กรุงเทพฯ--20 ก.พ.--จ้าว ปฐพี การเกษตร
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ผนึกพลังนักวิชาการ ภาครัฐ เอกชน ภาคีเครือข่ายสังคมทุกกลุ่ม เป็นโมเดลคลังสมองของประเทศ แบ่งเบาภาระรัฐบาล หาช่องทางลดวิกฤติประเทศ
จากปัญหาราคายางพาราตกต่ำอันเนื่องมาจากปัญหาทางเศรษฐกิจ หรือความขัดแย้งของมหาอำนาจโลก คือจีนและสหรัฐ ในด้านการค้าซึ่งมีผลต่อประเทศไทยอย่างมาก โดยเฉพาะเกษตรกรชาวสวนยางและผู้รับจ้างกรีดยางกว่า 10 ล้านคน ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่อีกปัญหาหนึ่งที่รัฐบาลไทยต้องใช้เงินอุดหนุนช่วยเหลือ เพียงแบ่งเบาและลดความรุนแรงของปัญหา หลายโครงการที่รัฐบาลหาทางออกในการใช้ยางพาราไปสร้างผลิตภัณท์ใหม่ๆเพื่อให้หน่วยงานราชการใช้ภายในประเทศ เช่นสร้างถนน ก็เป็นทางออกที่ดี แต่ใช้ระยะเวลายาวนานและไม่สามารถดูดซับจำนวนยางพาราออกจากระบบในเวลาเดียวกันเพื่อกระตุ้นราคายางให้สูงขึ้น
วิธีที่จะทำให้ราคายางในไทยและอาเซียน เพิ่มขึ้น ต้องทำให้ยางพาราขาดตลาดติดต่อกันอย่างน้อย 4-5 เดือน ถ้าทำได้สภาพคล่องของการใช้ยางในประเทศจะหมดไป ผู้ส่งออกหรือผู้ที่ต้องใช้ยางพาราเพื่อผลิตสินค้าจำนวนมาก จะต้องเพิ่มเม็ดเงินลงไปในการรักษาสภาพคล่องของการผลิตและจัดส่ง ผู้ผลิตยางต่างประเทศก็ต้องขยับราคายางพาราตามกัน เมื่อราคายางพ้นขีดวิกฤติ ไทยต้องรีบทำความร่วมมือเป็นภาคีกับประเทศเพื่อนบ้านที่ปลูกยางพารา ร่วมกันกำหนดราคายางขั้นต่ำหรือกำหนดราคายาง ต่อไปจะได้ไม่มีการตัดราคาขายกันเอง ทำให้ราคายางพารายิ่งตกต่ำลงไป ทั้งที่ความต้องการตลาดโดยรวมไม่ได้ลดลงไปมากนัก เช่น ในส่วนอุตสาหกรรมผลิตยางรถยนต์ รถที่วิ่งบนถนนที่มีอายุนับ10 ปีเมื่อถึงเวลาก็ต้องเปลี่ยนยางใหม่ ยิ่งเป็นรถที่ผลิตออกมาจำหน่ายใหม่ๆยิ่งต้องใช้ยางใหม่อยู่แล้ว แค่ส่วนอุตสาหกรรมนี้ก็เห็นแล้วว่ายางพารามีแต่จะเพิ่มปริมานการใช้ ดังนั้นวิธีทำให้ยางพาราขาดตลาดในไทย
ต้องหาช่องการใช้ยางพาราอย่างรวดเร็วและเป็นประโยชนต่อประเทศที่สุดเพื่อคุ้มค่ากับงบประมานที่ลงทุน
จากการจัดประชุมทั้ง 3 ครั้ง ที่ มหาวิทยาลัยสวนสุนันทา มีนักวิชาการจากหลายมหาลัยฯ ตัวแทนจากหน่วยงานราชการ, สวทช., กระทรวงทรัพยากร,การยางแห่งประเทศไทย, ตัวแทนเกษตรกรสวนยาง ,หอการค้าจังหวัด และนักลงทุนเอกชน มีความคิดไปในแนวทางเดียวกันว่า
ปัญหาเร่งด่วนที่บางทีคนไทยทั่วไปอาจไม่ทราบ คือ ปัญหาการกัดเซาะของน้ำทะเล เช่น ปัญหาของบางขุนเทียน ที่ถูกน้ำทะเลกลืนผืนดินไปกว่า 3-4 กิโลเมตร รวมระยะทางทั่วประเทศ กว่า 700 กิโลเมตรที่เป็นดินเลน ปัจจุบันถูกน้ำทะเลกัดเซาะและทำความเสียหายเป็นมูลค่าประเมินไม่ได้ จนทุกรัฐบาลต้องบรรจุการแก้ปัญหากัดเซาะเป็นวาระแห่งชาติ
ปัจจุบันมีนักวิจัยไทยรวมกับมหาวิทยาลัยของรัฐและหน่วยงานของรัฐบาล คิดค้นและพัฒนาอุปกรณ์ที่สามารถลดปัญหาดังกล่าว และยังฟื้นฟูให้พื้นดินกลับมาเหมือนเดิมโดยใช้ธรรมชาติบำบัดธรรมชาติ จากการคิดค้นและพัฒนาเกือบ 10 ปี จนได้คำตอบ เป็นนวัตกรรมที่ภาครัฐยอมรับออกเอกสารสิทธิ์ให้หน่วยงานภาครัฐสามารถจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ หลังทดสอบเป็นเวลา6-8 ปี ปัจจุบันติดตั้งที่ชายทะเลบางปู สมุทรปราการ เพียง 4 เดือนสามารถทำให้มีการเพิ่มตะกอนดินหลังแนวติดตั้ง จากที่เดินแล้วจมดินเลน สามารถเดินบนผิวดินได้ นวัตกรรมนี้เรียกว่า "ซีออส(C-Aoss)" คือการเอายางพารามาผลิตเรียนแบบธรรมชาติคล้ายรากโกงกาง และผ่านความเห็นชอบจากหน่วยงานรัฐว่าไม่มีปัญหาสิ่งแวดล้อม สามารถเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ คงทนกว่าไม่ไผ่ที่ใช้กันอยู่ปัจจุบันแต่ไม่ตอบโจทย์การเพิ่มตะกอนดิน อีกทั้งเวลาผุพังมีส่วนที่หักจมในเลนโคลนจะเป็นอันตรายต่อชาวประมง ส่วนที่ลอยติดชายฝั่งก็เป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา แต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อดูแลการผลิต การติดตั้ง การประเมินผล โดยคนทั่วประเทศสามารถดูผลของการเพิ่มตะกอนจากมือถือ จากระบบการประมวลผลโดยสัญญาณโทรศัพทซึ่งต่อไปจะพัฒนาเป็นระบบ 5G ยิ่งร่วมตรวจสอบและติดตามการเพิ่มของผิวดินได้ตลอดเวลา จะเป็นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในการตรวจสอบการลงทุนของภาครัฐ และสามารถนำไปใช้กับหน่วยงานอื่นๆได้อย่างกว้างขวาง
"ซีออส(C-Aoss)" เป็นทางเลือกหนึ่งที่พร้อมจะสนับสนุนรัฐบาลในการแก้ปัญหาราคายางพารา เพราะตลอดแนวชายฝั่งทะเลไทยที่เป็นดินเลน ต้องใช้ยางพาราผลิตกว่า 250,000 ตัน ซึ่งสามารถดูดซับยางออกจากระบบทันทีและให้เกษตรกรชาวสวนยาง ร่วมกับโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยางของกยท. ผลิต"ซีออส(C-Aoss)" ตลอดเวลา 2-3 ปีในการติดตั้งภายในประเทศ ซึ่งราคาของนวัตกรรม"ซีออส(C-Aoss)"ที่รัฐบาลอนุมัติเป็นราคายางพาราที่ยังอยู่ในช่วงที่ราคายังสูงอยู่ ดังนั้นสามารถตั้งราคารับซื้อยางพาราเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10 บาทต่อกิโลกรัม จากราคาปัจจุบันและยังนำไปเพิ่มหลังการรับซื้อเมื่อแปรรูปแล้วอีกทอดหนึ่งทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นทั้ง 2 ทาง ปัจจุบันมีแหล่งทุนทั้งประเทศจีนที่เสนอจะเป็นผู้ลงทุนให้โดยแลกเปลี่ยนกับสินค้าเกษตรประเภทอื่นและยังมีเงินจากกลุ่มสหกรณ์ออมทรัพย์ที่ต้องการช่วยภาคเกษตรกรด้วยกัน โดยมีพันธบัตรรัฐบาลเป็นหลักประกันเพื่อความมั่นคงของการลงทุน ทั้งยังเป็นต้นแบบในการแก้ปัญหาการกัดเซาะจากภาวะโลกร้อนซึ่งทั่วโลกเผชิญอยู่ ทำให้มีโอกาสส่งออกซีออสไปทั่วโลก โดยความร่วมมือของฑูตและมหาวิทยาลัยในประเทศที่มีปัญหาการกัดเซาะเช่นเดียวกัน