กรุงเทพฯ--10 เม.ย.--เจซีแอนด์โค พับลิครีเลชั่นส์
ในโลกที่เด็กๆ สามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ได้รอบตัวของพวกเขา และในอนาคตอินเตอร์เน็ตจะกลายเป็นครูที่ใกล้ชิดที่สุด ดังนั้น ครูในยุคดิจิทัลจำเป็นต้องปรับตัวไปตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เข้ามาดิสรัปพวกเราทุกคน โดยเฉพาะการเข้าถึงและเข้าใจนักศึกษา เป็นโค้ชที่สามารถให้คำปรึกษาได้ทั้งเรื่องเรียน เรื่องงาน และการใช้ชีวิต และการให้นักศึกษาเข้าถึงที่ดีที่สุดคือ การเข้าไปเป็นเพื่อนกับเขา ลดช่องว่างระหว่างอาจารย์และลูกศิษย์สู่การเป็นพี่น้อง ที่สามารถแชร์และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้อย่างเป็นกันเอง
ศาสตราจารย์ ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) หรือ พี่เอ้ กล่าวว่า การลดช่องว่างระหว่างอาจารย์และลูกศิษย์ จะทำให้น้องๆ นักศึกษาเข้าถึงได้ และไม่ใช่แค่ที่ปรึกษาในด้านวิชาการเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องถ่ายทอดทักษะการใช้ชีวิตให้กับนักศึกษาได้อีกด้วย โดยที่อาจารย์และผู้บริหารจะเปลี่ยนแปลงตัวเองจากการเป็นโปรเฟสเซอร์ (Professor) มาดนักวิชาการสู่การเป็น "พี่" ที่ปรึกษามากประสบการณ์ และทำให้คำว่า "ครู" ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การสอน แต่ยังทำหน้าที่เป็นโค้ชที่ใกล้ชิดนักศึกษามากขึ้น ตอบโจทย์ 3 ความต้องการนักศึกษายุคอัลฟ่า
ทักษะการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัล
ในโลกปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลเสมือนปัจจัยที่ห้าของการใช้ชีวิต กูเกิล (Google) ก็สามารถเป็นครูให้กับเด็กๆ ได้ ดังนั้น การครูในยุคเทคโนโลยีดิสรัปชัน จำเป็นจะต้องมีทักษะได้มากกว่าการสอนในเชิงวิชาการ นั่นคือ การเป็นที่ปรึกษาทักษะชีวิต ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เด็กเข้าใจและรับมือกับความเปลี่ยนแปลง และเป็นการสอนให้เขาเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงบนโลกใบนี้ได้อย่างดี เช่น ทักษะการแก้ไขปัญหา ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีอย่างปลอดภัย ทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคม ทักษะการมองโลกในแง่ดี ไปจนถึงการความเป็นมิตร บุคลิกภาพ และการแสดงออกทางสังคม เป็นต้น
การสร้างดีเอ็นเอการเรียนรู้ที่เข้าใจในหัวใจผู้เรียน
เห็นได้ชัดว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โลกเราหมุนไปไกลกว่าที่จะรอช้าในการเริ่มต้นลงมือทำสิ่งใหม่ๆ เทคโนโลยีทำให้เราต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา และในโลกในอีก 5 ปีข้างหน้าการเปลี่ยนแปลงอยากจะทำให้เราทำนายอนาคตได้ยากขึ้น สิ่งสำคัญที่พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง เริ่มปรับตัวให้เข้ากับน้องๆ นักศึกษายุคใหม่ คือ การยอมรับความเปลี่ยนแปลงเพื่อนำมาสู่การพัฒนาตัวเอง กล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และทดลองทำในสิ่งที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ การมีทักษะเหล่านี้จะทำให้คณาจารย์ สจล. ถ่ายทอดดีเอ็นเอการเรียนรู้สู่น้องๆ อย่างเข้าใจและเข้าถึงพวกเขา เป็น "โค้ช" ที่ดีทั้งด้านวิชาการและการใช้ชีวิต เป็นเพื่อน เป็นพี่ ที่สามารถให้คำปรึกษากับพวกเขาได้
เปิดพื้นที่ครีเอทีฟ ออกแบบการเรียนรู้ร่วมกัน
โลกของข้อมูลในปัจจุบัน เด็กสามารถเข้าถึงการเรียนการสอนที่ง่ายที่สุดได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส และสิ่งที่สำคัญคือ การที่เด็กจะต้องเป็นศูนย์กลางในการออกแบบครูของพวกเขา ดังนั้น การออกแบบวิธีการเรียนการสอน สภาพแวดล้อมในห้องเรียน หรือเนื้อหาวิชา จึงเป็นสิ่งที่อาจารย์ยุคใหม่จะต้องเปิดพื้นที่ให้เด็กมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สิ่งที่พวกเขาต้องการจะเรียนรู้ ในยุคนี้อาจกล่าวได้ว่า การถ่ายทอดความรู้ทางเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป เด็กๆ ต้องการการยอมรับในความคิดเห็นและการโต้ตอบที่พวกเข้าเขาถึงได้ ดังนั้น การเรียนการสอนเด็กในยุคนี้ จึงจำเป็นต้องมุ่งเน้นการคิดสร้างสรรค์และเน้นการทำงานเป็นทีม ที่พร้อมด้วยทักษะด้านวิชาการและทักษะด้านการใช้ชีวิต
สุดท้ายนี้ พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง ลงมือกระชับความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและคณาจารย์ สร้างดีเอ็นเอให้กับครูในยุคดิจิทัล โดยพี่ๆ โปรเฟสเซอร์ พร้อมเปิดรับความเปลี่ยนแปลงและปรับตัวเข้าหาเด็ก วางตัวเป็น "โค้ช" ไกด์แนวทาง ให้น้องๆ ได้ลงมือทดลองทำด้วยตัวเอง ผ่านการดีไซน์ความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขา เพื่อช่วยให้บรรยากาศการเรียนการสอนสามารถเข้าถึงได้อย่างอบอุ่นและเป็นกันเอง
]