ผู้ให้บริการโทรคมนาคมฝ่าฟันยุคเทคโนโลยี x.0 เน้นความสมดุลระหว่างการให้บริการนวัติกรรมใหม่ และ บรรลุเป้าหมายด้านการเงิน

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday January 29, 2008 11:08 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 ม.ค.--ไอดีซี
ไอดีซีคาดการณ์เกี่ยวกับ แนวโน้มด้านโทรคมนาคม 10 อันดับที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไม่รวม ประเทศญี่ปุ่น สำหรับปี 2008...
สิงคโปร์และฮ่องกง 18-มกราคม 2551 สืบเนื่องจากงานวิจัยของ ไอดีซี ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยกเว้นประเทศญี่ปุ่น เกี่ยวกับ 10 อันดับแนวโน้มทีสำคัญด้านตลาดโทรคมนาคมปี พ.ศ 2551 ซึ่งคาดว่าในปี พ.ศ 2551 จะเป็น ปีที่ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมยังคงทดลองเกี่ยวกับการทำธุรกิจใหม่ๆ ในหลากหลายรูปแบบ เพื่อที่จะสามารถ หาจุดลงตัวที่ดีที่สุดในการปกป้องตลาดของตนเองและธุรกิจให้เติบโตต่อไปได้
“ความชื่นชอบของกลุ่มผู้ให้บริการด้านสื่อต่างๆ และผู้ใช้งานในองค์กรเกี่ยวกับการให้บริการโซลูชั่นด้านโทรคมนาคม แบบครบวงจรยังคงมีความแตกต่างสำหรับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในช่วงระยเวลา 2-3 ปี ที่ผ่านมา ด้วยเป้าหมายหลักเพื่อต้องการเป็นผู้นำตลาด ผู้ให้บริการโทรคมนาคมยังคงทดลองวิธีการทำตลาดในรูป แบบใหม่ๆ ที่มีความหลากหลาย การสร้างความสัมพันธ์เชิงคู่ค้า การพัฒนาโซลูชั่นใหม่ๆ และแผนงานการลงทุน ด้านเครือข่าย อย่างไรก็ดีใช่ว่าการทดลองทั้งหมดนี้จะสร้างผลกำไรกลับคืนมาให้กับผู้ประกอบการได้ทันที จากเหตุ ผลดังกล่าว ผู้ให้บริการโทรคมนาคมกำลังประสบกับความกดดันที่จะต้องหาจุดลงตัวที่ดีที่สุดในการสร้างนวัติกรรม ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องและก็ต้องมั่นใจว่าจะได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาในระยะเวลาอันสั้นจากการให้บริการที่สร้าง กำไรสูงสุด” กล่าวโดย แซนดร้า อึ้ง รองประธานแผนกวิจัยด้านการติดต่อสื่อสาร อุปกรณ์ต่อพ่วง บริการด้านไอที และ บริการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ๆ
ตลาดของการให้บริการด้านโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไม่รวมประเทศญี่ปุ่น มีมูลค่ามากกว่า 215 พันล้าน เหรียญสหรัฐฯ ในปี พ.ศ 2550 เมื่อมองในด้านโครงสร้างพื้นฐาน พบว่าการใช้จ่ายด้านอุปกรณ์เครือข่ายมีอัตราการ เติบโตร้อยละ 13 หรือคิดเป็นมูลค่าราว 6.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในขณะที่การลงทุนด้านโครงข่ายของผู้ให้ บริการโทรคมนาคมมีมูลค่าไม่แตกต่างจากปี 2549 อยู่ที่ราว 32 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คาดว่าการเติบโตของการ ใช้บริการบรอดแบนด์ บริการผ่านโครงข่ายไอพีและบริการ 3G และความต้องการใช้โซลูชั่นโทรคมนาคมแบบครบ วงจรจะเป็นตัวขับเคลื่อนตลาดบริการและอุปกรณ์โทรคมนาคมในปี 2551
จากข้อมูลการวิจัยล่าสุดของไอดีซี และจากการวิเคราะห์ร่วมกันของนักวิเคราะห์ในแต่ละประเทศกับนักวิเคราะห์ ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ได้สรุปถึงแนวโน้ม 10 อันดับที่สำคัญด้านโทรคมนาคมที่กำลังจะเกิดขึ้นในปี พ.ศ 2551 ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะแสดงถึงแนวโน้มที่สำคัญไม่ว่าผลกระทบเกี่ยวกับฐานะทางการเงินหรือผลกระทบระยะยาวต่อ ตลาดโทรคมนาคมทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนี้
การคาดการณ์ 10 แนวโน้มที่สำคัญด้านโทรคมนาคมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกโดย ไอดีซี ในปี พ.ศ. 2551
1 การใช้งานด้านมัลติมีเดียจะมีความสมจริงมากขึ้นด้วยเทคโนโลยี 802.11 n
คาดว่าการใช้ WLAN ในระดับองค์กรจะเริ่มเป็นรูปร่างและสมจริงมากยิ่งขึ้น เมื่อเทคโนโลยี 802.11n ได้รับการ อนุมัติให้เป็นมาตรฐานในการรับส่งข้อมูลสำหรับการติดต่อสื่อสารไร้สายในปี พ.ศ 2551 ด้วยมาตรฐานใหม่ของ เทคโนโลยี 802.11 n จะช่วยแก้ปัญหาหรือขจัดอุปสรรคที่บริษัทขนาดใหญ่ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ประสบปัญหาจากการ ใช้เครือข่ายไร้สายสามารถติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายและรองรับการใช้งานได้ครอบคลุมมากขึ้น นอกจากนี้ไม่ว่า จะเป็นเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีกว่า การมีแบนด์วิธและพื้นที่ครอบคลุมมากขึ้นนั้น เทคโนโลยี 802.11 n จะช่วยทำให้การรับส่งข้อมูลเป็นไปอย่างราบรื่นสำหรับการใช้งานแอพพลิเคชั่นผ่านเครือข่ายไร้สายมีความสมจริง มากขึ้น เช่น ปัญหาการเชื่อมโยงของเครือข่ายที่ใช้ระบบสายเคเบิ้ลกับเครือข่ายไร้สายก็สามารถแก้ไขด้วยเทคโนโลยี นี้ ด้วยจุดเด่นของเทคโนโลยีนี้ ไอดีซีคาดว่า จะมีการนำแอพลิเคชั่นในกลุ่มมัลติมีเดียมาใช้งานในองค์กรมากขึ้น เช่น การประชุมทางไกลผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เร้น ไอพีทีวี วีดีโอออนดีมานด์ มัลติรูมวี ดีอาร์ และ บริการเสียงผ่าน เครือข่ายไร้สาย (Voice over WLAN)
2. การให้บริการสตรีมมิ่ง — แหล่งทำเงินของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
ดาต้าสตรีมมิ่งนั้นเป็นระบบที่มีการให้บริการมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ทว่า การแสดงผลของมันผ่านโครงข่าย GRPS และ ระบบ 3G นั้น ยังช้ามากและไม่มีประสิทธิภาพมากเท่าใดนัก การมาใหม่ของเทคโนโลยี HSDPA จะช่วยสร้างชีวิต ใหม่ๆ เข้าสู่การรับฟังเพลงหรือการรับชมวีดีโอระบบสตรีมมิ่ง ด้วยความเร็วในการรับส่งข้อมูล 3.6 เมกะบิตส์ต่อวินาที หรือมากกว่านั้น นอกจากนี้เทคโนโลยีนี้ยังทำให้การรับชมโทรทัศน์ผ่านโทรศัพท์มือถือมีความสมจริงมากขึ้นอีกด้วย การให้บริการสตรีมมิ่งนี้คาดว่าจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตราบเท่าที่มีวิธีการคิดค่าบริการ ไม่ยุ่งยากและมีเนื้อหาที่น่าสนใจ
3. โอกาสทางการตลาดสำหรับโครงข่ายหลักของโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ใช้ไอพีทั้งหมด
สำหรับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบกิจการ 3G และกำลังมองหาการให้บริการเกี่ยว กับการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายไร้สายใหม่ๆ คาดว่าผู้ให้บริการเหล่านี้จะเคลื่อนย้ายโครงข่ายหรือบริการของตนเอง ไม่ว่าจะเป็น Mobile Switching Center, Base-station Controllers, ระบบการให้บริการลูกค้าและระบบบิลลิ่ง SMS (Short Messaging Service) และบริการเสริมด้านเสียงประเภทอื่นๆ ไปใช้เทคโนโลยีไอพีทั้งหมด ทั้งนี้หาก โครงข่ายหลักของโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นเทคโนโลยีไอพีทั้งหมด จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผู้ประกอบการในการที่ จะเพิ่มแบนด์วิธให้แก่แอพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่ต้องการแบนด์วิธสูงๆ ขณะเดียวกันผู้ประกอบการก็ยังสามารถเตรียมการ เพื่อรองรับเครือข่าย 4G พร้อมกันอีกด้วย ไอดีซี คาดว่าผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวนมากในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิกนี้จะมีการย้ายระบบเครือข่ายหลักไปเป็นเทคโนโลยีไอพีทั้งหมดในปี พ.ศ. 2551
4. การสร้างพื้นที่การขายผ่านทางมือถือ บทบาทใหม่ของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
การกำเนิด HSDPA ประกอบกับความนิยม ของ บลอกกิ้ง การใช้วีดีโอแชร์ริ่ง หรือ การสร้างสังคมในเครือข่าย ในโลกแห่งความเป็นจริง เช่น YouTube และ Facebook จะช่วยสร้างโอกาสให้กับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ๆ ที่มีแอพลิเคชั่นที่สามารถใช้ WEB 2.0 ได้ จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้มือถือเป็น อุปกรณ์lสื่อสารสำหรับสังคมเครือข่ายของเขาได้ เมื่อผู้ใช้งานเริ่มรู้สึกสะดวกสบายและถูกกระตุ้นให้ใช้มือถือของเขา เป็นตัวเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ผู้ให้บริการก็จะได้รับประโยชน์จากปริมาณการใช้งานด้านการรับส่งข้อมูลของลูกค้าที่ เพิ่มมากขึ้น ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แทบจะทั้งหมดในเอเชียต่างตระหนักถึงการพัฒนาบริการที่แปลกใหม่ จะมี ส่วนช่วยสร้างรายได้ใหม่ๆ ให้กับเขาได้ จากเหตุผลดังกล่าว ไอดีซี คาดว่าผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะตื่นตัว กับการพัฒนาและผลักดันในเรื่องของแอพลิเคชั่น 2.0 สำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในปี พ.ศ 2551
5. โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ยังมีอยู่ในแต่ละประเภทธุรกิจ
เป็นที่ทราบดีกันอยู่แล้วว่า การให้บริการแบบเฉพาะหรือตอบสนองเพื่อให้เข้ากับความต้องการที่เฉพาะของลูกค้า แต่ละประเภทนั้นจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับบริการ ดังจะเห็นได้จากอุตสาหกรรมโทรคมนาคมได้ให้ความสนใจต่อ การให้บริการหรือมีโซลูชั่นที่เฉพาะทางเหมาะสมตามสภาพหรือความต้องการของลูกค้าในธุรกิจแต่ละประเภท ด้วย ปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้บริโภค รายรับที่เพิ่มขึ้น การที่มนุษย์มีชีวิตที่ยืนยาว หรือตัวแปรด้านเศรษฐกิจมหภาค เป็นเพียงเหตุผลบางอย่างที่ทำให้ไอดีซีเชื่อมั่นว่าในอีก 2-3 ปีข้างหน้าธุรกิจเกี่ยวกับเกมส์ ศูนย์ดูแลสุขภาพ โรงพยาบาล บริการเอาท์ซอร์ทต่างๆ และ ค้าปลีกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพในการใช้จ่าย สำหรับผู้ให้ บริการโทรคมนาคม
6. การบริการด้านการติดต่อสื่อสารมุ่งไปสู่การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ไม่ใช่เฉพาะแค่เรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ต้องตระหนักถึง หน่วยงานผู้ให้บริการด้านการติดต่อสื่อสารยังคำนึงถึงการ เติบโตของธุรกิจไปพร้อมๆ กันด้วย สำหรับ องค์กรต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียนแปซิฟิก เหตุผลสำคัญในด้านต่างๆ ที่ ผลักดันให้ผู้จัดการด้านไอทีต้องนำเรื่อง “กรีนไอที” มาประยุกต์ใช้ในองค์กร อาทิเช่น การใช้จ่ายด้านไอทีขององค์กร ที่ตระหนักถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง และ บทบาทขององค์กรที่แสดงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย ไอดีซีคาดว่าการควบรวม (Consolidation) ระบบเซิฟเวอร์และดาต้าเซ็นเตอร์เข้าด้วยกันจะเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญ ที่องค์กรต่างๆ กำลังรณรงค์ในเรื่องการช่วยลดภาวะโลกร้อนจากการใช้ไอที ไอดีซียังเชื่อว่าสิ่งนี้ยังเป็นแค่เพียง จุดเริ่มต้นเท่านั้น องค์กรต่างๆ จะถูกกดดันมากขึ้นจากหุ้นส่วนธุรกิจหรือผู้ค้าที่จะต้องนำเสนอโซลูชั่นที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่ใช่เฉพาะแค่มีวัตถุประสงค์ให้บรรลุในข้อตกลงหรือสัญญาต่างๆ เกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม แต่ยังรวมไปถึงการตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งวแวดล้อมอย่างแท้จริงอีกด้วย ซึ่งไอดีซีคาดว่าจะมีความคิดริเริ่มเกี่ยว กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านไอทีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นไป
7. บริการโทรศัพท์พื้นฐานไร้สาย (WLL) เหมือนแมวเก้าชีวิต
จากสัดส่วนการใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐานที่ยังคงต่ำในแถบประเทศที่ยังมีประชาการหนาแน่น เช่น บังคลาเทศ กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และ เวียดนาม ทั้งๆ ที่ประเทศเหล่านี้ก็ประสบความสำเร็จของการให้บริการ โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบจีเอสเอ็ม (GSM) แต่ก็ยังคงมีความต้องการจากประชาชนอีกจำนวนมากที่จะขอใช้บริการ โทรศัพท์พื้นฐานไร้สาย (Wireless Local Loop - WLL) เนื่องจากอัตราค่าบริการสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นโดยปกติ มีราคาแพเกินกว่าที่พวกเขาเหล่านั้นจะสามารถใช้บริการได้ ไอดีซีเชื่อว่า เราจะเห็นบริการโทรศัพท์พื้นฐานไร้สาย (WLL) จะยังคงได้รับความนิยมต่อไปในบางประเทศ เนื่องจากผู้ให้บริการจะใช้เทคโนโลยีนี้นำเสนอบริการโทรได้ แบบไม่จำกัดซึ่งจะมีลักษณะของการให้บริการคล้ายคลึงกับโทรศัพท์บ้าน
8. รู้สึกมั่นใจด้วยระบบกล้องรักษาความปลอดภัยผ่านเครือข่ายไอพี
การติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยผ่านเครือข่ายไอพี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งสำหรับแผนรักษาความปลอดภัยในโอลิมปิก เกมส์ที่ กรุงปักกิ่ง ทำให้ปี พ.ศ 2551 กลายเป็นปีที่ประสบความสำเร็จสำหรับตลาดระบบรักษาความปลอดภัย ผ่านเครือข่ายไอพี ไอดีซีคาดว่า ในไม่ช้าระบบดังกล่าวจะเป็นที่ยอมรับจากอุตสาหกรรม หรือธุรกิจประเภทอื่นๆ เนื่องจาการเพิ่มขึ้นของการระมัดระวังในด้านความปลอดภัยประกอบกับการที่ระบบดังกล่าว มีต้นทุนที่คุ้มค่า ซึ่ง เทคโนโลยีล่าสุดนี้จะเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในธุรกิจหลายประเภทไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจเกมส์ออนไลน์ ธุรกิจบริการ ด้านการเงินและอุตสาหกรรมค้าปลีก เนื่องจากระบบรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับรูปพรรณสัณฐานของมนุษย์เป็น เรื่องสำคัญอันดับแรกสำหรับกลุ่มธุรกิจเหล่านี้
9. การประสานกันของสองเทคโนโลยี Unified Communications (UC) และ WEB 2.0 จะช่วยเร่งให้เกิดการใช้งาน ด้านการติดต่อสื่อสารให้แก่องค์กรมากขึ้น
เนื่องจากช่องว่างในการสื่อสารระหว่างบุคคลกับองค์กรธุรกิจนั้น เริ่มแคบลงเรื่อยๆ มีเรื่องที่กำลังอยู่ในความสนใจ เกี่ยวกับโซลูชั่น UC และ WEB 2.0 สำหรับการใช้งานในองค์กรต่างๆ ไอดีซี เชื่อว่า ในปี พ.ศ. 2551 องค์กรต่างๆ จะใช้แอพพลิชั่น UC ก้าวหน้าไปมากกว่าการใช้งานในปัจจุบัน และเริ่มที่จะนำเทคโนโลยี WEB 2.0 มาเป็นส่วนหนึ่ง ของแอพพลิเคชั่นนี้ รวมไปถึงการเพิ่มแอพพลิเคชั่นด้านการวิเคราะห์กลุ่มลูกค้า หรือการค้นหากลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ใหม่ๆ เป็นต้น อาจจะกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่า การนำแอพพลิเคชั่น UC และ WEB2.0 มาใช้งานในองค์กรต่างๆ นั้น เป็นผลมาจากการแสดง หรือยืนยันตัวตนที่แน่นอน (constant presence) ข้อมูลและช่องทางในการติดต่อสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และรวมถึงรวมเป็นส่วนหนึ่งกับขั้นตอนในการทำงาน ไอดีซีคาดว่า ในปี พ.ศ. 2551 จะเป็นปีที่ซึ่งบริการหรือเทคโนโลยีเหล่านี้ได้รับการผลักดันอย่างแท้จริงจากองค์กรต่างๆ ที่จะนำมาประยุกต์ใช้งาน
10. เรื่องเล่าของ 2 เทคโนโลยี HSPA สำหรับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ 3G กับ Mobile WiMAX สำหรับผู้ ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ 2G และผู้ให้บริการโทรคมนาคมประเภทสาย
ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกไม่รวมประเทศญี่ปุ่นนี้ ประกอบไปด้วย ประเทศที่มีอัตราการใช้บริการอินเตอร์เน็ตบรอด แบนด์ในครัวเรือนตั้งแต่ระดับกลางจนถึงสูง แต่ก็ยังคงมีครัวเรือนส่วนใหญ่ที่ถูกตัดขาด ไม่สามารถเข้าถึงอินเตอร์ เน็ตหรือแม้แต่การเชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์แบบเดิม (POTS) ก็ยังไม่ได้ เทคโนโลยีบรอดแบนด์แบบไร้สายเป็นวิธี แก้ไขปัญหาที่คุ้มค่าต่อการลงทุน ซึ่งจะตอบโจทย์ในเรื่องของความต้องการการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตในประเทศ เหล่านั้น ไอดีซีคาดว่า เทคโนโลยี WiMAX และ HSDPA จะทำงานร่วมกันและจะแข่งขันกันเพื่อสร้างส่วนแบ่งทาง การตลาดเฉพาะตลาดบรอดแบนด์ทั้งประเภทสายและประเภทโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้งนี้ เทคโนโลยี HSPDA คาดว่า จะเป็นผู้ชนะสำหรับบรอดแบนด์ผ่านมือถือ ในกลุ่มผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภท 3G ขณะที่เทคโนโลยี WiMAX คาดว่า จะสามารถเป็นผู้นำในกลุ่มผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภท 2G สำหรับบรอดแบนด์ผ่านมือถือ และการให้บริการบรอดแบนด์ประจำที่สำหรับผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน
สอบถามข้อมูลหรือต้องการซื้อรายงานดังกล่าวข้างต้นกรุณาติดต่อคุณภาวดี พงศ์สุพรรณ ที่หมายเลข +662-651-5585 ต่อ 111หรืออีเมลล์มาที่ phawadee@idc.com
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
คุณศศิธร แซ่เอี้ยว
ที่หมายเลข 662-651-5585 ต่อ 113
Email: sasithorn@idc.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ