กรุงเทพฯ--9 เม.ย.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat School of Engineering : TSE) เปิดตัว "เอสซิท" (SCIT) แพลตฟอร์มเอไอสุดล้ำรับการเดินทางช่วงเทศกาลสงกรานต์ ด้วยระบบแจ้งเตือนพฤติกรรมผู้ขับขี่
เมื่อง่วงนอน คุยโทรศัพท์ ขับส่ายไปมา ไม่อยู่บนเส้นทาง พร้อมเทคโนโลยีคัดกรองความรุนแรงของการชน ก่อนนวัตกรรมดังกล่าวจะส่งสัญญาณขอความช่วยเหลืออัตโนมัติผ่านเทคโนโลยีไอโอที (IoT) เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ช่วยลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุ ตัวช่วยใหม่อุ่นใจทุกการเดินทาง ติดตั้งง่าย รถรุ่นไหนก็ใช้งานได้ ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวกิจกรรมของ TSE ได้ที่ www.engr.tu.ac.th/ และ Facebook fanpage ของ TSE ที่ www.facebook.com/ENGR.THAMMASAT
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิศาล แก้วประภา อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) กล่าวว่า คณะฯได้เปิดตัว "เอสซิท" (SCIT) แพลตฟอร์มช่วยชีวิต
จากอุบัติเหตุในรถยนต์ ซึ่งพัฒนาร่วมกับ บริษัท ไอโออะเดย์ จำกัด ที่คิดค้นจากสภาพปัญหาการใช้งานจริงบนท้องถนน
โดยการทำงานของ "เอสซิท" จะเริ่มตั้งแต่ผู้ขับขี่สตาร์ทรถ ซึ่งทีมวิจัยนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ (AI) มาใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมการขับขี่ และทำหน้าที่แจ้งเตือนเมื่อผู้ขับขี่อยู่ในสภาวะเสี่ยง เช่น ง่วงนอน คุยโทรศัพท์ ที่อาจทำให้รถส่ายไปมาไม่อยู่ในเส้นทาง ซึ่งมีระบบส่งเสียงเตือนช่วยให้ผู้ขับขี่รู้สึกตัว
นอกจากนี้ "เอสซิท" ยังมาพร้อมกับระบบการขอช่วยความช่วยเหลือแบบอัตโนมัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยใช้เอไอ
ช่วยในการคัดกรองความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุ เป็น 2 แบบ คือ ชนหนัก และชนเบา โดยเมื่อระบบประมวลผลแล้ว
จะเป็นหน้าที่ของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT) ที่ติดตั้งมากับอุปกรณ์นี้ จะส่งข้อมูลขอความช่วยเหลือออกไป
สำหรับรูปแบบการส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือของ "เอสซิท" จะแบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่
1. กรณีชนหนัก ระบบประมวลผลจากการสั่น ความเร็ว และความแรง โดยจะส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยกู้ภัยและรถพยาบาลที่อยู่บริเวณใกล้ที่สุดโดยอัตโนมัติ พร้อมระบุพิกัดจุดเกิดเหตุ เพื่อให้สามารถเข้าช่วยเหลืออย่างรวดเร็วและทันเวลา
2. กรณีชนเบา ระบบจะแจ้งเตือนผ่านหน้าจอสมาร์ทโฟนของผู้ขับขี่ผ่านแอปพลิเคชันสติคิท (Satikit) ซึ่งขณะนี้
อยู่ในระหว่างการพัฒนา เพื่อให้ผู้ขับขี่ยืนยันการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าว จากนั้นระบบส่งข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เช่น หน่วยกู้ภัย บริษัทประกันภัย รถพยาบาล รถลาก เป็นต้น
แนวคิดและที่มาการพัฒนานวัตกรรม
"เอทซิส" (SCIT) เป็นแพลตฟอร์มช่วยชีวิตจากอุบัติเหตุในรถยนต์ ที่คิดค้นจากสภาพปัญหาการใช้งานจริงบนท้องถนน ที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการขับขี่ เป็นฟังก์ชั่นที่ช่วยให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการขับขี่มากขึ้น โดยแนวคิดของการพัฒนา "เอทซิส" มาจากเหตุการณ์ที่มักจะเกิดขึ้นจริง ซึ่งบางรายอาจโชคดี รอดจากแรกกระแทกและยังมีสติเพื่อ
โทรขอความช่วยเหลือได้ แต่มีจำนวนไม่น้อยที่หมดสติการแรงกระแทกอย่างรุนแรง หรือบาดเจ็บจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งสถิติจากการสำรวจที่ผ่านมาพบว่า มีการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุกว่า 40% ที่เกิดจากเข้าช่วยเหลือไม่ทันและผิดวิธี
รูปแบบการใช้งาน
การทำงานของ "เอทซิส" จะเริ่มตั้งแต่ผู้ขับขี่สตาร์ทรถ ซึ่งทีมวิจัยนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ (AI) มาใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมการขับขี่ และทำหน้าที่แจ้งเตือนเมื่อผู้ขับขี่อยู่ในสภาวะเสี่ยง เช่น ง่วงนอน คุยโทรศัพท์ ที่อาจทำให้รถส่ายไปมา ไม่อยู่ในเส้นทาง ซึ่งมีระบบส่งเสียงเตือนช่วยให้ผู้ขับขี่รู้สึกตัว นอกจากนี้ "เอสซิส" ยังมาพร้อมกับระบบการขอช่วยความช่วยเหลือแบบอัตโนมัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุ โดยใช้เอไอช่วยในการคัดกรองความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุ
เป็น 2 แบบ คือ ชนหนัก และชนเบา โดยเมื่อระบบประมวลผลแล้ว จะเป็นหน้าที่ของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (IoT)
ที่ติดตั้งมากับอุปกรณ์นี้ จะส่งข้อมูลขอความช่วยเหลือออกไป โดย "เอทซิส" ถูกออกแบบมาให้สามารถใช้งานได้กับรถยนต์ทุกรุ่น เพียงเสียบใช้งานกับแหล่งจ่ายไฟฟ้า หรือที่จุดบุหรี่ในรถยนต์
ข้อมูลอื่นๆ
นวัตกรรมนี้ ได้รับการคัดเลือกให้เข้าประกวดประกวดนวัตกรรมนานาชาติ ครั้งที่ 47 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ปี 2562
ปัจจุบัน "เอสซิท" อยู่ในระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานเพื่อเตรียมต่อยอดไปสู่การใช้งานจริง ซึ่งต้องเชื่อมโยงความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจทางหลวง หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน รถกู้ชีพ บริษัทประกันภัย เป็นต้น
โดยล่าสุด TSE ได้ส่งนวัตกรรม "เอสซิท" เข้าประกวดนวัตกรรมนานาชาติ ครั้งที่ 47 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ซึ่งสะท้อนบทบาทความเป็นผู้นำด้านหลักสูตรการเรียนการสอนด้านวิศวกรรม ในโอกาสครบรอบ 30 ปีของ TSE เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิศวกรรมครบวงจรของคนรุ่นใหม่
อย่างไรก็ตาม TSE ได้เล็งเห็นความก้าวหน้าด้านยนตรกรรมในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการขับขี่
ซึ่งถือเป็นจุดขายที่ค่ายรถยนต์ชั้นนำทั่วโลก เอามาใช้เป็นองค์ประกอบในการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ ไม่แพ้การดีไซน์ให้สวยงามและสมรรถนะที่ทรงพลัง และยังเป็นฟังก์ชั่นที่ช่วยให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการขับขี่มากขึ้นอีกด้วย ซึ่งสถิติจากการสำรวจที่ผ่านมาพบว่า การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุกว่า 40% เกิดจากเข้าช่วยเหลือไม่ทันและผิดวิธี ซึ่งปัญหาเหล่านี้นำไปสู่การเสียชีวิตของผู้บาดเจ็บในเวลาต่อมา ทั้งนี้ ในปี 2561 ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอยู่ที่ 32.7 คน ต่อประชากร 1 แสนคน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะมีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยเรื่องความปลอดภัยมากเพียงใด ผู้ขับขี่ยังต้องใช้ความระมัดระวังในการขับขี่อยู่เสมอ โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสำคัญที่มีรถสัญจรบนถนนจำนวนมาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิศาล กล่าวทิ้งท้าย
ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวกิจกรรมของ TSE ได้ที่ www.engr.tu.ac.th/ และ Facebook fanpage ของ TSE ที่ www.facebook.com/ENGR.THAMMASAT