กรุงเทพฯ--22 ม.ค.--ธนาคารไทยพาณิชย์
สภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN BAC) จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน 2546 ที่สำนักเลขาธิการอาเซียนในกรุงจาการ์ตาประเทศอินโดนีเซีย โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้นำอาเซียนในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 7 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2544 ที่เมืองบันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไนดารุสซาลาม ในฐานะเป็นตัวแทนอย่างเป็นทางการของภาคเอกชนอาเซียน เพื่อให้ข้อเสนอแนะด้านธุรกิจต่อผู้นำอาเซียน
ปี พ. ศ. 2562 เป็นปีที่สำคัญสำหรับประเทศไทย ในโอกาสที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน นอกจากนี้ยังเป็นเกียรติอย่างยิ่งสำหรับสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (หรือ ASEAN BAC) ประเทศไทยในการรับตำแหน่งประธานภาคเอกชนของอาเซียน คุณอรินทร์ จิรา ประธาน ASEAN BAC อธิบายว่า แนวคิดหลักของภาคเอกชนไทยของปี พ. ศ. 2562 คือ "Empowering ASEAN 4.0" ซึ่งต่อยอดจากแนวคิดหลักของปีที่ผ่านมา ที่กำหนดโดย ASEAN BAC สิงคโปร์ "Building Tomorrow, Connecting Today"
งานสัมมนาเปิดตัวของกิจกรรมอาเซียนภาคเอกชนนี้ มีชื่อเดียวกับหัวข้อหลัก (Theme) ของภาคเอกชน" Empowering ASEAN 4.0" ซึ่งหมายถึง การเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล ความสำคัญของการสนับสนุนให้เกิดโครงการใหม่ๆ ในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ความเชื่อมโยงระดับภูมิภาคในด้านการค้า การชำระเงิน และแรงงาน ตลอดจนการสร้างโอกาสให้ทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึงและยั่งยืน ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับแนวคิดหลักของรัฐบาลไทย "Advancing Partnership for Sustainability" โดยมีคุณกลินท์ สารสิน ประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน และประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย คุณปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย และคุณสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และให้เกียรติเข้าร่วมงานด้วย
คุณปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย มองว่าประเทศในกลุ่มอาเซียนควรให้ความสำคัญกับความร่วมมือในการประสานมาตรฐานและแนวปฏิบัติของภูมิภาค เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการค้าและการลงทุนข้ามประเทศ และสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนของประเทศสมาชิก
การเสวนาในหัวข้อ ASEAN 4.0 หรือ" Digitalized ASEAN" เป็นการแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกและกลยุทธ์ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัลในแง่มุมของสภาวะปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต ในทุกประเทศทั่วโลก ผลิตภัณฑ์และบริการทางดิจิทัลทำให้เกิดการปฏิรูปกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม ทำให้การดำเนินชีวิตสะดวกสบายขึ้น โดยภูมิภาคอาเซียนมีโอกาสเติบโตแบบก้าวกระโดดสู่ระดับแนวหน้าของเศรษฐกิจดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดร็ว
การเสวนาในหัวข้อนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อุปสรรคต่างๆ ของการสร้างตลาดร่วมดิจิทัล (Digital Single Market) การสร้างสภาพแวดล้อมทางดิจิทัล การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในอาเซียนเพื่อให้การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่และกลายเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปสู่ความเจริญรุ่งเรื่องอย่างยั่งยืน การอภิปรายจะเน้นไปที่ตัวขับเคลื่อนหลักที่เปลี่ยนอาเซียนให้เป็นเศรษฐกิจดิจิทัล ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี กฎระเบียบและข้อบังคับที่เอื้อต่อการทำธุรกรรมภายในประเทศและข้ามพรมแดน ความปลอดภัยทางไซเบอร์(Cyber Security) การปกป้องข้อมูลและการแบ่งปันข้อมูล
การเสวนาในหัวข้อที่สองจะมุ่งเน้นไปที่แนวคิดของการสร้าง" ONE ASEAN" หรือ การเชื่อมโยงที่ไร้รอยต่อ (Seamless Connectivity) ของการเคลื่อนย้ายสินค้า การลงทุน แรงงาน การท่องเที่ยว และการชำระเงิน การสร้างหลักการร่วมกัน โดยการประสานกฎข้อบังคับ ตลอดจนมาตรฐานให้สอดคล้องกัน จะเป็นแนวทางที่สำคัญในการขับเคลื่อนไปสู่ ONE ASEAN
การเสวนาในหัวข้อที่สาม มุ่งเน้นไปที่วิธีการที่ประชาคมอาเซียนให้ความช่วยเหลือ MSME ซึ่งเป็นภาคส่วนที่สำคัญที่สุดของทุกประเทศในอาเซียน และเป็นผู้สนับสนุนที่สำคัญต่อการเติบโตของ GDP เนื่องจากมีการจ้างงานในสัดส่วนที่สูงในแต่ละประเทศ ในยุคดิจิทัลของวันนี้ MSME และการเริ่มต้นธุรกิจใหม่กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและพฤติกรรมผู้บริโภค โครงการสร้างขีดความสามารถอย่างครอบคลุมจะช่วยให้ MSME ทั้งนี้ สามารถรับมือกับความท้าทายได้ ดังนั้น อาเซียนจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของMSME การสร้างความน่าเชื่อถือของ MSME (Creditworthiness) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสินเชื่อที่ดีขึ้นและการขยายฐานของผู้ให้กู้ MSME ยังเป็นข้อจำกัดที่สำคัญ นอกจากนี้ ปัญหาอื่นๆ ที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข ได้แก่การเปิดใช้งานการค้าดิจิทัล และการไหลของข้อมูลระหว่างประเทศที่จำเป็นในการสนับสนุนการค้าห่วงโซ่อุปทาน E-Commerce การท่องเที่ยวและการค้าชายแดน ข้อตกลงร่วมในด้านมาตรฐานต่างๆ และขั้นตอนกระบวนการของพิธีการศุลกากร ข้อกำหนดด้านการแปลข้อมูล
การแบ่งปันข้อมูลเครดิต และการปฏิรูปกฎหมายธุรกรรมที่มีหลักประกัน (Secured Transaction Law) เป็นต้น
การสนทนาในหัวข้อนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออภิปรายถึงข้อจำกัดต่างๆ ที่สำคัญในการเพิ่มโอกาส และเพิ่มความสามารถของ MSME ในการแข่งขันในตลาดทั้งในและต่างประเทศ
การเสวนาในหัวข้อสุดท้ายของวันนี้ (22 มกราคม 2562) กล่าวถึงการที่ยุคดิจิทัลที่เกิดขึ้นใหม่และการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่มีผลกระทบต่อทุกด้านของสังคม เช่นวิธีที่ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง กระบวนการผลิตและทักษะที่ต้องการ โดยการอภิปรายมุ่งที่จะนำเสนอแนวนโยบายต่อผู้นำอาเซียน สิ่งที่จำเป็นที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง และนำระบบดิจิทัลมาใช้ การอภิปรายครอบคลุมถึงโอกาสและข้อจำกัดของการเข้าสู่ยุคดิจิทัลของสตรี ทักษะและความสามารถที่จำเป็นสำหรับยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ตลอดจนแผนการฝึกอบรมและปรับทักษะ (Retrain & Reskill)
การอภิปรายในเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางสำหรับภูมิภาคอาเซียนเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในยุคดิจิทัล
ความคิดเห็นและข้อสรุปบางส่วนจากการอภิปรายในวันนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งของข้อเสนอแนะภาคธุรกิจของสภาธุรกิจอาเซียนต่อผู้นำอาเซียนและรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และเป็นแนวทางที่ภาคเอกชนในอาเซียนจะทำงานร่วมกันเพื่อนำไปสู่ความเจริญเติบโตที่ครอบคลุมและยั่งยืนของภูมิภาค