กรุงเทพฯ--14 ม.ค.--โพสต์พาเที่ยว
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานแพร่ ได้ชวนเพจ โพสต์พาเที่ยว และคณะสื่อมวลชน มาเปิดเส้นทางท่องเที่ยววัฒนธรรมพื้นถิ่น เส้นทาง 3 พระ พระธาตุ (วัดพระธาตุช่อแฮ) พระพุทธ(วันพระบาทมิ่งเมือง) พระธัมม์ (วัดสูงเม่น) ใน ประเพณีตากธัมม์ ตานข้าวใหม่ หิงไฟพระเจ้า ถือเป็นประเพณีโบราณสำคัญที่หาชมได้ยาก ที่มีที่ วัดสูงเม่น จังหวัดแพร่ เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 18-20 มกราคมนี้ พระธาตุ (วัดพระธาตุช่อแฮ) พระอารามหลวง วัดศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดแพร่ และเป็นวัดพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล โดยการจัดงานใหญ่ประจำปี "ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่แห่ตุงหลวง" ประเพณีประจำปี ในเดือนมีนาคม นี้ และได้ไปสักการะพระพุทธโกศัย ศากยมุนี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำ จ.แพร่ ที่ พระพุทธ(วันพระบาทมิ่งเมือง) และอีกหลากหลายวัฒนธรรมพื้นถิ่นในจังหวัดแพร่
แพร่ หรือเมืองแป้ ถือเป็นประตูเมืองแห่งล้านนา ที่มีประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม รวมถึงวิถีวัฒนธรรม วิถีชุมชนพื้นถิ่นที่มีความน่าสนใจ และยังคงอัตตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผ้าโบราณ , ผ้าทอพื้นถิ่น รวมถึงเอกลักษณ์การมัดย้อมด้วยธรรมชาติ รวมถึงหม้อฮ่อม และใบสักที่คงไว้ถึงเสน่ห์ในภูมิปัญญาชาวแพร่ ให้นักท่องเที่ยวได้มาชื่นชมอีกด้วย
แพร่ เต็มไปด้วยร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่สืบทอดมายาวนาน ไม่ว่าจะเป็น ศิลปวัฒนธรรมแบบล้านนา วิถีชีวิตแบบเรียบง่าย ตลอดจนภูมิปัญญาของชาวบ้าน ล้วนเป็นเสน่ห์ให้นักท่องเที่ยวตกหลุมรักเมืองเล็กๆ แห่งนี้ รวมถึงแหล่งรวมประวัติศาสตร์ อย่างพิพิธภัณฑ์วัดศรีดอนคำ และพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นโกมลผ้าโบราณ นอกจากความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมแล้ว ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ให้คุณได้สัมผัสกับบรรยากาศเมืองที่โอบล้อมไปด้วยภูเขาทั้ง 4 ทิศ และแพร่ขึ้นชื่อในเรื่องเมืองแห่งไม้สัก และวัฒนธรรมผ้า อันทรงคุณค่าที่พร้อมส่งต่อสู่คนรุ่นใหม่ในพื้นถิ่นช่วยกันอนุรักษ์ รักษาวัฒนธรรมพื้นถิ่นของแพร่ไว้
โดย ทริปนี้ "โพสต์พาเที่ยว" พร้อมเปิดประสบการณ์การเดินทางท่องเที่ยววัฒนธรรม Good Taste Great Culture ใน เส้นทาง 3 พระ : พระธาตุ (วัดพระธาตุช่อแฮ) พระพุทธ(วันพระบาทมิ่งเมือง) พระธัมม์ (วัดสูงเม่น)
พระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง วัดศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดแพร่ และเป็นวัดพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาลอีกด้วย
โดย ในวันขึ้น 9 ค่ำเดือน 6 เหนือ เดือน 4 ไต้ของทุกปีซึ่งถือว่าการจัดงานไหว้พระธาตุช่อแฮ ยึดถือตาม จันทรคติเป็นหลัก ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่ แห่ตุงหลวง ในการจัดงานมีขบวนแห่อันยิ่งใหญ่ประกอบ ไปด้วยริ้ว ขบวนของทุกอำเภอ การฟ้อนรำ ขบวนช้างเจ้าหลวง และเครื่องบรรณาการ ขบวนแห่กังสดาลขบวนแห่หมากเป็ง ขบวนต้นผึ้ง ขบวนแห่ผ้าห่มองค์พระธาตุ 12 ราศี ซึ่งประกอบด้วยขบวนตุง 12 ราศี ขบวนข้าวตอกดอกไม้ ต้นหมาก ต้นผึ้ง ต้นดอก ขบวนแห่ผ้าห่มองค์พระธาตุ 12 ราศี ขบวนกังสดาล ขบวนตุงขบวนฟ้อนรำการเทศน์และมีการเทศน์และฟังเทศน์มหาชาติ มหาเวสสันดรชาดก ทั้งกลางวันและกลางคืน
โดยการจัดงานใหญ่ประจำปี "ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่แห่ตุงหลวง" ในทุกๆ เดือนมีนาคม ของทุกปี
วัดสูงเม่น อ.สูงเม่น เป็นวัดที่เป็นตัวแทนของพระธรรม มีคัมภีร์ใบลานภาษาล้านนาเก็บในหอพระคัมภีร์ มากกว่า 2000 ฉบับ ซึ่งงานประเพณีตากธัมม์ เป็นงานประเพณีที่มีเอกลักษณ์หนึ่งเดียวของประเทศไทย มีประสบการณ์ร่วมกิจกรรมเขียนภาษาล้านนา ลงในคัมภีร์ใบลานและพิธีการห่อพระคัมภีร์ตากธัมม์ เข้าชมขบวนแห่ "ตากธัมม์ ตานข้าวใหม่ หิงไฟพระเจ้า" ชมนิทรรศการ "พระราชาผู้ทรงธรรม : คำสอนของพ่อ มรดกธัมม์ มรดกโลก" ,ชมคัมภีร์ใบลานมีชีวิต สาธิตกิจกรรม กว่าจะเป็นคัมภีร์ใบลานวัดสูงเม่น จำนวน 10 ฐาน การเรียนรู้ ,ร่วมพิธีเปิดงานตากธัมม์ข้ามปี ร่วมกิจกรรม ลานธัมม์วันเกิด เวียนธัมม์ อธิษฐานจิต 3 หอ และชมศิลปะการแสดงของชาวลานธัมม์ จากนั้นเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง เช่น ชมอาคารประวัติศาสตร์ตามรอยพระยุคลบาทยาตราที่ว่าการ อ.สูงเม่น ,วัดพระธาตุเนิ้ง บ้านพระหลวง ฯลฯ โดยงานประเพณีจะมีขึ้นในวันที่ 18-20 มกราคมนี้ ณ วัดสูงเม่น อ.สูงเม่น จ. แพร่
และ วัดพระบาทมิ่งเมือง ตัวแทนของพระพุทธ โดยมีพระพุทธโกศัย ศากยมุนี ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำ จ.แพร่ เป็นวัดเก่าแก่ไม่ปรากฏว่าสร้างขึ้นเมื่อใดแต่เดิมแยกเป็น 2 วัด คือวัดพระบาท อันมีจุดเด่นที่รอยพระพุทธบาทและวัดมิ่งเมือง ซึ่งมีพระธาตุมิ่งเมืองเป็นสิ่งสำคัญ ต่อมาภายหลัง เมื่อไม่มีเจ้าครองนครแล้วทางราชการจึงให้รวมวัดทั้งสองเข้าด้วยกัน และสร้างพระพุทธรูป เป็นพระประธานจำลองมาจากพระพุทธชินราช เรียกชื่อว่า "พระพุทธโกศัย ศากยมุนี" อันเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ชมพิพิธภัณฑ์วิหารมิ่งเมือง รวบรวมวัตถุล้ำค่าของเมืองแพร่ อาทิ คัมภีร์ปักด้วยไหมทองคำ สร้างถวายโดย แม่เจ้าบัวไหล ชายาของเจ้าพิริยะเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์สุดท้าย
สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจมาสัมผัสการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม ของจังหวัดแพร่ที่มีเสน่ห์มากมายให้ค้นหา และอยากเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดแพร่ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ททท. สำนักงานแพร่ 0 5452 1127 หรือ www.gonorththailand.com และติดตามเส้นทางท่องเที่ยวแพร่ ในเส้นทางอื่นๆ ของ #โพสต์พาเที่ยว ได้ทาง http://www.ride-explorer.com/trip-travel/post-a-trip-lady-go-north-phrae/