสังคมมาอย่างต่อเนื่องกว่า 71 ปี โดยมีเจตนารมณ์ที่จะสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างชุมชน และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีแก่เกษตรกรอย่างยั่งยืนโดยเมื่อปี 2559 กลุ่มเซ็นทรัลได้สนับสนุนด้านช่องทางการจัดจำหน่ายผลผลิต ภายใต้ตรา "ทรัพย์–ปัน"โดยวางจำหน่ายสินค้าเกษตรเช่น คะน้าผักสลัด เรดโอ๊ค กะหล่ำปลี หน่อไม้ฝรั่ง เห็ดหูหนูและอื่นๆ
ล่าสุดกลุ่มเซ็นทรัลจะวางจำหน่ายข้าวสายพันธุ์"พิษณุโลก 80" ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวเพื่อสุขภาพ รสชาติอร่อย เหนียว นุ่ม เหมาะสำหรับผู้รักสุขภาพและผู้ควบคุมปริมาณน้ำตาลในอาหาร เช่น โรคเบาหวาน และโรคอ้วน เนื่องจากมีค่าดัชนีน้ำตาล(Glycemic Index - GI) ปานกลาง - ต่ำ เพียง 59.5 เมื่อเทียบกับพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลมากกว่า 69จัดจำหน่ายในรูปแบบข้าวขาว บรรจุแพ็กละ 1 กก. และ 2 กก. และข้าวกล้อง บรรจุแพ็กละ 1 กก.ภายในเดือนมกราคม ปี 2562โดยกลุ่มเซ็นทรัลมีแผนรับซื้อข้าวทั้งหมดที่ปลูกโดยกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายโครงการ ผู้ผลิตข้าวที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP)จำนวนทั้งสิ้น 15 ตัน ซึ่งเป็นผลผลิตทั้งหมดประจำปี 2561ในราคาที่เป็นธรรม ทำให้ชุมชนมีรายได้จากการจำหน่ายข้าวที่มากขึ้น มั่นคง เป็นมาตรฐานโดยจะวางจำหน่ายณ ท็อปส์ในจังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย รวม 6 สาขา ได้แก่ สาขาเซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่, สาขาเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต, สาขาเซ็นทรัล กาดสวนแก้ว, ท็อปส์ มาร์เก็ต สาขาโชตนา, ท็อปส์ มาร์เก็ต สาขารวมโชคมอลล์ เชียงใหม่และท็อปส์ มาร์เก็ต สาขาเชียงรายซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่พันธุ์ข้าว "พิษณุโลก 80" จัดจำหน่ายในโมเดิร์นเทรดและมีแผนในอนาคตที่จะขยายช่องทางการจำหน่ายผ่านท็อปส์ออนไลน์และ ท็อปส์สาขาในกรุงเทพฯ อีกด้วย
การร่วมมือในครั้งนี้เรามีความเชื่อมั่นว่าการบริโภคผลผลิตของโครงการ นอกจากจะเป็นการส่งเสริมเกษตรกรไทยให้มีรายได้ที่มั่นคงแล้ว สำหรับตัวผู้บริโภคเองยังสามารถมั่นใจได้ว่าจะได้รับสิ่งดีๆ และเป็นประโยชน์จากผลิตภัณฑ์โครงการที่มีคุณภาพ ปลอดภัย เพื่อสุขภาพที่ดี ตอบรับกับเทรนด์การดูแลสุขภาพของผู้บริโภคในปัจจุบัน ที่ตระหนักและให้ความสำคัญกับการเลือกรับประทานสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากยิ่งขึ้น"
อนุตรา วรรณวิโรจน์ผู้อำนวยการโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงของมูลนิธิชัยพัฒนากล่าวว่าโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงของมูลนิธิชัยพัฒนาตั้งอยู่บนพื้นที่ต้นน้ำ "ลำน้ำใจ"ซึ่งเป็นต้นน้ำสายสำคัญของแม่น้ำฝาง เราจึงมีความมุ่งมั่นที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่อย่างยั่งยืน โดยโครงการได้ดำเนินการทำการเกษตรในระบบอินทรีย์แบบครบวงจรตั้งแต่การผลิต และปัจจัยการผลิตต่างๆ เพื่อใช้ในการเกษตร และสนับสนุนเครื่องมือในการผลิตให้แก่กลุ่มเกษตรกรเครือข่ายของโครงการ อาทิ โรงแปรรูปผลิตภัณฑ์ และโรงสีข้าวที่ได้รับมาตรฐานระดับสากล
ล่าสุดโครงการได้ส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรเครือข่ายโครงการจำนวน 14 ครัวเรือนปลูกข้าวเจ้าพันธุ์ "พิษณุโลก 80"ภายใต้ตรา ทรัพย์-ปัน บนพื้นที่ 42ไร่ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่สนับสนุนให้ปลูกข้าวสายพันธุ์นี้ในภาคเหนือจากเดิมที่ปลูกแค่ข้าวสายพันธุ์หอมมะลิ 105 และข้าวไรซ์เบอร์รี่โดยทางโครงการฯ สนับสนุนด้านการเพาะพันธุ์และโรงสีข้าวสำหรับสมาชิก เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการผลิตทางโครงการจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่กลุ่มเซ็นทรัลเล็งเห็นถึงความสำคัญของโครงการ และร่วมสนับสนุนช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า เพื่อสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มเกษตรกรเครือข่ายโครงการ ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน"
สำหรับตราสินค้าทรัพย์-ปันเป็นชื่อและตราสัญลักษณ์ที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ฯ โดยมาจากคำว่า SappanWood ซึ่งมีความหมายว่า ต้นฝาง ในภาษาอังกฤษ เนื่องจากพื้นที่โครงการตั้งอยู่ในอำเภอฝาง อีกนัยหนึ่ง หมายถึงการแบ่งปันทรัพย์ในดินสินในน้ำอันเป็นความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดินให้แก่ประชาชนในพื้นที่จากโครงการที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ต้นน้ำสู่ประชาชนในพื้นที่ปลายน้ำผ่านการดำเนินงานโครงการก่อตั้งขึ้นเพื่อจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์แปรรูปของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงของมูลนิธิชัยพัฒนา และกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายของโครงการ โดยปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายทรัพย์-ปัน มีสมาชิกทั้งหมด 25 ครัวเรือน
กลุ่มเซ็นทรัลเชื่อมั่นว่าความร่วมมือในครั้งนี้ จะสามารถยกระดับสินค้าท้องถิ่นให้เทียบเท่าระดับสากล รวมถึงยังเป็นหนึ่งในช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า นำมาซึ่งการกระจายรายได้สู่ชุมชน เพื่อพัฒนากลุ่มเกษตรกรให้เติบโต รอบรู้ ก้าวให้ทันกับเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงไป พร้อมหวังเป็นอย่างยิ่งว่ากลุ่มเกษตรกรจะสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนสืบไป