กรุงเทพฯ--21 ม.ค.--คอร์ แอนด์ พีค
กรณีศึกษา: บริษัท จีแอลเอส
อุตสาหกรรม: ขนส่งและโลจิสติกส์
ผลิตภัณฑ์: EasyCoder? PF4i + C4
ตลาดโลจิสติกส์ ของยุโรปเป็นพื้นที่ที่บริษัทด้านขนส่งและโลจิสติกส์ สามารถเติบโตได้อย่างมาก แต่ด้วยการแข่งขันอย่างหนักทำให้พวกเขาต้องการประสิทธิภาพที่ลงลึกไปยังรายละเอียดที่สุด นั่นจึงเป็น หตุผลว่าทำไมบริษัท เจเนอรัล โลจิสติกส์ ส์ ซิสเต็มส์ (จีแอลเอส) จึงเลือกใช้เครื่องพิมพ์จากบริษัท อินเตอร์เมคเพื่อใช้งานทั่วทั้งยุโรป
หมู่บ้านนอยเอนสไตน์ ในนอร์ธ เฮสเซน ประเทศเยอรมนี อาจดูเหมือนเป็นเมืองที่เงียบสงบสำหรับผู้มาเยือน แต่สถานที่แห่งนี้มีข้อได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์ เนื่องจากอยู่ใกล้กับเมืองคาสเซล ทางตอนกลางของเยอรมนี และยังถือเป็นศูนย์กลางของยุโรปอีกด้วย จะเห็นได้ว่านอยเอนสไตน์มีซูเปอร์ไฮเวย์ A7 ที่สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายถนนสายหลักได้หลายสาย ตำแหน่งที่ตั้งที่เป็นศูนย์กลางในลักษณะนี้ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้บริษัท เจเนอรัล ลอจิสติกส์ ซิสเต็มส์ เยอรมนี จีเอ็มบีเอช แอนด์ โค โอเอชจี (General Logistics Systems Germany GmbH & Co. OHG) ธุรกิจด้านโลจิสติกส์ เลือกที่จะจัดตั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทที่นี่
บริษัท จีแอลเอสรวมตัวกับธุรกิจขนส่งขนาดกลางจำนวน 26 แห่งเมื่อปี 2532 และในปัจจุบัน ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ รายนี้เป็นธุรกิจของบริติช รอยัล เมล กรุ๊ป และมีสาขาใน 33 ประเทศทั่วยุโรป เฉพาะในเยอรมนีประเทศเดียว บริษัท จีแอลเอส ขนส่งพัสดุประมาณ 500,000 ชิ้นต่อวัน มีพนักงาน 12,000 คน ยานพาหนะในการจัดส่งกว่า 4,500 คัน และคลังพัสดุทั่วประเทศ 54 แห่ง บริษัทแห่งนี้กลายเป็นผู้เล่นอันดับสามในตลาดโลจิสติกส์ ตามหลังแค่บริษัท ดีเอชแอล และบริษัท ยูพีเอส เท่านั้น
“โลจิสติกส์ หมายถึงความรับผิดชอบ” นายโยฮันเนส รูททิงเกอร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายสารสนเทศ (ซีไอโอ) บริษัท จีแอลเอส กรุ๊ป กล่าว โดยรูททิงเกอร์ และทีมงาน 120 คนของบริษัท จีแอลเอส ไอที เซอร์วิส จีเอ็มบีเอช (GLS IT Services GmbH) ในนอยสไตน์ มีหน้าที่ดูแลให้แน่ใจว่าเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) และเครือข่ายของบริษัท จีแอลเอส ทำงานได้อย่างราบรื่นตลอด 24 ชั่วโมง และในกรณีที่ระบบล้มเหลว ฝ่ายสนับสนุนสามารถตอบสนองได้ทันทีแม้ว่าจะเป็นเวลากลางคืน ความรวดเร็วและคุณภาพมีความสำคัญสูงสุดสำหรับบริษัท จีแอลเอส เนื่องจากในปัจจุบัน ลูกค้าในตลาดโลจิสติกส์ ที่มีการแข่งขันสูงแห่งนี้ไม่ได้คาดหวังเฉพาะแค่ราคาที่ต่ำ แต่ยังต้องการให้พัสดุได้รับการส่งมอบภายใน 24 ชั่วโมง แม้ว่าจะอยู่ในอีกประเทศก็ตาม
“ตลาดโลจิสติกส์ ในยุโรปมีศักยภาพเติบโตสูงมากสำหรับเรา แต่เราจะสามารถประสบความสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้” นายรูททิงเกอร์ กล่าว โดยทุกเซ็นต์ที่บริษัท จีแอลเอสสามารถประหยัดได้ต่อการส่งพัสดุแต่ละครั้งจะช่วยให้ความสามารถในการแข่งขันของบริษัทดีขึ้น
และเพื่อที่จะขยายประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ ให้เพิ่มขึ้น เมื่อ 3.5 ปีที่ผ่านมา บริษัท จีแอลเอสตัดสินใจเปิดตัวป้ายผนึกแบบบาร์โค้ดสองมิติสำหรับพัสดุที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วยุโรป โดยบาร์โค้ดสองมิติ (รหัสตามมาตรฐาน Data Matrix) ที่ติดบนพัสดุของบริษัท จีแอลเอส จะมีข้อมูลต่อพื้นที่เพิ่มมากขึ้น (ขนาดสัญลักษณของจีแอลเอสคือ 36x36 มม.) ที่ความหนาแน่นข้อมูลเพิ่มขึ้นอย่างมากและมีความน่าเชื่อถือเมื่อทำการอ่านข้อมูลเนื่องจากข้อมูลไม่ซ้ำซ้อน สำหรับการขนส่งข้ามพรมแดนไม่จำเป็นต้องพิมพ์ป้ายผนึกเฉพาะสำหรับแต่ละประเทศอีกต่อไป ส่งผลให้เกิดข้อดีสองประการ ได้แก่ ลดต้นเหตุของความผิดพลาดและประหยัดค่าใช้จ่ายที่จะใช้สำหรับป้ายผนึก
สิ่งที่ดูเหมือนว่าเป็นเรื่องเล็กๆ แต่จริงๆ แล้วกลับเป็นงานใหญ่สำหรับบริษัท จีแอลเอส ไอที เซอร์วิส เนื่องจากบริษัทต้องซื้อฮาร์ดแวร์ใหม่ทั้งหมดเพื่อรองรับบาร์โค้ดแบบสองมิติ “เรายังตั้งเป้าหมายที่จะสร้างมาตรฐานฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เป็นระบบที่ไม่ยุ่งยากเกินไปสำหรับผู้ที่ใช้งานทั่วยุโรปด้วย” รูททิงเกอร์ กล่าว โดยส่วนประกอบหลักของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือการเปิดตัวเทอร์มินอลสแกน หรือที่เรียกว่า ยูนิ-สเตชัน (Uni-Station) ในคลังพัสดุของบริษัท จีแอลเอส ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการขนส่งพัสดุ พัสดุนั้นจะได้รับการลงทะเบียนด้วยสแกนเนอร์แบบมือถือและให้ป้ายผนึกพัสดุแบบสองมิติ โดยเครื่องพิมพ์บาร์โค้ดที่อยู่ที่ยูนิ-สเตชัน จะพิมพ์ป้ายผนึกที่ต้องการออกมาทันที ภายใน 8-12 เดือนนี้ บริษัทจะนำยูนิ-สเตชันมาใช้งาน โดยต้องแน่ใจให้ได้ว่าทุกสิ่งทำงานได้อย่างราบรื่น และแต่ละสเตชันจะทำหน้าที่พิมพ์ป้ายผนึกพัสดุต่อวันถึง 5,000 ชิ้น ซึ่งอุปกรณ์แต่ละตัวจะต้องทำงานให้ได้ในสัดส่วน 80-85% “ดังนั้นจึงต้องไม่มีระบบใดล้มเหลว” รูททิงเกอร์ ย้ำเน้น
สำหรับส่วนประกอบสำคัญสำหรับยูนิ-สเตชันจำนวน 5-20 แห่ง คือ เครื่องพิมพ์ของอินเตอร์เมค รุ่น PF4i ซึ่งเป็นเครื่องพิมพ์ระดับอุตสาหกรรมที่มีความทนทาน ขนาดกะทัดรัด ได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการในสถานการณ์ต่างๆ ทางด้านอุตสาหกรรม โดยหัวพิมพ์แบบแม่เหล็ก QuickMount? รับประกันได้ถึงความง่ายในการเปลี่ยน นั่นหมายความว่าไม่จำเป็นต้องพึ่งพาช่างเทคนิคมากนัก ตำแหน่งจัดวางระหว่างหัวพิมพ์และส่วนจ่ายที่ใกล้เคียงกันไม่เพียงแต่ทำให้ป้ายผนึกดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้ความเร็วในการพิมพ์และป้อนป้ายผนึกเข้าระบบเร็วยิ่งขึ้น แม้จะเพียงแค่ไม่กี่มิลลิเมตรหรือมิลลิวินาที แต่เมื่อพิจารณาสิ่งที่ประหยัดได้ต่อการผลิตป้ายผนึกแต่ละครั้งแล้ว จะพบว่าในการขนส่งพัสดุ 500,000 ชิ้นต่อวัน ยิ่งความเร็วเพิ่มขึ้นใด ก็ยิ่งคุ้มค่าเท่านั้น ทั้งนี้ เครื่องพิมพ์ EasyCoder PF4i สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่าย EasyLAN แบบมีสายหรือไร้สายก็ได้ อุปกรณ์นี้เป็นเครื่องลูกข่าย (ไคลเอ็นต์) ที่ชาญฉลาด นั่นคือมีฟังก์ชั่นแบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ทำให้การเข้าถึงข้อมูลในเครือข่ายและสามารถปรับฟังก์ชั่นการทำงานเพิ่มเติมได้ตามต้องการ
นอกจากนี้ เครื่องพิมพ์ EasyCoder C4 ขนาดเล็กกว่ายังง่ายที่จะกำหนดค่าและมีขนาดกะทัดรัดเป็นพิเศษ นอกเหนือจากความทนทาน และทำงานได้อย่างเงียบเชียบ เนื่องจากการพิมพ์ของเทคโนโลยีการพิมพ์แบบคู่ (ความร้อนโดยตรง/ถ่ายแทความร้อน: Thermal Direct/Thermal Transfer) ทำให้สามารถใช้กับวัสดุป้ายผนึกได้เกือบทั้งหมดในตลาด อุปกรณ์นี้เป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่มีอินเตอร์เฟสทั้งแบบยูเอสบี แบบขนาน และแบบอนุกรม ตลอดจนมีความสามารถรองรับได้หลายภาษา และ Unicode ที่สนับสนุนแบบอักษรได้ทั้งหมด
นายโยฮันเนส รูททิงเกอร์ เพิ่มเติมว่าความเร็วในการประมวลผลสูงของเครื่องพิมพ์ “ช่วยประหยัดเวลา ทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ด้วยความสามารถในการพิมพ์ป้ายผนึกหนึ่งล้านชิ้นต่อวัน และสามารถเพิ่มจำนวนได้อีก” นั่นคือเหตุผลว่าทำไมบริษัท จีแอลเอส จึงตัดสินใจใช้เครื่องพิมพ์ประสิทธิภาพสูงของบริษัท อินเตอร์เมค "ก่อนที่จะเปิดตัวโครงการนี้ เราทำงานร่วมกับบริษัท อินเตอร์เมคมาแล้วถึงสี่ปี ความร่วมมือกันในครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นถึงความไว้วางใจและความน่าเชื่อถือที่เรามีต่อบริษัท อินเตอร์เมค" อย่างไรก็ตาม บริษัท จีแอลเอส ไอที เซอร์วิส จีเอ็มบีเอช ยังคงดำเนินการทดสอบฮาร์ดแวร์อย่างหนักก่อนนำมาใช้จริง รวมถึงผลิตภัณฑ์จากผู้จัดหารายอื่นๆ แต่แล้วในที่สุดแล้ว ด้วยอัตราส่วนราคา/ประสิทธิภาพที่ดีของบริษัท อินเตอร์เมค จึงสามารถเอาชนะสัญญาของโครงการนี้มาได้
นอกจากเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ที่ดีแล้ว ตัวแปรที่ทำให้บริษัทตัดสินใจเลือกบริษัท อินเตอร์เมค เนื่องจากบริษัท อินเตอร์เมค ตกลงที่จะจัดหาระบบที่สามารถกำหนดค่าล่วงหน้าได้ด้วยเฟิร์มแวร์รุ่นพิเศษสำหรับบริษัท จีแอลเอส และอุปกรณ์ต่างๆ สามารถทำงานกับซอฟต์แวร์ที่พร้อมใช้งานกับไซต์งานต่างๆ ได้โดยไม่มีปัญหา “สิ่งที่เราได้รับอย่างแท้จริงก็คือโซลูชั่นปลั๊กแอนด์เพลย์” รูททิงเกอร์ อธิบาย และด้วยความร่วมมือระหว่างบริษัท อินเตอร์เมค และบริษัท จีแอลเอส ที่มีมาอย่างยาวนาน ทำให้มั่นใจได้ว่าข้อตกลงครั้งนี้เหมาะสมที่สุด
ทั้งนี้ บริษัท จีแอลเอส ได้เริ่มนำโซลูชั่นทั้งหมดมาใช้ในคลังพัสดุนำร่องเมื่อเดือนพฤษภาคม 2550 และหลังจากนั้นไม่กี่เดือน ก็จะปรับใช้รูปแบบอุปกรณ์เหมือนกันนี้ทั่วทั้งยุโรป โซลูชั่นการพิมพ์ของบริษัท อินเตอร์เมค คาดว่าจะช่วยให้บริษัทคุ้มทุนได้ภายใน 3-4 ปี นอกจากนี้ การลงทุนในฮาร์ดแวร์ครั้งนี้ จะทำให้บริษัท จีแอลเอส สามารถขยายธุรกิจไปทั่วยุโรปได้อย่างรวดเร็วโดยที่เทคโนโลยีเดิมที่บริษัท จีแอลเอสเคยใช้ก่อนหน้านี้ ไม่สามารถทำได้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อได้ที่:
คุณศรีสุพัฒ เสียงเย็น ที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์
บริษัท คอร์ แอนด์ พีค จำกัด โทร. 0-2439-4600 ต่อ 8300
อีเมล์: srisuput@corepeak.com