กรุงเทพฯ--24 ม.ค.--ศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์
สถานการณ์ปัญหาเรื่องโรคเอดส์หากแต่ว่าบทการสะท้อนหนึ่ง แม้ว่ามีความพยายามระดมความร่วมมือทั้งภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ องค์กรชุมชน อาจนับได้ว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง โดยสามารถลดอัตราการติดเชื้อรายใหม่ลงได้เหลือประมาณ 15,000 — 20,000 คน ผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้รับการดูแลรักษาเพิ่มขึ้น แต่ในปี 2550 ยังมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มมากขึ้นกว่า 15,000 ราย รวมทั้งรายงานการสำรวจเรื่องเอชไอวีในกลุ่มสตรีอายุ 15-49 ปี ทุกภาคทั่วประเทศ จำนวน 36,960 คน จาก 40,511 ครัวเรือน โดยการสำรวจร่วมกันของ องค์การยูนิเซฟ สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า กลุ่มที่สำรวจมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องเอดส์รายภาคสูงสุดเพียง 55% เท่านั้น และยังพบว่าข้อน่าเป็นห่วงด้านสถานการณ์สิทธิด้านเอดส์ในประเทศไทยคือ
79% ตั้งข้อรังเกียจผู้ติดเชื้อไว้อย่างน้อย 1 ข้อ
65% จะไม่ซื้ออาหารที่ผู้ติดเชื้อเอชไอวีขาย
29% ครูที่ติดเชื้อเอชไอวีไม่ควรมาสอนหนังสือ
จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นดังกล่าว ยิ่งเป็นการตอกย้ำ (Re-productivity)ว่าการรณรงค์และสร้างความเข้าใจและกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินงาน ไม่เฉพาะภาครัฐเท่านั้น ภาคประชาสังคม และทุกหน่วยงานต้องมีการดำเนินงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม เพราะหากไม่เร่งรณรงค์สร้างความเข้าใจแล้ว ปัญหาที่ตามมาคือ การรังเกียจ การกีดกันผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ และยิ่งเป็นตัวบ่งชี้ความเชื่อที่ว่า “เอดส์เป็นแล้วตาย” หรือ “คนเป็นเอดส์น่ากลัว” ยังฝังแน่นอยู่ในสังคมไทย ดังนั้นรายงานสถานการณ์สิทธิด้านเอดส์จึงเป็นเครื่องมือที่สามารถสะท้อนการดำเนินงานภาคส่วนต่างๆได้ แต่เหนืออื่นใดเป็นเสมือนหนึ่งเครื่องมือในการทำงานด้านเอดส์ได้อย่างเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนเรื่องเอดส์ เป็นเสมือนหนึ่งรายงานเงาที่สะท้อนการทำงาน และสถานการณ์ในสังคมไทย เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้านต่างๆ ทั้งในประเด็นสิทธิการเข้าถึงยา การถูกเลือกปฏิบัติในการบริการ การไม่ได้รับสิทธิดังที่เป็น โดยเป็นแนวทางเชิงนโยบายและการสร้างความเข้าใจของสังคมต่อสถานการณ์สิทธิดังกล่าว ดังนั้นศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ และ คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ รวมถึงองค์กรภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องจึงจัดให้มีเวทีดังกล่าวขึ้น
ประเด็นหนึ่งที่น่ากังวลคือ การที่กลุ่มที่สังคมกล่าวว่าเป็นกลุ่มเสี่ยง(Most at risk population) คือ กลุ่มผู้ใช้ยา กลุ่มพนักงานบริการ กลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ กลุ่มเครือข่ายหลากหลายทางเพศ กลุ่มผู้หญิง เป็นต้น ซึ่งจะสะท้อนสิทธิว่าสถานการณ์ที่ถูกละเมิดนั้นเป็นอย่างไร รุนแรงเพียงไหน ผู้แทนในการนำเสนอคือ
กมล อุปแก้ว มูลนิธิรณรงค์เพื่อการรักษาเอดส์ (TTAG)
บริพัตร ดอนมอญ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย (TNP+)
กิตติพันธ์ กันจินะ เครือข่ายเยาวชนด้านเอดส์ ประเทศไทย (Youth-Net)
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา คณะทำงานเรื่องผู้หญิงในงานเอดส์
กมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย
สุรางค์ จันทร์แย้ม กลุ่มเพื่อนพนักงานบริการ (Swing)
และให้ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการจัดการสถานการณ์สิทธิมนุษยชน 2550 โดยองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนที่ดำเนินการผลักดันเชิงนโยบายอย่างต่อเนื่อง
จอน อึ๊งภากรณ์ ประธาน กป.อพช.
สมชาย หอมลออ มูลนิธิสิทธิมนุษยชนกับการพัฒนา
สมพงษ์ เจริญสุข UNAIDS ประเทศไทย
นคร ชมพูชาติ สภาทนายความ
วสันต์ พานิช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ดังนั้น จึงขอเรียนเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วม เวทีรายงานสถานการณ์สิทธิด้านเอดส์ 2550 วันศุกร์ที่ 25 มกราคม 2550 เวลา 9.00 — 15.00 น. ณ ห้องจันทราพร โรงแรมกานต์มณี กรุงเทพฯ เพื่อสะท้อนภาพปัญหาและแนวทางการดำเนินการแก้ไขที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมว่าจะสามารถดำเนินได้อย่างไร สถานการณ์ที่ภาครัฐจุดไหนที่ต้องแก้ไขจุดไหนที่อยากเน้นให้สังคมไทยได้ปรับทัศนคติสถานการณ์สิทธิด้านเอดส์
กำหนดการเวทีนำเสนอ
08.30 — 09.00 ลงทะเบียน
09.00 - 09.30 กล่าวต้อนรับโดยประธาน กพอ.
ชี้แจงวัตถุประสงค์และกำหนดการ
แนะนำตัว
09.30 — 10.30 นำเสนอร่างรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับ เอชไอวี/เอดส์ในประเทศไทยประจำปี 2550
โดย นางสาวสุภัทรา นาคะผิว
ผู้อำนวยการศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์/ประธาน กพอ.
10.30 — 10.45 พัก
10.45 — 12.00 สถานการณ์สิทธิมนุษยชนกับเอชไอวี/เอดส์ในกลุ่มเปราะบาง
โดย
กมล อุปแก้ว TTAG
บริพัตร ดอนมอญ TNP+
กิตติพันธ์ กันจินะ Youth-Net
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา คณะทำงานผู้หญิงฯ
กมลเศรษฐ์ เก่งการเรือ สมาคมฟ้าสีรุ้ง
สุรางค์ จันทร์แย้ม Swing
12.00 — 13.00 พักกลางวัน
13.00 — 14.30 ข้อเสนอแนะต่อการจัดการเรื่องสิทธิมนุษยชนกับเอชไอวี/เอดส์
โดย
จอน อึ๊งภากรณ์ ประธาน กป.อพช.
สมชาย หอมลออ มูลนิธิสิทธิมนุษยชนกับการพัฒนา
สมพงษ์ เจริญสุข UNAIDS ประเทศไทย
นคร ชมพูชาติ สภาทนายความ
วสันต์ พานิช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
14.30 — 15.00 สรุป/ปิดการประชุม
โดย นางสาวสุภัทรา นาคะผิว ประธาน กพอ.
รายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ
ปิณิดา ทองนาค 08-5824705
ศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ (CAR)
ชาญณรงค์ วงค์วิชัย 08-41477206
คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (TNCA)