กรุงเทพฯ--25 ม.ค.--หอศิลป์ตาดู
หอศิลป์ตาดู (ในเครือยนตรกิจ กรุ๊ป) ร่วมกับ โครงการศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง ในความสนับสนุนของ The Rockefeller Foundation
ขอเรียนเชิญร่วมเป็นเกียรติในการเปิดงานนิทรรศการศิลปะ นิทรรศการสัญจร โครงการศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง
เมื่อสิ่งที่เห็นไม่ใช่สิ่งที่เป็น (Underlying)
นิทรรศการงานศิลปะร่วมสมัย 4 ชาติ สายสัมพันธ์ลุ่มน้ำโขง
โดยได้รับเกียรติจาก ศ.ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย
กระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดงาน
ศิลปิน : ศิลปินทั้งหมด 20 คน จาก 4 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง
- กัมพูชา : เซกอน เล้ง, โสเพียบ พิช, วานนารา โส้ง, โสดาวี่ สูออส, รัตตานา แวนดี
- ลาว : โม่งคำ บัวลาวัณ, มาริสา ดาราสวัสดิ์, กงพัฒน์ หลวงราช, เวียงไซ พูนสนา, มิค สายลม
- เวียดนาม : ลี ทราน เควน เกียง, เหงียน หมั่น หวึก, เหงียน คร่าน เว, ลี ฮ่อง สี, บวย เดอะ ทร้าง น้าม
- ไทย : นุภัทร อาจกล้า, ปราโมทย์ แสงศร, สุชาดา สิริธนาวุฒิ, พิม สุทธิคำ, บัญชา สุริยบูรพกูล
จัดแสดง : 6 กุมภาพันธ์ — 5 มีนาคม 2550 , 9.00 — 18.00 น.
เปิดนิทรรศการ วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป
ณ หอศิลป์ตาดู ชั้น 7 อาคารบาร์เซโลน่า มอเตอร์ ถ. เทียมร่วมมิตร
แม่เดียวกัน “ แม่น้ำโขง ”
โครงการศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขงจัดแสดงผลงานศิลปะของศิลปินที่โดดเด่น 20 คนจาก 4 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ในนิทรรศการสัญจรชื่อ เมื่อสิ่งที่เห็นไม่ใช้สิ่งที่เป็น (Underlying) โดยการทำงานร่วมกันของภัณฑารักษ์รุ่นใหม่ 4 คน จาก กัมพูชา ลาว เวียดนาม และไทย ในประเทศไทยจะจัดแสดง ณ หอศิลป์ตาดู อาคารบาร์เซโลน่า มอเตอร์ ชั้น 7 ถ.เทียมร่วมมิตร กทม. โดยจะจัดแสดงตั้งแต่วันจันทร์-เสาร์ เวลา 09.00-18.00 น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
ระหว่างวันที่ 7 กุมภาพันธ์ — 5 มีนาคม 2551 (พิธีเปิด วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 18.00น.) ภายในนิทรรศการจะมีการจัดแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัยในรูปแบบที่หลากหลาย อาทิ จิตรกรรม ประติมากรรม ศิลปะเครื่องเคลือบดินเผา ศิลปะภาพพิมพ์ไม้ ศิลปะภาพถ่าย วิดีทัศน์ ศิลปะจัดวาง
เมื่อสิ่งที่เห็นไม่ใช่สิ่งที่เป็น
นิทรรศการ ‘เมื่อสิ่งที่เห็นไม่ใช่สิ่งที่เป็น’ ไม่เพียงนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ที่มีลักษณะเฉพาะของศิลปินในภูมิภาคนี้ แต่นิทรรศการ นี้ยังเป็นผลงานจากการทำงานร่วมกันของภัณฑารักษ์ที่มีความแตกต่างทั้งในด้านภาษา และภูมิหลังทางสังคมและวัฒนธรรม จึงเป็น งานที่ท้าทายความสามารถ ซึ่งทั้ง 4 คนได้เลือกสรรแนวคิดหลักในการนำเสนอผลงานร่วมกัน คือ ‘เมื่อสิ่งที่เห็นไม่ใช้สิ่งที่เป็น’ (Underlying) ภายใต้แนวคิดหลักนี้ภัณฑารักษ์แต่คนได้ตีความ และเลือกสรรผลงานศิลปะตามการตีความของตัวเอง
กัมพูชา ก้อง วัลลัค (Kong Vollak) นำเสนอผลงาน ศิลปะจากประเทศกัมพูชา ในหัวข้อ ‘ความหมายของถนนชีวิต’ (The Underlying of The Road) ผ่านมุมมอง ที่ว่าถนน อาจมิได้หมายถึงสาธารณูปโภคที่จับต้องได้อย่างเดียว แต่หมายถึงเส้นทางความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ การติดต่อสื่อสาร ที่ประเทศของเขายังมีความต้องการเพื่อการพัฒนาประเทศ
เวียดนาม ถูกนำเสนอในหัวข้อ ‘จุดที่บรรจบกันของธารน้ำ (Where the rivers meet) โดยภัณฑารักษ เลอ หงอก ธาน (Le Ngoc Thanh) ต้องการแสดงให้เห็นว่า การพัฒนาศิลปะร่วมสมัยในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาในประเทศเวียดนาม เป็นช่วงเวลาที่สังคมเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาอย่างมาก ส่งผลให้ศิลปะมีความก้าวหน้ามากขึ้นด้วย
ลาว มิสุดา หงสุขกุล (Misouda Heuangsoukkhoun) ภัณฑารักษ์ ได้นำเสนอหัวข้อ
‘ณ อีกมุมมองของทุกสิ่ง’ (Imagine: everything can be different) เพื่อเรียกร้องให้ผู้ชม มองผลงานสร้างสรรค์จากประเทศของเธอให้ลึกกว่าที่เคย ศิลปะร่วมสมัยของลาวมีรูปแบบที่เรียบง่ายตาม ลักษณะของท้องถิ่น แต่สะท้อนความหลากหลายด้านเนี้อหาของชีวิตผู้คนและสังคมในประเทศนี้ได้อย่างดี
ไทย นำเสนอแนวคิดในหัวข้อ ‘ไม่เห็น.. หรือ ไม่มอง’ (Blind Spot)
ภัณฑารักษ์โดย : เพ็ญวดี นพเกตุ มาโนช
ศิลปิน : ปราโมทย์ แสงศร, นภัทร อาจกล้า, สุชาดา ศิริธนาวุฒิ, พิม สุทธิคำ, บัญชา สุริยบูรพกูล
ผลงานศิลปะ ที่เธอเสนออาจเชื้อเชิญผู้ชมให้ทำความเข้าใจในเรื่องที่ละเอียดอ่อนให้ถ่องแท้
แสดงผลงาน ณ หอศิลป์ตาดู 6 กุมภาพันธ์ — 5 มีนาคม 2551
เปิดนิทรรศการวันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 18.00 — 21.00 น.
กิจกรรมเสวนาเพื่อการศึกษากิจกรรมที่ 1
หัวข้อ: ‘นโยบายในงานศิลปะ - ระหว่างศิลปะการแบ่งปันและศิลปะการแสดงออก’
(เสวนาด้วยภาษาไทย และมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษ)
สถานที่: ห้องประชุม สถาบันเกอเธ่
วัน เวลา: 7 กุมภาพันธ์ 2551 10:00-16:00
กรุณาโทร เพื่อสำรองที่นั่งไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น
การเสวนานี้เป็นส่วนหนึ่งของสองนิทรรศการ ได้แก่ ARTSPACE GERMANY โดย ifa และ UNDERLYING โดย โครงการศิลปะและวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง
เสวนานี้จะเเบ่งออกเป็นสองส่วน โดยส่วนแรกของการเสวนานี้จะเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และการแบ่งปันทางวัฒนธรรม ระหว่างงานศิลปะข้ามพรมแดนเชิงภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม ผู้เข้าร่วมเสวนาได้แก่ อารยา ราษฎร์จำเจริญสุข, สมยศ หาญอนนันทสุข, สุทธิรัตน์ ศุถปริญญา, และ วศินบุรี สุพานิชวรราชน์ โดยมี จักรพันธ์ วิลาสินีกุล เป็นผู้ดำเนินรายการ
ส่วนที่สองของการเสวนา จะเป็นการตั้งคำถามเกี่ยวกับองค์ประกอบการสร้างนิทรรศการศิลปะ เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านการเมือง ผู้เข้าร่วมเสวนาได้แก่ Dr. Ursula Zeller (ifa) และ ศ.ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ โดยมี ดร. สายันต์ แดงกลม เป็นผู้ดำเนินรายการ
กิจกรรมเสวนาเพื่อการศึกษากิจกรรมที่ 2
เสวนาระหว่างศิลปิน และภัณฑรักษ์
สถานที่: หอศิลป์ตาดู อาคารบาร์เซโลน่า มอเตอร์ ชั้น 7 ถ.เทียมร่วมมิตร กทม.
วัน เวลา: 9 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา 16.00-1800น.
ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆไทั้งสิ้น
ทางคณะผู้จัดร่วมกับหอศิลป์ตาดู ได้จัดการเสวนาเพื่อเป็นการให้การศึกษาและอธิบายเนื้อหาใจความสำคัญหลัก และการตีความหัวข้อจากศิลปินไทยที่นำเสนอผลงาน รวมทั้งรับฟังประสบการณ์ของภัณฑรักษ์ไทย ในกระบวนการจัดนิทรรศการร่วมครั้งนี้
รายละเอียดเพิ่มเติม
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.mekongart.org หรือติดต่อ
1. ข้อมูลเกี่ยวกับนิทรรศการกรุณาติดต่อ
น.ส. สมรัก ศิลา
โทร. 02 225 3617, 089 926 5474
Email: Somrak@mekongart.org
2. ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมเสวนาเพื่อการศึกษากรุณาติดต่อ
ดร.เตยงาม คุปตะบุตร
โทร. 02 225 3617, 086 506 9815
Email: toeingam@mekongart.org
หอศิลป์ตาดู (ในเครือยนตรกิจ กรุ๊ป)
ชั้น 7 อาคารบาเซโลนา มอเตอร์ ถ.เทียมร่วมมิตร
เวลาทำการ 9.00 — 18.00 น. วันจันทร์ — เสาร์
ปิดวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
โทร. 02-6452461 / 02-6452473
แฟกซ์ 02-6452460 / 02-6452473
อีเมล : tadunews@yahoo.com /
taduart@tadu.net/ www.tadu.net
www.myspace.com/taducontemporaryart