ซิตี้ไพรเวทแบงก์ระบุแผนการลงทุนหลัก 4 ด้านในปี 2551

ข่าวหุ้น-การเงิน Wednesday January 16, 2008 16:37 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 ม.ค.--ธนาคารซิตี้แบงก์
ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจของโลก ความวิตกเกี่ยวกับวิกฤตหนี้เสียในตลาด สินเชื่อซับไพร์ม และสถานะของตลาดการเงินทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาญของสายงานธนบดีธนกิจของซิตี้หรือ ซิตี้ไพรเวทแบงก์ได้เผยแผนการลงทุนหลักสี่ด้านสำหรับปีพ.ศ. 2551 ในการจัดพอร์ตโฟลิโอให้แก่ ลูกค้ากลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูง (High Net Worth clients)
แผนการลงทุนหลักสี่ด้านสำหรับปี พ.ศ. 2551
1. ตลาดสินค้าเกษตร — ทรัพย์สินที่ขึ้นลงช้ากว่ากลุ่มอื่นการเกิดขึ้นของอุตสาหกรรมและอัตราเงินเฟ้อของตลาดเกิดใหม่ที่สูงขึ้น ผนวกกับสินค้าคงคลัง
ที่มีจำกัดและภาวะซบเซาของการเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวผลผลิตในตลาดโลกสร้างแรงกดดันให้กับราคาสินค้าเกษตรเพิ่มมากขึ้น
โลหะอุตสาหกรรม (เช่น เหล็กและทองแดง) พลังงาน (น้ำมันและแก๊ส) และโลหะมีค่าได้เริ่มมีการกำหนดราคาขึ้นในสภาพแวดล้อมใหม่นี้ อย่างไรก็ตาม สินค้าภาคการเกษตรมักจะขึ้นลงช้ากว่าสินค้าอื่นๆ ซึ่งจะสร้างโอกาสให้กับนักลงทุนในปี 2008
2. ตลาดเกิดใหม่ — เศรษฐกิจที่แข็งแกร่งและรายได้ที่ดึงดูดใจ
เศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่ดูเหมือนว่าจะมีภูมิคุ้มกันต่อความเปลี่ยนแปลงที่ผันผวนของตลาด สินเชื่อ ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป โดยมีสมมติฐานว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาประสบกับภาวะ ขาลง ไม่รุนแรงและการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในตลาดเกิดใหม่ ตลอดจนการเติบโตอย่างแท้จริงจะเป็น การสร้างโอกาสสำหรับการขยายตัวของรายได้
มูลค่าที่จูงใจผนวกกับสภาพคล่องส่วนเกินทั่วโลกสร้างโอกาสที่ดีในภูมิภาคต่างๆ เช่น ละติน อเมริกา และตะวันออกกลาง ตัวอย่างเช่น สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนตัวลง ในขณะที่สกุลเงินในภูมิภาค แข็งค่าขึ้น รวมถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่แข็งแกร่ง จะช่วยส่งเสริมตลาดทุนในละตินอเมริกา
3. ความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานและพลังงาน — ตอบสนองความต้องการ ด้านการเติบโต ความก้าวหน้าทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจในประเทศเกิดใหม่ได้กระตุ้นให้เกิดการเติบโต ของความต้องการทั่วโลก ซึ่งจะแซงหน้าการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในหลายกลุ่มธุรกิจ เฉพาะความ ต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานของเอเชียอย่างเดียวคิดเป็นประมาณการที่สูงถึง 180 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปลายปีพ.ศ. 2553 อย่างไรก็ตาม ตลาดที่พัฒนาแล้วยังคงรักษาระดับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นในการ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานใหม่
มีโอกาสทางธุรกิจเกิดขึ้นในกลุ่มวัสดุก่อสร้างและอาคาร ในขณะที่ต้นทุนด้านพลังงานสูง ขึ้น รวมถึงข้อบังคับด้านการควบคุมสิ่งแวดล้อมผลักดันให้เกิดการใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา แหล่งพลังงานทางเลือก
4. สินทรัพย์ด้อยมาตรฐาน (Distressed Assets) — โอกาสบนภาวะวิกฤต กลยุทธ์การลงทุนสินทรัพย์ distressed assets ที่ราคาตกต่ำจะให้ผลตอบแทนที่ดีในสภาพ แวดล้อมที่ตลาดมีความ ผันผวนสูงประกอบกับการขยายตัวของ Credit Spread ในอดีตการช้อนซื้อ และการพุ่งขึ้นสูงสุดของราคาสินทรัพย์คุณภาพต่ำต่อเปอร์เซ็นต์ของสินทรัพย์ที่ออกใหม่ทั้งหมดในตลาด สินเชื่อคุณภาพต่ำของ สหรัฐอเมริกา ตามที่ได้เห็นกันในปีพ.ศ. 2547 — 2550 ขณะนี้ได้แซงหน้าอัตรา หนี้เสีย ทั้งนี้ เป็นโอกาสดีสำหรับนักลงทุนที่จะได้ประโยชน์จากความไม่เชื่อมั่นและความผันผวนของตลาด สินเชื่อเมื่อราคาสินทรัพย์ ต่ำลงจากการบังคับขาย และต่อมาราคาจะสูงขึ้นตามมูลค่าที่แท้จริง เมื่อสินทรัพย์ได้รับการฟื้นฟู
การเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดทุน แต?ลดน้ำหนักการลงทุนในตลาดพันธบัตร นักวิเคราะห์ของไพรเวทแบงก์แนะนำลูกค้าว่าตลาดทุนยังคงเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดในปี พ.ศ. 2551 โดยตลาดหลักทรัพย์ในยุโรปและบริษัทที่มีสินทรัพย์ขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกาได้รับการจัดอันดับว่ามีแนวโน้มให้ผลตอบแทนการลงทุนที่สูงมากธนาคารกลางส่วนใหญ่ของโลกยังคงตระหนักถึงความเสี่ยงที่มีและพยายามที่จะรักษาอัตรา ดอกเบี้ยระยะสั้นให้ต่ำ เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องตามที่คาดการณ์ไว้ และท้ายที่สุดจะสร้าง ผลตอบแทนให้กับนักลงทุนในตลาดทุน ธนาคารกลางทั่วโลกต่างมีมาตรการที่จะสร้างสภาพแวดล้อม ที่ให้เกิดแรงจูงใจในการลงทุนในตลาดทุนมากกว่าตลาดพันธบัตรมูลค่าของตลาดทุนทั่วโลกต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาว ตัวอย่างเช่น ผลตอบแทนต่อราคา (price-earnings) ล่วงหน้าในดัชนี MSCI World ปัจจุบันทำการซื้อขายในราคาที่ต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี มิสเตอร์สตีเฟน โล ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานธนบดีธนกิจ ประจำประเทศไทยและ เวียดนาม กล่าวว่า “แผนการลงทุนที่ซิตี้ไพรเวทแบงก์กำหนดขึ้นสร้างพื้นฐานของพอร์ตโฟลิโอของลูกค้าตามหลักการ บริหารจัดการความมั่งคั่ง แม้กระทั่งการผันผวนของตลาดสินเชื่อได้สร้างข้อโต้แย้งอย่างรุนแรง และมีความ ไม่แน่นอนสูงเกี่ยวกับอนาคตของตลาดการเงินและการลงทุน”
“การลงทุนจำนวนมากเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการบริหารจัดการของซิตี้ไพรเวทแบงก์ ทำให้เรา เสนอข้อมูลเชิงวิเคราะห์ตลอดจนแนวคิดที่ดีที่สุดในการลงทุนให้แก่ลูกค้าได้ทันเวลา ในขณะที่ตลาดมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ในช่วงเวลาที่ท้าทายนี้”
ซิตี้ไพรเวทแบงก์ ได้รับการคัดเลือกให้เป็น ‘ธนาคารส่วนบุคคลที่ดีที่สุดในโลก’ โดยเหล่าเศรษฐี ชาวเอเชียที่มีทรัพย์สินมูลค่าเกิน 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซิตี้ไพรเวทแบงก์ มีชื่อเสียงในวงการผู้บริหาร จัดการทรัพย์สินแห่งเอเชียแปซิฟิกที่มีสำนักงานมากมายในภูมิภาคนี้ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหาร จัดการความมั่งคั่งกว่า 1,500 คน รวมถึงไพรเวทแบงก์เกอร์และผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนกว่า 300 คน ให้บริการแก่ลูกค้าฐานะมั่งคั่งและครอบครัวกว่า 6000 ราย รวมถึงมหาเศรษฐีกว่าครึ่งในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น)
นอกจากนี้ จากการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการธนาคารส่วนบุคคลทั่วโลกของ Euromoney ที่เพิ่งเผยแพร่ออกไป ซิตี้ไพรเวทแบงก์ เอเชียแปซิฟิก ได้รับการจัดอันดับจากธนาคารอื่นๆ ว่าดีที่สุดในด้าน บริการลงทุนในทรัพย์สิน เช่น พันธบัตร, structure products การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ อสังหาริมทรัพย์ และการให้คำปรึกษาแก่บริษัท
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:
ต่อพันธุ์ ตู้จินดา
ผู้อำนวยการฝ่ายประสานงานและสื่อสารองค์กร
ซิตี้กรุ๊ป
โทร : +66 2 2322706
Email: tohphan.tuchinda@citigroup.com
MR JACK SUNG
Communications and Marketing
Citi Global Wealth Management — Asia-Pacific
Singapore
โทร: +65 63284532
HP: +65 96679411
อีเมล์: jack.sung@citigroup.com
Citi Private Bank (Citibank N.A.)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ