NIDA Poll เกาะติดสถานการณ์ การเลือกตั้ง 2562 โค้งสุดท้าย

ข่าวทั่วไป Wednesday March 13, 2019 17:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--13 มี.ค.--นิด้าโพล ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลบางส่วนของการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "เกาะติดสถานการณ์ การเลือกตั้ง 2562 โค้งสุดท้าย" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 8 – 11 มีนาคม 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,548 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเกาะติดสถานการณ์ การเลือกตั้ง 2562 โค้งสุดท้าย การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0 จากการสำรวจเมื่อถามถึงนโยบายที่สำคัญและเร่งด่วนที่สุดที่ประชาชนอยากเห็นจากรัฐบาลชุดใหม่ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.34 ระบุว่า เพิ่มราคาสินค้าพืชผลการเกษตร รองลงมา ร้อยละ 33.13 ระบุว่า เพิ่มรายได้เกษตรกร ร้อยละ 26.69 ระบุว่า เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ ร้อยละ 15.04 ระบุว่า เพิ่มเบี้ยยังชีพผู้มีรายได้น้อย ร้อยละ 12.73 ระบุว่า แก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน ร้อยละ 9.23 ระบุว่า เพิ่มเงินช่วยเหลือผู้สูงอายุ ร้อยละ 8.75 ระบุว่า ปราบปรามยาเสพติด ร้อยละ 4.42 ระบุว่า เพิ่มสิทธิประโยชน์โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค ร้อยละ 4.26 ระบุว่า ขยายการเรียนฟรีให้สูงขึ้น ร้อยละ 3.30 ระบุว่า แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ ร้อยละ 2.86 ระบุว่า สร้างระบบคมนาคมขนส่งที่ปราศจากมลพิษ ร้อยละ 2.07 ระบุว่า โครงการด้านที่อยู่อาศัย ร้อยละ 1.35 ระบุว่า แก้ปัญหาด้านพลังงาน ร้อยละ 1.27 ระบุว่า พัฒนาเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนใต้/แก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 1.07 ระบุว่า สนับสนุนเทคโนโลยีให้กับ SMEs/Start Up ร้อยละ 0.72 ระบุว่า เงินสนับสนุนการเลี้ยงดูบุตร และแก้ปัญหาหนี้ กยศ. ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 0.56 ระบุว่า นโยบายด้านกัญชา ร้อยละ 1.55 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ สร้างความสามัคคีปรองดองให้กับคนในชาติ ปฏิรูปในด้านต่าง ๆ เช่น ปฏิรูปด้านการศึกษา ปฏิรูปองค์กรตำรวจ ปฏิรูปศาสนา รวมถึงส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยว และสนับสนุนการส่งออก และร้อยละ 0.36 ระบุว่า ไม่ระบุ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.95 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.66 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.37 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.48 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.54 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 53.57 เป็นเพศชาย ร้อยละ 46.35 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 6.04 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 14.68 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 21.27 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 35.44 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 22.10 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 0.47 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 94.03 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.65 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.71 นับถือศาสนาคริสต์/ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 1.61 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 18.72 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 76.65 สมรสแล้ว ร้อยละ 2.75 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.88 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 32.89 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 27.63 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.06 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.10 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.08 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 2.24 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 10.24 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.64 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.80 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 17.54 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.11 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 16.60 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.75 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 2.32 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 13.93 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 25.78 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.63 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 11.70 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.53 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 7.61 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.81 ไม่ระบุรายได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ