PRP หรือ PLATELET RICH PLASMA

ข่าวทั่วไป Wednesday March 27, 2019 15:32 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--27 มี.ค.--โรงพยาบาลเวิล์ดเมดิคอล PRP หรือ PLATELET RICH PLASMA คือ การสกัดเอาเกล็ดเลือดส่วนที่เป็นของเหลวหรือน้ำเลือด ( Plasma ) ซึ่งอุดมไปด้วยเกร็ดเลือด ( Platelet ) มีโปรตีนและเซลล์จากกระแสเลือดเข้มข้น ใช้ในการรักษา ซ่อมแซมข้อต่อ เนื้อเยื่ออ่อน เอ็น หรือกล้ามเนื้อ ที่มีอาการบาดเจ็บและอักเสบ เสื่อม เรื้อรัง รวมไปถึงการบาดเจ็บของระบบโครงสร้างมนุษย์ อาทิ เอ็น กล้ามเนื้อ กระดูก กระดูกอ่อน โดยวิธีฉีด PRP เข้าสู่จุดที่มีการบาดเจ็บ จะช่วยลดอาการบาดเจ็บ กระตุ้นกระบวนการในสมานแผลของร่างกายมนุษย์เร็วขึ้น และยังช่วยให้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ข้อสำคัญ คือ ไม่อันตรายเนื่องจากเป็นส่วนประกอบจากเลือดของผู้ป่วยเอง อาการบาดเจ็บที่รักษาโดยการฉีด PRP 1. บาดเจ็บเรื้อรัง Chronic Tendon Injuries เช่น เอ็นข้อศอกด้านนอก , เอ็นหน้าเข่า , เอ็นร้อยหวาย , รองช้ำ , เอ็นขาหนีบ , เอ็นสะโพก 2. การบาดเจ็บของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ แบบฉับพลัน เช่น กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง ( มักพบในนักกีฬาฟุตบอล กล้ามเนื้อน่อง , กล้ามเนื้อต้นขานอก ) 3. กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกเสื่อม 4. ข้อเข่าเสื่อม 5. การผ่าตัดบางชนิด เช่น การผ่าตัดซ่อมเอ็นหัวไหล่ เป็นต้น การบาดเจ็บส่วนเอ็น ที่สามารถรักษาโดยการฉีด PRP - เอ็นอักเสบ ที่ข้อศอกด้านนอก Tennis Elbow ( Common Extensor Tendinosis ) - เอ็นหน้าเข่าอักเสบ Jumper's Knee ( Patellar Tendinosis ) - เอ็นร้อยหวายอักเสบ Achilles Tendinosis - รองช้ำ Plantar Fasciitis - เอ็นอักเสบ ที่ข้อศอกด้านนอก Tennis Elbow ( Common Extensor Tendinosis ) - เอ็นอักเสบ ที่ข้อศอก - เอ็นอักเสบข้อพับเข่าด้านหลัง Hamstring Tendons - เอ็นอักเสบขาหนีบ Adductor Tendons - เอ็นอักเสบสะโพก Gluteal Tendons ข้อจำกัดในการฉีด PRP - ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง, ติดเชื้อ, โรคผิวหนังบางประเภท - โรคการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ - คนไข้ที่กินยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด - โลหิตจาง - ตั้งครรภ์ ขั้นตอนในการเตรียมตัวการเตรียมตัวมาฉีดคือ พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ โดยใช้เวลาประมาณ 20 นาที ผลข้างเคียงค่อนข้างน้อยถึงแทบจะไม่มีเลย เนื่องจากเป็นเลือดของตัวเอง ซึ่งมีข้อระวังอยู่ว่าถ้าเกิดอาการป่วยอยู่ขอให้รักษาหายดีก่อนเพราะอาจจะมีเชื้อโรคอยู่ในกระแสเลือดเนื่องจากเป็นเลือดของเราเอง ทั้งนี้การฉีดเกร็ดเลือดกับการฉีดยามีความแตกต่างกัน คือหากเป็นการรักษาโดยฉีดยาจะเป็นการรักษาแบบปลายเหตุ ช่วยลดแค่อาการหรือบรรเทาลง แต่ถ้าเป็นการฉีดเกร็ดเลือดจะเป็นการรักษาแบบต้นเหตุเพราะเนื่องจากเกร็ดเลือดนั้นจะช่วยไปสมานแผลและซ่อมแซมกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นที่บาดเจ็บได้ บทความโดย : นายแพทย์ วรายศ ตราฐิติพันธุ์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล ถนนแจ้งวัฒนะ
แท็ก โปรตีน   เซลล์   map  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ