กรุงเทพฯ--29 มี.ค.--เดอะ เรด คอมมูนิเคชั่น
นายนัฐวุธ พิริยะจิตตะ ผู้อำนวยการฝ่ายบำรุงรักษาเครื่องกล การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวถึงหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานบำรุงรักษาเครื่องกลว่า หน่วยงานนี้มีหน้าที่ในการซ่อมบำรุงรักษาด้านเครื่องกลให้กับโรงไฟฟ้า กฟผ. และโรงไฟฟ้าหรือกลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องในประเทศ-ต่างประเทศ โดยต้องซ่อมดูแลอุปกรณ์โรงไฟฟ้าและทำให้โรงไฟฟ้ามีความมั่นคงสามารถเดินเครื่องได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งยังรับในการดูและซ่อมอุปกรณ์ด้านหม้อน้ำ ด้านกังหันไอน้ำ ด้านแก๊สระบาย และก็ด้านอุปกรณ์โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นการซ่อมตามวาระประจำปี และ ซ่อมตามเหตุการณ์เร่งด่วน
หน่วยงานบำรุงรักษาเครื่องกลจัดตั้งมาประมาณ 40 กว่าปี ปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ประจำการอยู่ประมาณ 650 คน มีลูกจ้าง และOutsource เพื่อช่วยในงานบำรุงรักษาทั้งหมด โดยงานหลักนั้นเป็นการซ่อมโรงไฟฟ้าประจำปี เช่น มีงาน Minor Inspection งานOver hall รถยนต์ที่มีการซ่อมใหญ่ อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญมาจากการปรับปรุงโรงไฟฟ้าหงสาที่สปป.ลาว ซึ่งไปแก้ไขปรับปรุงโรงไฟฟ้าหงสาที่มาจากผู้ผลิตคือจีน Harbin Design ให้มีความมั่นคงพร้อมใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งงานปรับปรุงโรงไฟฟ้าของ กฟผ. เองเมื่อใกล้หมดอายุและมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ให้ขยายอายุการใช้งานหรือแม้กระทั่งงาน Modulation ใหญ่ งานปรับปรุงโรงไฟฟ้าแม่เมาะ โรงไฟฟ้าพระนครเหนือ งานปรับปรุงใหญ่ทั่วไป และ งานเพิ่มประสิทธิภาพให้กับโรงไฟฟ้า กฟผ. และโรงไฟฟ้าภาคเอกชน รวมทั้งโรงไฟฟ้าที่เราไปทำ MOU ร่วมกับกรมพัฒนากรมโรงงานอุตสาหกรรม
ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีนั้น ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง โดยมีทั้งซื้อและพัฒนาศึกษาเอง พร้อมประดิษฐ์เครื่องมือหรือปรับปรุงกระบวนการในเรื่องของ Process Innovation มาช่วยในการทำงาน มีการจัดซื้อเครื่องเชื่อมที่ทันสมัย ซื้อหุ่นยนต์มาใช้ในการซ่อมบำรุงรักษา ส่วนการนำนวัตกรรมมาใช้ในการทำงานนั้น มีการนำโดรนมาใช้ในการตรวจสอบอุปกรณ์หม้อน้ำ มีการใช้Software ใหม่ๆ มาช่วยในการ Calculate คิดวิเคราะห์ต่างๆ เพิ่มขึ้นตามลำดับ ส่งผลให้เกิดการตัดสินใจที่แม่นยำ สำหรับสิ่งประดิษฐ์เรามีเครื่องเจียเบรคแก๊สระบาย ซึ่งเป็น Mobile Machining มีการพัฒนาการทำงานให้เชื่อมต่อ Big Data กับเครื่องมือใหม่ๆ ช่วยพัฒนาการทำงานมากขึ้น
การพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นการซื้อเข้ามาโดยเฉพาะอุปกรณ์เครื่องมือพิเศษ ซึ่งราคาแพง อีกส่วนหนึ่งเป็นการประดิษฐ์ขึ้นเองเป็นเครื่องมือพิเศษ อาทิ โดรน ซึ่งเรานำมาดัดแปลงติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เพิ่มเข้าไป อาทิ ติดเครื่องมือทดสอบ เครื่องมือแปลผล และมีการนำหุ่นยนต์มาช่วยในการทำงาน เรามีการผลิตหุ่นยนต์ไต่หม้อน้ำเป็นรถไต่ถังเพื่อขึ้นไปตรวจสอบหม้อน้ำ ทำความสะอาดและทดสอบด้วยการวัดความหนา และ ยังมีการพัฒนาเติมต่อไปเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน นอกจากนั้นยังร่วมมือกับพันธมิตร ได้แก่ MTec STech หรือหน่วยงานต่างๆ มาช่วยในการพัฒนาปรับปรุง เพื่อให้การทำงานบำรุงรักษารวดเร็ว มั่นคง ถูกต้อง ไม่ต้องนำเข้า Supervisor ไม่ต้องนำเข้าเครื่องไม้เครื่องมือใหญ่ๆ จากต่างประเทศ
สำหรับการพัฒนาบุคลากร HR MHR HRD ถือเป็นสิ่งสำคัญ เรามีการสร้างศูนย์เชื่อมขึ้นมา เพื่อทำทางด้าน HR MHR ทางด้าน Vender สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เราก็ลงทุนด้านอาคาร เครื่องมือใหม่ มีระบบการพัฒนาช่างเชื่อมให้เป็นไปตามมาตรฐาน พัฒนาอุปกรณ์เทคโนโลยีทางด้านการเชื่อมนี้เป็นไปตามวัสดุที่เปลี่ยนแปลงตลอด และเครื่องมือมีความต้องเร็ว แม่นยำ อีกประการหนึ่ง คือ ต้องพัฒนาคน ส่งเสริมในการอบรมนำคนเข้าสู่ระบบเชื่อมสากลตามที่ EWS ให้เป็นมาตรฐาน และเดินตามมาตรฐานอาชีพที่รัฐบาลกำหนด เข้าสู่ระดับเอเชียและระดับโลก พัฒนาระบบงานเชื่อมให้เข้าสู่ Code and Standard มากขึ้น พร้อมทำเรื่องของ Certification and Qualification รองรับให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
ล่าสุดหน่วยงานบำรุงรักษาเครื่องกล ของ กฟผ. ได้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าร่วมจัดแสดงในงานประชุมวิชาการนานาชาติติด้านการเชื่อมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ครั้งที่ 8 (Asia Pacific IIW International Congress (IIWAP 2019)) ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เนื่องจากเป็นงานสำคัญภายในงานมีการจัดแสดงอุปกรณ์เครื่องมือใหม่ มีพันธมิตรที่มาร่วมกันพัฒนาการเรียนรู้ สร้างความรู้ให้เกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรม มีการลงทุนด้าน HRD เรื่องคน ซึ่งผู้ที่มาอยู่ในงานฯ ส่วนใหญ่เป็นผู้มีศักยภาพสูง มีทั้งCollaboration และ Connection ในการที่จะมาบูรณาการร่วมกัน โดยองค์ความรู้ทั้งในและต่างประเทศเป็นไปตามพัฒนาการเทคโนโลยีของวัสดุที่เปลี่ยนไปมีน้ำหนักเบาขึ้น เชื่อมยากขึ้น แก้ไขปัญหาในการซ่อมมากขึ้น เนื่องจากมีกระบวนการ Pre-Heat และPost-Heat พวกนี้มันจะเป็นความรู้ที่มาจากการพูดคุย อีกทั้งยังมาแลกเปลี่ยนความรู้ทางเทคโนโลยีและเราก็เป็นไปตาม EWS และก็มีศูนย์เชื่อมตัวนี้เป็นหน้าเป็นตาของระดับประเทศ องค์ความรู้ที่ต้องเก็บเกี่ยวกันในงานนี้เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ได้รับจากการเข้าร่วมงาน มาร่วมแลกเปลี่ยนและรับความรู้ มารับฟังในเรื่องงานประชุมสัมมนา ซึ่งเป็นเทคโนโลยี Knowledge Sharing Case Study ในงานเชื่อมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ส่วนหนึ่งที่ กฟผ. เป็นจุดแข็ง คือเราซ่อมแก้ไขด้วยตัวเอง เราใช้บุคลากรของเราที่ได้ไปเรียนจากพระนครเหนือ หลักสูตรเชื่อมหรืออะไรต่างๆ เหล่านี้ เราสามารถทำได้เร็วถูกต้องลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและตอบสนองต่อภาคอุตสาหกรรมได้ดี