กรุงเทพฯ--14 ม.ค.--กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
การตรวจราชการแบบบูรณาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (รอบที่ 1) การดำเนินงานโครงการตามแผนงานบูรณาการพัฒนาพื้นที่ภาค ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยผู้ตรวจราชการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (นางแน่งน้อย เวทยพงษ์)
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม 2562 นางแน่งน้อย เวทยพงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ผตร.วท.)ได้ตรวจราชการแบบบูรณาการฯ รอบที่ 1 โครงการตามแผนงานบูรณาการพัฒนาพื้นภาคของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมเกษตรปลอดภัยภาคเหนือ 2) โครงการส่งเสริมเกษตรกรให้มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตและบริหารจัดการฟาร์มอย่างเป็นระบบโดยมีนางสาวรจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์และคณะ รายงานผลการดำเนินงานโครงการฯ ดังกล่าวณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารพระจอมเกล้า สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.โครงการส่งเสริมเกษตรปลอดภัยภาคเหนือ
ผตร.วท. ตรวจติดตามโครงการในพื้นที่ภาคเหนือ จังหวัดกำแพงเพชรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่เป็นเกษตรกรไฮเทค (InnoAgri farmer) ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร(InnoAgri Entrepreneur) สนับสนุนการสร้างเกษตรนวัตกรรมยั่งยืน (InnoAgri Sustainability )ด้วยการสร้างชุมชนเกษตรนวัตกรรม (InnoAgriVillage) เน้นการสร้างทายาทเกษตรกรและเกษตรกรรุ่นใหม่ในชุมชนผ่านระบบการเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (InnoAgriDatahub) และการเรียนรู้จากเครือข่ายที่ประสบผลสำเร็จในงาน InnoAgri Champion ประจำปีจากการตรวจติดตามพบว่า ผู้จัดทำโครงการได้นำสภาพปัญหาของพื้นที่มากำหนดแนวทางการพัฒนา โดยเริ่มจากพื้นที่มีปัญหา ต้นกล้วยไข่และผลผลิตได้รับความเสียหายจากลมพายุตามฤดูกาล และการระบาดของโรคใบไหม้รวมถึงการเก็บรักษาผลผลิตในการขนส่งได้ไม่นานทำให้ผลผลิตเกิดความเสียหาย โดยในไตรมาสที่ 1 ได้มีการดำเนินงานเป็นการเบื้องต้นแล้ว โดยการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเพื่อวางแผนการดำเนินการโครงการและเตรียมการจัดกิจกรรมต่างๆได้แก่ การพัฒนาเกษตรกรไฮเทค การพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร การพัฒนาชุมชนนวัตกรรมเกษตร (InnoAgri Village) แผนการพัฒนาสื่อรูปแบบต่างๆ โดยประชาสัมพันธ์ข้อมูล วทน. ผ่านเครือข่ายที่เกี่ยวข้องและช่องทางอื่นๆ ทั้งนี้ผตร.วท. ได้ขอให้ วว. เร่งรัด การดำเนินโครงการและเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ และให้มีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการต่อยอดการพัฒนาเช่นศวภ.
2.โครงการส่งเสริมเกษตรกรให้มีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตและบริหารจัดการฟาร์มอย่างเป็นระบบ
ผตร.วท.ได้ตรวจติดตามโครงการในพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดชุมพรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกกระดับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในพื้นที่จังหวัดชุมพรและใกล้เคียงเป็นเกษตรกรไฮเทค (InnoAgri farmer) ผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร (InnoAgriEnterpreneur) สนับสนุนการสร้างเกษตรนวัตกรรมยั่งยืน (InnoAgri Sustainability) ด้วยการสร้างชุมชนเกษตรนวัตกรรม (InnoAgrivillage) เน้นการสร้างทายาทเกษตรกรและเกษตรกรรุ่นใหม่ในชุมชนผ่านระบบการเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (InnoAgriDatahub) และการเรียนรู้จากเครือข่ายที่ประสบผลสำเร็จในงาน InnoAgri Champion ประจำปีการดำเนินงานโครงการในไตรมาสที่ 1 ได้มีการสำรวจและรวบรวมข้อมูลเพื่อวางแผนการดำเนินการโครงการและเตรียมการจัดกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ 1) การพัฒนาเกษตรกรไฮเทค มีการวางแผนกำหนดการจัดงาน Road showวทน.กำหนดหลักสูตรสำหรับการสาธิตเชิงปฏิบัติการและห้องเรียนเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่เป้าหมาย 2) การพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร มีการประชุมร่วมกับสภาเกษตรกร และ ธกส. เพื่อค้นหาผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรที่มีความพร้อมในการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ 3) การพัฒนาชุมชนนวัตกรรมเกษตร (InnoAgri Village) โดยประชุมร่วมกับสภาเกษตรกร และ ธกส. เพื่อคัดเลือกชุมชนนวัตกรรมเกษตรสำหรับการพัฒนาชุมชนและเกษตรกรรุ่นใหม่ทั้งนี้การดำเนินโครงการฯ และเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมเป็นไปตามแผนที่กำหนดโดย ผตร.วท. ได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมในแนวทางการพัฒนาเครื่องจักรโดยให้ศึกษาจากการดำเนินงานที่ผ่านมาของ สป.วท. เป็นข้อมูลประกอบด้วย
นอกจากนี้ วว. มีการนำเสนอโครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการผลิตสินค้าเกษตรไปสู่สินค้าชนิดใหม่ตามศักยภาพพื้นที่ มีพื้นดำเนินงานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย เพื่อพัฒนาเกษตรกรและชุมชนด้วย วทน. และสร้างรายได้ โดยมุ่งเน้นการพัฒนา/ปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกและไม้ประดับ การแปรรูปผลผลิต ด้วย วทน.