กรุงเทพฯ--5 เม.ย.--นิด้าโพล
พม. POLL ศูนย์สำรวจความคิดเห็นทางสังคม โดยสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1-12 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง "สร้างสุขผู้สูงวัย ใส่ใจไร้ความรุนแรง" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 12-22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจาย ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) รวมขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 4,800 หน่วยตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีลงพื้นที่ภาคสนาม กำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95.00 ความคิดเห็นในประเด็นความสุขของผู้สูงอายุ จากผลการสำรวจ เมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้สูงอายุต้องการจากคนในครอบครัวมากที่สุด พบว่า ร้อยละ 39.21 ระบุว่า ต้องการให้คนในครอบครัวแสดงออกด้วยการดูแล เช่น การดูแลค่าใช้จ่าย การให้เงิน พาไปพบแพทย์ พาไปทำธุระต่าง ๆ รองลงมา ร้อยละ 38.21 ระบุว่า ต้องการให้คนในครอบครัวแสดงออกทางคำพูด เช่น การบอกรัก การทักทาย การถามสารทุกข์สุกดิบ ร้อยละ 22.06
ระบุว่า ต้องการให้คนในครอบครัวแสดงออกด้วยการสัมผัส เช่น การกอด หอม จูงมือ บีบนวดคลายความปวดเมื่อย ร้อยละ 0.23 ระบุอื่น ๆ เช่น การเอาใจใส่ การให้ความสำคัญ ต้องการให้เชื่อฟัง และร้อยละ 0.29 ไม่แสดงความคิดเห็น ตามลำดับ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องความสุขของผู้สูงอายุเป็นเรื่องใด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 56.85 ระบุว่า เป็นความสุขทางจิตใจ อารมณ์ เช่น การได้รับการดูแลเอาใจใส่จากลูกหลาน การทำงานอดิเรก (ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ อ่านหนังสือ ฯลฯ) การไปวัดหรือโบสถ์เพื่อฟังธรรม หรือสนทนาธรรม รองลงมา ร้อยละ 25.48 ระบุว่า ทางร่างกาย เช่น การมีสุขภาพดี ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ร้อยละ 9.88 ระบุว่า ทางสังคม เช่น การทำประโยชน์ให้กับสังคม จิตอาสา ทำกิจกรรมในชุมชน ร่วมกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ การถ่ายทอดภูมิปัญญา การได้รับการยอมรับจากชุมชน/สังคม ร้อยละ 7.67 ระบุว่า ทางการเงิน เช่น การมีเงินหรือทรัพย์สมบัติสำหรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน และร้อยละ 0.12 ไม่แสดงความคิดเห็น ตามลำดับ ส่วนระดับความสุขของผู้สูงอายุไทย พบว่า ประชาชนมีความคิดเห็นว่าผู้สูงอายุไทยมีความสุขในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 6.61 (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ความคิดเห็นในประเด็นความรุนแรงในผู้สูงอายุ
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนในเรื่องการกระทำความรุนแรงในผู้สูงอายุ พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ร้อยละ 35.04 ระบุว่า เป็นการทำร้ายจิตใจ (เช่น วาจา ด่าทอ ท่าทาง สายตา สีหน้า ทำให้เจ็บช้ำน้ำใจ อับอาย เป็นต้น) รองลงมา ร้อยละ 30.98 ระบุว่า การถูกทอดทิ้ง ขาดผู้ดูแล ร้อยละ 23.46 ระบุว่า การทำร้ายร่างกาย (เช่น ทะเลาะวิวาท การทุบ ตี ต่อย เตะ เป็นต้น) ร้อยละ 8.13 ระบุว่า การทำร้ายทางเพศ (เช่น การทารุณทางเพศ การคุกคามทางเพศ การบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ การล่วงละเมิดทางเพศ) ร้อยละ 2.10 ระบุว่า การถูกล่อลวง และบังคับแสวงหาผลประโยชน์ และร้อยละ 0.29 ไม่แสดงความคิดเห็น เมื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำความรุนแรงในผู้สูงอายุมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 51.98 ระบุว่า บุคคลในครอบครัว หมายถึง พ่อ แม่ พี่น้อง สามี ภรรยา ลูก หลาน รองลงมา ร้อยละ 26.13 ระบุว่า บุคคลอื่น หมายถึง คนแปลกหน้า มิจฉาชีพ ร้อยละ 21.44 ระบุว่า บุคคลใกล้ชิด หมายถึง ญาติ เพื่อนบ้าน เพื่อนสนิท และร้อยละ 0.45 ไม่แสดงความคิดเห็น ตามลำดับในส่วนของสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุถูกกระทำความรุนแรงมากที่สุด อันดับ 1 ร้อยละ 24.79 ระบุว่า ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพัง อันดับ 2 ร้อยละ 23.06 ระบุว่า ผู้สูงอายุช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เนื่องจากความเจ็บป่วยและความพิการ อันดับ 3 ร้อยละ 13.56 ระบุว่า ผู้ดูแลรู้สึกว่าผู้สูงอายุเป็นภาระ อันดับ 4 ร้อยละ 11.73 ระบุว่า ผู้ดูแลติดอบายมุข เช่น การพนัน สุรา ยาเสพติด อันดับ 5 ร้อยละ 11.63 ระบุว่า ความเครียดจากผู้ดูแล อันดับ 6 ร้อยละ 8.67 ระบุว่า ต้องการทรัพย์สินของผู้สูงอายุ อันดับ 7 ร้อยละ 6.27 ระบุว่า ผู้ดูแลมีภาระหนี้สิน รายได้ไม่เพียงพอ อันดับ 8 ร้อยละ 0.04 ระบุอื่น ๆ เช่น ความคิดเห็นไม่ตรงกัน ทำให้เกิดความรุนแรง และร้อยละ 0.25 ไม่แสดงความคิดเห็น ตามลำดับ
เมื่อถามถึงสิ่งที่ประชาชนจะทำ หากพบเห็นเหตุการณ์ความรุนแรงในผู้สูงอายุ พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ร้อยละ 70.33 ระบุว่า แจ้งเหตุ โดยแจ้งผ่านบุคคล/ช่องทางต่าง ๆ ดังนี้ ร้อยละ 40.28 แจ้งผ่านผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน/ผู้นำชุมชน/ผู้นำท้องถิ่น รองลงมา ร้อยละ 27.19 แจ้งผ่านเจ้าหน้าที่ตำรวจ ร้อยละ 13.45 แจ้งสายด่วน 191 แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย ร้อยละ 12.09 แจ้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 ร้อยละ 2.16 แจ้งสายด่วน 1669 หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ศูนย์นเรนทร ร้อยละ 1.78 แจ้งสายด่วน 1567 ศูนย์ดำรงธรรม ร้อยละ 1.39 แจ้งมูลนิธิต่าง ๆ ร้อยละ 1.24 แจ้งศูนย์พึ่งได้ กระทรวงสาธารณสุข และร้อยละ 0.41 ระบุอื่น ๆ เช่น ญาติของผู้สูงอายุ เพื่อนบ้าน รองลงมา ร้อยละ 26.40 ระบุว่า เข้าไปช่วยเหลือ ร้อยละ 1.28 ระบุว่า ถ่ายรูป/คลิป/ไลฟ์สด ร้อยละ 0.98 ระบุว่า เพิกเฉย/ไม่สนใจ ร้อยละ 0.90 ระบุว่า หลีกเลี่ยง (กลัวโดนลูกหลง) ร้อยละ 0.10 ระบุอื่น ๆ เช่น แล้วแต่เหตุการณ์ที่พบเจอ ตามลำดับ
ในส่วนของแนวทางในการป้องกันและแก้ปัญหาความรุนแรงในผู้สูงอายุ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 40.96 ระบุว่า ต้องการให้รัฐบาลส่งเสริมการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว/อบรมสั่งสอน รองลงมา ร้อยละ 38.88 ระบุว่า ส่งเสริมการสร้างทัศนคติให้เห็นคุณค่าของผู้สูงอายุ (เช่น ความกตัญญู เอื้ออาทร การช่วยเหลือเกื้อกูล) ร้อยละ 35.77 ระบุว่า ส่งเสริมให้ครอบครัวเป็นแบบอย่างที่ดีในการไม่ใช้ความรุนแรง ร้อยละ 32.75 ระบุว่า ส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาปลูกฝังทัศนคติไม่ใช้ความรุนแรง ตั้งแต่เด็ก ร้อยละ 24.92 ระบุว่า การบังคับใช้กฎหมาย (มีบทลงโทษที่เด็ดขาด) ร้อยละ 19.35 ระบุว่า รณรงค์ยุติปัญหาความรุนแรง (เช่น การจัดกิจกรรม สร้าง/ปลูกฝังจิตสำนึก) ร้อยละ 13.15 ระบุว่า จัดให้มีระบบ/กลไกการเฝ้าระวังในชุมชน (Early Detection/Early Warning) และร้อยละ 0.06 ระบุอื่น ๆ เช่น มีกองทุนสนับสนุนผู้สูงอายุ พัฒนาบ้านพักคนชราให้มีสุขลักษณะที่ดี มีสถานที่สำหรับผู้สูงอายุไปทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น สถานที่ออกกำลังกายหรือชมรมต่าง ๆ ตามลำดับ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการใช้เทคโนโลยี เช่น โทรศัพท์ สื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น มีผลต่อผู้สูงอายุอย่างไร พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่คิดว่ามีทั้งผลดีและผลเสีย โดยร้อยละ 98.17 ระบุว่า มีผลดี โดยมีเหตุผลดังนี้ ร้อยละ 69.93 ช่วยให้ผู้สูงอายุติดต่อกับลูกหลานได้ง่ายและสะดวกขึ้น ร้อยละ 11.50 สามารถติดตามข่าวสารทั่วไปได้สะดวกรวดเร็ว ร้อยละ 8.64 ทำให้เพลิดเพลิน/ไม่เหงา ร้อยละ 5.88 ช่วยให้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น มีสังคม และร้อยละ 4.05 ทำให้เป็นคนทันสมัย ลดช่องว่างระหว่างวัย และคิดว่าเป็นผลเสีย ร้อยละ 97.06 โดยมีเหตุผลดังนี้ ร้อยละ 55.61 คิดว่าอาจจะถูกหลอกลวงโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ รองลงมา ร้อยละ 16.23 เสียสุขภาพ (เสียสายตา นิ้วล๊อค ปวดคอ บ่า ไหล่) ร้อยละ 12.28 เสียค่าใช้จ่าย ร้อยละ 6.18 เสียสุขภาพจิต เกิดความเครียด ร้อยละ 5.62 เสียสัมพันธภาพในครอบครัว ร้อยละ 2.58 เสียเวลา เสียงาน และร้อยละ 1.50 อาจจะเกิดอุบัติเหตุ และบางส่วนร้อยละ 1.58 ระบุว่า ไม่มีผลใด ๆ
เมื่อพิจารณาลักษณะข้อมูลทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 50.06 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 49.94 เป็นเพศชาย ตัวอย่างร้อยละ 25.00 มีอายุระหว่าง 18-30 ปี มีอายุระหว่าง 31-45 ปี มีอายุระหว่าง 46-59 ปี และมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ในสัดส่วนที่เท่ากัน ตัวอย่างร้อยละ 92.96 นับถือศาสนาพุทธ รองลงมา ร้อยละ 6.50 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.54 นับถือศาสนาคริสต์ ตัวอย่างร้อยละ 56.58 มีสถานภาพสมรส รองลงมา ร้อยละ 31.52 โสด ร้อยละ 8.96 เป็นหม้าย และร้อยละ 2.94 หย่าร้าง
ตัวอย่างร้อยละ 31.98 จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า รองลงมา ร้อยละ 30.40
จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 19.69 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 10.90 จบการศึกษาระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.06 จบการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า ร้อยละ 2.69 ไม่ได้รับการศึกษา และร้อยละ 0.28 จบการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ตัวอย่างร้อยละ 25.67 รับราชการ/พนักงาน/ลูกจ้างของรัฐ รองลงมา ร้อยละ 17.46 เกษตรกรรม/ประมง ร้อยละ 12.98 รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 9.96 นักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 9.08 ธุรกิจส่วนตัว (ไม่มีลูกจ้าง) ร้อยละ 6.88 ว่างงาน ร้อยละ 6.06 พ่อบ้าน/แม่บ้าน ร้อยละ 4.69 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 2.67 เกษียณอายุ/ข้าราชการบำนาญ ร้อยละ 2.29 เจ้าของธุรกิจส่วนตัว (มีลูกจ้าง) และร้อยละ 2.26 พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตัวอย่างร้อยละ 37.35 มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท รองลงมา ร้อยละ 29.38 มีรายได้ 10,001–20,000 บาท ร้อยละ 11.50 มีรายได้ 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 10.50 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 5.29 ไม่ระบุ ร้อยละ 3.65 มีรายได้ 30,001 – 40,000 บาท และร้อยละ 2.33 มีรายได้ 40,001 บาทขึ้นไป