กรุงเทพฯ--4 ม.ค.--ดีคืนดีวัน
จากกรณีภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น "ปาบึก" พายุโซนร้อนนอกฤดูคาดหมายว่าจะขึ้นบกที่ชายฝั่งทางตะวันออกของด้ามขวานไทยในเย็นวันที่ 4 ม.ค. ซึ่งประเมินกันว่าเป็นพายุมีความรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 50 ปี เราจะเตรียมรับมืออย่างไร
ล่าสุดรายการโหนกระแส วันที่ 4 ม.ค. โดย "หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย" ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์- เวลา 13.30-14.10 น. ทางช่อง 28 ได้เปิดใจสัมภาษณ์ "กรรวี สิทธิชีวภาค" รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา "ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา" ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีแวกาศและภูมิสารสนเทศ Gistda
ปาบึกนี่คืออะไร ทำไมเอามาตั้งเป็นชื่อพายุ?
กรรวี : "จริงๆ ชื่อพายุ เป็นประเทศสมาชิกของอุตุนิยมวิทยาโลกที่มีการประชุมตั้งชื่อกันของแต่ละประเทศเขาจะเสนอมาประมาณ 3 ชื่อ ปาบึกเป็นภาษาลาว เป็นปลาของบ้านเรานี่แหละ เป็นปลาแม่น้ำโขง"
ใหญ่ในรอบกี่ปี?
กรรวี : "เป็นลักษณะพายุโซนร้อนที่เกิดขึ้นในอ่าวไทย เป็นพายุที่เคลื่อนตัวเข้าภาคใต้ในรอบ 20 ปี ระดับความรุนแรงระดับพายุโซนร้อนภาคใต้เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากพายุรุนแรง ไม่ว่าจะดีเพลสชั่นโซนร้อน หรือไต้ฝุ่น ประมาณ 3-4 ลูก ถ้าเทียบก็ประมาณแอเรียสก็ได้ ปี 2505 พอมา 2532 เป็นพายุใต้ฝุ่นเกย์ที่ชุมพร อันนี้รุนแรงที่สุดของประเทศไทย หลังจากนั้นเป็นพายุโซนร้อนในปี 2635 พอปี 2540 เป็นพายุลินดา ที่เข้าภาคใต้ ก็จะใกล้เคียงกัน"
จะขึ้นที่ตะลุมพุกอีกครั้ง จะซ้ำรอยเดิมหรือเปล่า?
กรรวี : "จากการคาดการณ์วันนี้ พายุกำลังจะเข้าแล้วล่ะ ตอนนี้อยู่ห่างจากปากพนัง นครศรีธรรมราช ประมาณ 4 กิโล คาดวาจะขึ้นฝั่งบ่ายวันนี้เลย"
แหลมตะลุมพุกจุดเดิมอีกแล้ว เป็นเพราะอะไร?
กรรวี : "เป็นเพราะตัวเซ็นเตอร์ศูนย์กลางที่ใกล้ชายฝั่งมากที่สุดมันใกล้เคียงกัน ไม่ว่ากี่ลูกที่ผ่านมาก็อยู่ใกล้เคียงกัน มีตั้งแต่ประจวบฯ สุราษฎร์ฯ นครศรีฯ เป็นเส้นทางเหมือนเป็นช่องบังเอิญหรือเปล่า"
อานนท์ : "พอพ้นป้ายแหลมยวนมาก็จะพอดี ตรงนี้วิ่งซ้ายก็ต้องขึ้นมาแถวๆ สงขลา นครฯ"
ตอนที่แอเรียสก็มีข่าวจะเข้าหาดใหญ่ สงขลา ครั้งนี้ก็เหมือนกัน แต่มันตวัดเข้าแหลมตะลุมพุก?
กรรวี : "จริงๆ แล้วตอนที่เราประเมินสถานการณ์ ครั้งแรก เราประเมินว่าจะสูงไปอีกหน่อย ประมาณสุราษฎร์ฯ ชมพร แต่ตัวแปรทั้งหมดของมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน มันเอื้อกันหมด ณ ปัจจุบัน เหมือนกับว่ามวลอากาศเย็นไม่เคลื่อนไปแบบที่เราคาด ก็ยังทรงตัว การเคลื่อนตัวของพายุเหมือนจะดันลงมา ทิศทางการเลื่อนตัวก็จะต่ำลงมาจากที่เราคาดการณ์กว่าช่วงแรกๆ แต่ ณ ปัจจุบัน เป้าหมายคือนครศรีธรรมราช แล้วจะเคลื่อนไปทางตะวันตก ไปทางกระบี่ ลงสู่ทะเลอันดามัน"
ดูจากแผนที่ถ้าเข้านครฯ ต้องผ่านทุ่งสง เขาพนม ไปออกพังงา บ้านปะกงท้ายเหมืองแล้วออกอันดามัน?
กรรวี : "ฝั่งนั้นก็ได้รับกระทบด้วย มีฝนตกหนัก"
มีการเตรียมการรับมือจุดตรงไหน?
กรรวี : "เรามีศูนย์อุตุนิยมวิทยา ภาคใต้ฝั่งตะวันออก ซึ่งตอนนี้ทำงานเข้มแข็งหนักมาก ไม่ใช่แค่กรมอุตุนิยมวิทยาอย่างเดียว หน่วยงานอื่นก็มีการหารือกัน แล้วมีศูนย์ติดตั้ง ศูนย์ประชุม ตอนนี้ถี่มากขึ้น เตรียมรับมือพร้อมกันหมดทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง"
ความเสียหายจะเทียบเท่าแหลมตะลุมพุกมั้ย?
กรรวี : "แหลมตะลุมพุกในอดีต เกิดเมื่อปี 2505 เรื่องเทคโนโลยี เรื่องการเตรียมพร้อมไม่เท่าปัจจุบัน ณ ปัจจุบันก่อนหน้านี้เรามีการเตรียมพร้อมมากกว่า ตั้งแต่วันที่ 1-2 เรารู้ว่าพายุจะก่อตัว จะเคลื่อนตัวไปทิศไหน เรามีการหารือกันตลอด ณ วันนี้คาดว่าความเสียหายน่าจะเบากว่าปี 2505"
อานนท์ : "ตอนนั้นดาวเทียมไม่มีแต่วันนี้เรามีดาวเทียม เรารู้ตลอดพายุอยู่ตรงไหน เป๊ะๆ เลย"
ความใหญ่ของพายุในครั้งนี้?
อานนท์ : "จุดศูนย์กลางพายุใหญ่มากนะ ประมาณ 300 กิโล ตามันนิดเดียว แต่วงล้อม 300 กิโล แรกสุดคือลมแรง อาจพัดป้ายโฆษณา ต้นไม้สูงล้มหักโค่น แต่บริเวณชายทะเล ลมอาจก่อให้เกิดเรื่องราวยกตัวของคลื่น ลมมีส่วน ความกดอากาศต่ำก็ทำให้หนุนน้ำเข้ามาในบริเวณนี้ คลื่นมีได้ตั้งแต่ 1 เมตรจนถึง 3-4 เมตร เราประเมินไว้ก็น่าจะอยู่ที่ประมาณ 1-2 เมตร"
มีอาจไปถึง 5-7 เมตรเท่ากับสึนามิ?
อานนท์ : "คลื่น 5-7 เมตรค่อนข้างยาก อันนี้เป็นคลื่น มันเข้ามาเป็นระยะๆ ไม่ได้ยาวเหมือนสึนามิ สึนามิมาใหญ่มาก มาลูกเดียว กวาดออกไปพินาศเห็นได้ชัดเจน แต่คลื่นระดับสตอร์มเซิร์จ จะค่อยๆ มาทีละน้อย ค่อยๆ เอ่อ แล้วอยู่นานด้วยหลายชม.ด้วย ไม่ได้มาแบบล้างผลาญแบบสึนามิ แต่พออยู่นานก็ก่อให้เกิดความเสียหาย ตอนนี้เริ่มเข้าขนอมแล้ว"
ตอนนี้ท่วมกี่เซนฯ?
อานนท์ : "ประมาณ 20-30 เซนฯ นี่ไม่ใช่น้ำฝนนะ นี่น้ำเค็มที่รุกเข้ามาบริเวณชายฝั่ง มีน้ำฝน น้ำจืดตกมาเสริมก็จะหนักเข้าไปใหญ่"
กรรวี : "ล่าสุดพายุขึ้นฝั่งแล้ว เร็วกว่าที่คิด ขึ้นฝั่งแล้วที่ปากพนัง"
ตาพายุไม่เท่าไหร่ แต่ที่แรงอยู่ตรงไหน?
อานนท์ : "รอบๆ ห่างจากตาไม่เยอะ ประมาณ 2-3 กิโล"
กินบริเวณกว้างมาก กว่าจะตัดมาก็แรงตลอด?
อานนท์ : "แรง ฝนมีแน่นอน ทั้งลมทั้งฝน เราพูดกันว่าชายทะเลหน้าหนาว อำเภอที่อยู่ลึกๆ อย่างนครศรีฯ มีเขาหลวง พิบูลย์ ลานสกา เกิดเหตุสมัยพายุเกย์ พายุลินดา ก็เคยเสียหายมาแล้ว ก็ซ้ำอยู่ที่เดิม หลังจากนั้นก็คาบมากระบี่ พังงา ก่อนลงทะเลอันดามัน"
ความรุนแรงมันจะค่อยๆ เบาลงมั้ย?
กรรวี : "พอขึ้นฝั่งก็เบากว่าอยู่ในทะเล พออยู่ในทะเลก็เพิ่มเสริมพลังงาน"
จะสลายตรงไหน?
อานนท์ : "แถวพม่า พอลงทะเลก็แรงขึ้น"
เขาอยู่ได้ด้วยน้ำทะเล?
อานนท์ : "ความร้อนในน้ำทะเลหล่อเลี้ยงให้พายุมีพลัง"
ณ วันนี้มีน้ำท่วมแล้ว จะท่วมกี่จังหวัด?
อานนท์ : "ที่ลุ่มต่ำ เราก็คาดการณ์ไว้ที่นครศรีธรรมราช สีแดงคือพื้นที่ต่ำตามธรรมชาติอยู่แล้ว ปากพนังโดยรอบ จนถึงสงขลา พายุชอบเข้าตรงนี้ ลักษณะภูมิประเทศมันเสริมด้วย แหลมตะลุมพุก ขนาบด้วยทะเลสองข้างมันถึงหนัก"
ตรงนั้นจะมีบ้านศาลาแก้ว เกาะชัง ปากพนัง แหลมตะลุมพุกและท่าศาลา?
กรรวี : "มุ่งหน้าไปท่าศาลา"
อานนท์ : "แม้แต่ตัวอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ฝนตก น้ำก็เอ่อขึ้นมา นี่แค่สตอร์มเซิร์จ ยังไม่รวมฝน เราไม่ได้พูดให้ตระหนก แต่จะเกิดความไม่สะดวก คมนาคม เราไม่คาดว่าจะแรงขนาดทำให้สาธารณูปโภค ไฟฟ้า ประปา คมมาคม"
พายุเข้า เรารับมือได้ อพยพคนไปในที่ปลอดภัย แต่ปัญหาน้ำท่วมจะลำบาก?
อานนท์ : "พื้นที่เกษตร แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค"
ตอนนี้ไฟดับที่ปากพนังเรียบร้อย?
อานนท์ : "เรด้าร์ที่ปากพนังก็หยุดส่งสัญญาณแล้วด้วย"
ณ เวลานี้บ่ายสองโมงนิดๆ ตอนนี้อยู่ที่?
กรรวี : "ตอนนี้พายุขึ้นฝั่งแล้ว ผ่านอ.ปากพนัง มุ่งหน้าไปท่าศาลา การเคลื่อนตัวพายุ 18 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เริ่มช้าแล้ว พอเริ่มช้าก็เหมือนจะหาช่องที่จะไป บังเอิญว่าแถบจ.นครศรีฯ สุราษฎร์ฯ เป็นแนวเขา บังเอิญมีตรงนี้ ตัวพายุพยายามหาทางออก"
พอมีเขากั้นก็ไปไม่ได้ เขาก็เซาะหามุมที่ออกได้?
กรรวี : "ถ้าพูดภาษาชาวบ้านก็ประมาณนี้ ไปหาน้ำ ไปหาทะเลที่อันดามันเพื่อเพิ่มพลัง พอลงทะเลเขาไม่เรียกพายุโซนร้อนแล้ว เขาจะเรียกพายุไซโคลน"
อานนท์ : "ฝั่งนี้เรียกไต้ฝุ่น ลูกเดียวกันพอเปลี่ยนไปคาบสมุทรอินเดียก็เปลี่ยนเขาเรียกไซโคลน ไม่ได้เรียกไต้ฝุ่น ถ้าไม่มีช่องไปมันก็ข้ามเขานะ มีแรงดูดให้มันข้ามไป"
อุทกภัยที่จะเกิดขึ้น ระหว่างสตอร์มเซิร์จกับฝนที่ตกอยู่ ถ้าท่วมหนักๆ ได้กี่เมตร?
อานนท์ : "ถ้าเผื่อมันสูง 24 ชม. อาจเกือบๆ เมตรเพราะหุบเขาในภาคใต้มันแคบ"
พื้นที่เสี่ยงภัยอยู่ตรงไหน?
อานนท์ : "ท่วมที่ไหนที่มีภูเขาและที่เกิดเหตุบ่อยๆ พิบูลย์ นบพิตำ ร่อนพิบูลย์ พวกนี้เป็นอำเภอที่มีความเสี่ยงสูง ข้ามไปฝั่งกระบี่ ที่อยู่ติดเขาทั้งหลาย ตั้งแต่ปัจจุบันเป็นต้นไป มีฝนตกต่อเนื่อง พรุ่งนี้อีก 1 วัน จนวันอาทิตย์อาจจะเริ่มเบา"
ตอนนี้มีแผนการอะไรบ้าง?
กรรวี : "ตอนนี้เรามีการเตรียมพร้อมไว้อย่างดี แต่เราเตรียมพร้อมแล้วอาจมีบางส่วนของประชาชนที่อาจรักบ้าน ไม่ออกจากบ้านเราก็กังวลในส่วนตรงนั้นด้วยเหมือนกัน ว่าอาจจะกระทบอะไรด้วย แต่ความเตรียมพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เราเตรียมพร้อมเพื่อรับมือพายุลูกนี้"
บางท่านไม่ยอมออกจากบ้าน?
อานนท์ : "เราก็เข้าใจท่านถ้าช่วยเหลือตัวเองได้รู้วิธีป้องกัน ด้วยความเสี่ยงนั้นก็ต้องรับทราบเพราะหน่วยงานราชการให้ข้อมูลมาที่สำคัญภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้น ให้ความสำคัญกับไฟฟ้า เวลาเกิดอุทกภัย ไฟดูดให้ระวัง เรื่องการเดินทางในสภาพที่มีน้ำหลากแรงๆ เห็นน้ำท่วมถนนฟุตสองฟุต คิดว่าขับรถโฟร์วิลข้ามได้ แต่ตายมาเยอะแล้วนะครับ การขับรถขับรามันมีความเสี่ยง"
พายุที่ผ่านๆ มา ครั้งนี้ดูเหมือนตื่นตัวมากที่สุดในรอบหลาย ๆ ปีเพราะอะไร?
อานนท์ : "เรามีบทเรียน เกย์ ลินดา มีเรื่องสึนามิ มีน้ำท่วมภาคกลาง สื่อที่มันดี ทำให้ทุกคนรับรู้ข่าวสาร แต่มีข้อมูลบางครั้งที่ไม่ถูกต้องก็ต้องกรองด้วย"
กรรวี : "ในส่วนพวกเรา เตรียมพร้อมรับมือกับตัวพายุ การฟังข่าวของโซเชียลให้กลั่นกรองด้วย ให้ฟังจากภาครัฐด้วย"