ไทย ส่งทีม Training เทคนิคด้านการรับรองระบบ กัมพูชา ภายใต้กรอบความร่วมมือ ด้านความช่วยเหลือทางเทคนิคด้านการรับรองระบบ

ข่าวทั่วไป Tuesday January 15, 2019 09:06 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--15 ม.ค.--สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วม ประชุมหารือทวิภาคี กับกรมรับรองระบบงาน กระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรม เพื่อร่วมกันหารือในกิจกรรมเร่งด่วนที่ทางกรมรับรองระบบงานกัมพูชา ต้องการความช่วยเหลือจาก มกอช.ประเทศกัมพูชา นางสาวจูอะดี พงศ์มณีรัตน์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า มกอช. ได้เข้าร่วม ประชุมหารือทวิภาคี กับกรมรับรองระบบงาน กระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ประเทศ กัมพูชา ภายใต้บันทึกความเข้าใจด้านความช่วยเหลือทางเทคนิคด้านการรับรองระบบระหว่างสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และกรมรับรองระบบงาน กระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรม ประเทศกัมพูชา เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน ความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคต่างๆ ของกิจกรรมภายใต้บันทึกความเข้าใจ ( MOU) ฉบับนี้ รวมถึงหารือร่วมกันในกิจกรรมเร่งด่วนที่ทางกรมรับรองระบบงาน กัมพูชา ต้องการความช่วยเหลือจาก สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ทั้งนี้ ผลการประชุมหารือร่วมกัน มกอช. ให้การสนับสนุนช่วยเหลือด้านการพัฒนาความสามารถผู้ตรวจประเมินของกรมรับรองระบบงาน กัมพูชา ในมาตรฐาน ISO/IEC17065, 17021 และสนับสนุนผู้ตรวจประเมินของ มกอช. นำทีมตรวจประเมิน หน่วยรับรอง และเตรียมการความพร้อมด้านระบบเอกสารในการยื่นขอ Peer Evaluation จาก PAC โดยมีแผนดำเนินการในระยะ 2 ปี (2562-2563) เลขาธิการ กล่าวต่อไปว่า กรมรับรองระบบงาน (Department of Accreditation : DA) เป็นหน่วยงานใหม่ ทำหน้าที่เป็นหน่วยรับรองระบบงาน (Accreditation Body) ของประเทศกัมพูชา ซึ่งมีความต้องการให้การรับรองระบบงานด้านสินค้าเกษตรและอาหารเป็นที่ยอมรับในระดับภูมิภาคและสากล แต่ยังขาดความพร้อมในด้านระบบบริหารงานคุณภาพและบุคลากร โดยเฉพาะผู้ตรวจประเมิน จึงได้ร้องขอให้มีความช่วยเหลือทางเทคนิควิชาการในรูปแบบบันทึกความเข้าใจ ( MOU) ระหว่าง มกอช. กับ กรมรับรองระบบงาน กระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรม บันทึกความเข้าใจ ( MOU) ดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ) และผ่านการพิจารณาจากกระทรวงการต่างประเทศแล้ว ว่าสามารถจัดทำความร่วมมือได้ เป็นไปตามเงื่อนไขของมติคณะรัฐมนตรี (เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2558) โดยไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างกันตามกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่กระทบต่อสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิในพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ หรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่อาจทำให้ไทยสูญเสียผลประโยชน์ โดยบันทึกความเข้าใจ ( MOU) นี้ ได้ลงนามร่วมกัน เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2560 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เลขาธิการกล่าว...

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ