กรุงเทพฯ--15 ก.พ.--นิด้าโพล
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "เกาะติดสถานการณ์ การเลือกตั้ง 2562" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 4 – 7 กุมภาพันธ์ 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,091 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเกาะติดสถานการณ์ การเลือกตั้ง 2562 ช่วงก่อนวันสุดท้ายของการรับสมัคร ส.ส. และเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงหากวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง 2562 บุคคลที่จะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี (10 อันดับแรก) พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 26.06 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 24.01 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อันดับ 3 ร้อยละ 11.91 ระบุว่า ไม่แน่ใจ อันดับ 4 ร้อยละ 11.43 ระบุว่าเป็น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อันดับ 5 ร้อยละ 6.26 ระบุว่า ไม่สนับสนุนใครเลย อันดับ 6 ร้อยละ 5.98 ระบุว่าเป็น นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อันดับ 7 ร้อยละ 5.50 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส อันดับ 8 ร้อยละ 4.54 ระบุว่าเป็น นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อันดับ 9 ร้อยละ 1.15 ไม่ระบุ และอันดับ 10 ร้อยละ 0.91 ระบุว่าเป็น นางสาวกัญจนา ศิลปอาชา
สำหรับพรรคการเมืองที่อยากให้ได้คะแนนเสียงมากที่สุด และเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ (10 อันดับแรก) พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 36.49 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 22.57 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 3 ร้อยละ 15.21 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 4 ร้อยละ 8.18 ระบุว่าเป็น พรรคอนาคตใหม่ อันดับ 5 ร้อยละ 4.97 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 6 ร้อยละ 4.40 ระบุว่า ไม่แน่ใจ อันดับ 7 ร้อยละ 3.06 ระบุว่า ไม่สนับสนุนพรรคใดเลย อันดับ 8 ร้อยละ 1.39 ระบุว่าเป็น พรรคชาติไทยพัฒนา อันดับ 9 ร้อยละ 0.91 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อชาติ และพรรคภูมิใจไทย ในสัดส่วนที่เท่ากัน และอันดับ 10 ร้อยละ 0.43 ระบุว่าเป็น พรรคไทยรักษาชาติ และพรรครวมพลังประชาชาติไทย ในสัดส่วนที่เท่ากัน
ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับนโยบายที่สำคัญและเร่งด่วนที่สุดที่อยากเห็นจากรัฐบาลชุดใหม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.85 ระบุว่า แก้ปัญหาปากท้องและหนี้สินของประชาชน รองลงมา ร้อยละ 27.93 ระบุว่า ส่งเสริมราคาสินค้า/พืชผลทางการเกษตร ร้อยละ 4.26 ระบุว่า โครงการเรียนฟรีถึงระดับปริญญาตรี ร้อยละ 2.77 ระบุว่า แก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน ร้อยละ 1.82 ระบุว่า แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ร้อยละ 1.48 ระบุว่า แก้ไขปัญหาด้านการคมนาคม ร้อยละ 1.20 ระบุว่า แก้ไขปัญหายาเสพติด อาชญากรรม มิจฉาชีพ ร้อยละ 0.96 ระบุว่า ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 0.77 ระบุว่า ส่งเสริมการศึกษาระดับอาชีวศึกษาร้อยละ 0.57 ระบุว่า การบังคับใช้กฎหมายด้วยความเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติร้อยละ 0.48 ระบุว่า แก้ไขปัญหาการว่างงาน และการจัดสรรที่ดินทำกิน ร้อยละ 0.43 ระบุว่า การพักหนี้ กยศ. และแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 0.29 ระบุว่า ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าใช้ในประเทศ ร้อยละ 0.24 ระบุว่า กัญชาเสรี ร้อยละ 0.18 ระบุว่า นำรถเก่าแลกซื้อรถพลังไฟฟ้า และเลิกเกณฑ์ทหาร ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 0.05 ระบุว่า นำเข้าหน้ากากได้โดยไม่เสียภาษี ร้อยละ 0.08 ระบุว่า ยกเลิกการสอบ GAT PAT ร้อยละ 0.96 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ แก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ แก้ปัญหาด้านราคาน้ำมัน แก้ปัญหาการว่างงาน และจัดสรรที่ดินทำกิน ปฏิรูปด้านการศึกษา ขณะที่บางส่วนระบุว่า การส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยว และร้อยละ 0.05 ระบุว่า ไม่แน่ใจ
ท้ายที่สุด เมื่อถามประชาชนว่า จะไปเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร (ส.ส.) หรือไม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 98.13 ระบุว่า ไปแน่นอน รองลงมา ร้อยละ 0.96 ระบุว่า ไม่ไปแน่นอน และร้อยละ 0.91 ระบุว่า ไม่แน่ใจเมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 9.90 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 30.03 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 14.63 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 36.78 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 8.66 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 53.95 เป็นเพศชาย และร้อยละ 46.05 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 6.36 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 14.73 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 21.86 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 35.34 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 21.28 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 0.43 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 95.12 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.68 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.57 นับถือศาสนาคริสต์/ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 1.63 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 19.89 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 74.94 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.44 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.72 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส
ตัวอย่างร้อยละ 32.42 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.32 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.74 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.35 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.35 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าและร้อยละ 1.82 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 10.33 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.44 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.04 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 17.74 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.54 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 16.88 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.01 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.14 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 1.87 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 14.63 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 27.12 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.82 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.86 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.02 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 7.41 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.13 ไม่ระบุรายได้
https://www.youtube.com/watch?v=BeSfRgoj87g&t=141s