Production Notes ภาพยนตร์เรื่อง SIDEWAYS- Partial 4

ข่าวทั่วไป Friday January 28, 2005 16:06 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--28 ม.ค.--วอเนอร์ บราเธอร์ส
มุมที่แตกต่างของชีวิตสมัยใหม่ : การถ่ายทำเรื่อง SIDEWAYS
ไมลส์ : “นายเป็นสัตว์ในฟาร์มที่คอยแต่อาบาตัวร์
แจ็ค : “อาบาตัวร์อย่าง เอ้อ...มันอะไรเหรอ?”
นับแต่เริ่มต้นเป็นที่ชัดเจนว่า SIDEWAYS จะเป็นภาพยนตร์การเดินทางตามถนนของผู้ใหญ่ ที่มาจากฉากของหนังเดินทางตามถนนในช่วงเวลาของการปลดปล่อย ไปเป็นช่วงวัยกลางคนที่อึมครึมด้วยความ สุขุมรอบคอบ เมื่อคิดไปถึงภาพที่จะออกมาในภาพยนตร์ เพย์นคิดไปถึงรูปแบบการถ่ายทำภาพยนตร์อเมริกันที่มีความเป็นอิสระ ไม่ได้ถูกขัดเกลา และเป็นส่วนตัว ในช่วงทศวรรษ 1970 ที่นำไปสู่การระเบิดเป็นพลุของหนังบนถนนในตอนแรก
ความนิยมในการถ่ายทำภาพยนตร์ของช่วงทศวรรษ 1970 เป็นแรงดึงดูดอย่างมากสำหรับเพย์นตลอดมา “ผมรู้สึกว่านี่เป็นการถ่ายทำแบบมนุษย์ที่พ้นความนิยมไปแล้ว” เขาบอก “คนมักจะบอกผมว่า ‘หนังของคุณดูสดใหม่และแตกต่าง’ แต่จริงๆ แล้ว ผมไม่ได้พยายามทำหนังใหม่ ผมพยายามทำหนังให้เหมือนของเก่า”
ในการออกเดินทางต่อจากภาพยนตร์สามเรื่องแรกของผู้เขียน-ผู้กำกับฯ ซึ่งเดินเรื่องในและรอบบ้านเกิดของเขาที่โอมาฮ่า รัฐเนบราสก้า ภาพยนตร์เรื่อง SIDEWAYS เกิดขึ้นในอีกเมืองที่เป็นเอกลักษณ์ศูนย์กลางของอเมริกา — ซานตาเนซแวลเลย์ ที่งดงามราวภาพวาด หมู่บ้านที่น่าดูแบบโบราณ ถนนสายเล็กๆ นอกเมือง ไร่องุ่นอาบแสงแดด และโรงบ่มไวน์ระดับโลก แม้กระทั่งในฉากใหม่นี้ ภาพยนตร์ก็ยังออกมาเป็นอเล็กซานเดอร์ เพย์น อย่างที่ปฏิเสธไม่ได้
ผู้กำกับภาพ เฟดอน พาพาไมเคิล อธิบายว่า : “มีความเรียบง่ายในสไตล์ของหนังที่การถ่ายภาพก็คือการสร้างเฟรมซึ่งตามค้นหาตัวละครที่ซับซ้อนเหล่านี้ แน่นอนว่าฉากนั้นขึ้นกล้องมาก ซึ่งทำให้เป็นการเคียงคู่กันของความขบขันและน่าสนใจกับตัวละครเหล่านี้ ซึ่งกำลังดิ้นรนกับชีวิต ความตลกส่วนหนึ่งผมคิดว่าคือการได้ดูตัวละครที่น่าสงสารพวกนั้นเดินทางในจุดท่องเที่ยวที่ยอดเยี่ยมของพวกเขา”
เพย์นทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับพาพาไมเคิลเพื่อสร้างความรู้สึกที่เขาต้องการเก็บไว้ขึ้นมาใหม่ “ผมอยากให้มีความนุ่มนวลและเหมือนภาพเขียนในสีสันที่เราเป็นในหนังยุค ’60 และ ’70” เพย์นอธิบาย “แต่ฟิล์มหนังสมัยนี้ต่างออกไปมาก; มันเต็มไปด้วยความมีชีวิตชีวาและสีสันที่แตกต่างกันมากมาย เลนส์ก็แตกต่างจากเดิมเช่นกัน คมชัดกว่าเดิม และผมไม่อยากพูดว่าดีกว่า แต่ต่างไป บางทีเราต้องเสียบางอย่างเพื่อให้ได้สิ่งที่เราเรียกว่าความก้าวหน้า แต่ด้วยการใช้ฟิลเตอร์และฟิล์มสต็อค เฟดอนสามารถสร้างภาพในเวอร์ชั่นที่ผมต้องการได้”
ในการเตรียมการเพื่อถ่ายทำในลำดับต่อไปของ SIDEWAYS เพย์นและพาพาไมเคิล ได้ดูหนังที่แสดงโดย แฮล แอชบี้, ฌอง ลุค กอดดาร์ด และ เบอร์แทรนด์ ไบลเออร์ — ไม่ใช่เพื่อหาแนวคิดของภาพแต่เป็นเรื่องของแรงบันดาลใจทั่วไปจากภาพยนตร์ “จากการได้ดูหนังเหล่านี้และหารือกัน ผมได้เข้าใจเกี่ยวกับรสนิยมและความอ่อนไหวของอเล็กซานเดอร์มากขึ้น“พาพาไมเคิลออกความเห็น “สิ่งที่เขาชอบ สุนทรียศาสตร์ของเขา และจากจุดนั้นเราก็สร้างข้ออ้างอิงขึ้นมาหนึ่งชุดที่ทำให้การทำงานร่วมกันง่ายขึ้น เมื่อถึงเวลาถ่ายทำ เราก็จะเพลินและไม่ต้องหารืออะไรกันอีก”
เมื่ออยู่ในโลเคชั่น ทีมผู้สร้างได้พบว่าภูมิภาคนั้นเต็มไปด้วยทิวทัศน์และอารมณ์ที่งดงามที่ได้ถูกรบกวนมาก่อน นอกจากซีรีส์เรื่อง “Mayberry R.F.D.” และภาพยนตร์ชื่อดังอีกไม่กี่เรื่อง รวมทั้งผลงานรีเมคของแจ็ค ริโคลสัน-เจสสิก้า แลงก์ เรื่อง THE POSTMAN ALWAYS RINGS TWICE แล้ว ภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดอีกเพียงไม่กี่เรื่องที่เคยมาใช้ความงามตามธรรมชาติของซานตาเนซแม้ว่ามันจะอยู่ใกล้กับลอสแอนเจลิสมาก
การถ่ายทำพาทีมงานไปยังสถานที่ซึ่งเป็นที่รู้จักดีหลายแห่ง รวมทั้งโซลแวง หมู่บ้านดัทช์ที่น่าเอ็นดู เมืองบูเอ็ลตันที่เต็มไปด้วยสีสันและชุมชนศิลปินที่ลอส โอลิวอส รวมทั้งศานตามาเรีย, ลอมพอค, ซานตาบาร์บาร่า และโกเลตา ทีมผู้สร้างยังได้เพิ่มเติมสถานที่โปรดของพวกเขาลงไปโลเคชั่น อย่างเช่น ลาปูริซิมา มิชชั่น และภัตตาคารฮิทชิ่งโพสท์ “เราเปลี่ยนแปลงสคริปท์ในโลเคชั่นจริงที่เราได้พบระหว่างการทัวร์ไปรอบๆ” ผู้ออกแบบฝ่ายศิลป์ เจน แอน สจ๊วต กล่าว เธอเคยทำงานในภาพยนตร์เรื่องก่อนหน้านี้ของเพย์น “และส่วนหนึ่งที่ทำให้มันสนุกสนานก็คือนี่เป็นอาณาเขตที่บริสุทธิ์ผุดผ่องสำหรับเรา ดังนั้นเราจึงได้ค้นพบมันและเดินทางผ่านไปเช่นเดียวกันกับตัวละคร
หนึ่งในบรรดาโลเคชั่นหลักของภาพยนตร์ คือโรงแรมวินด์มิลล์ที่แปลกประหลาดในบูเอลตัน แคลิฟอร์เนีย ที่ซึ่งนักแสดงและทีมงานถ่ายทำกันเป็นเวลาเกือบสามสัปดาห์ในการทำงานทั้งหมดสิบสัปดาห์ สำหรับสจ๊วตความท้าทายคือการดึงเอาความเป็นจริงของโลเคชั่นที่สมจริงแต่เป็น “แหล่งท่องเที่ยว” ออกมา “สไตล์ของอเล็กซานเดอร์คือหาโลเคชั่นสมบูรณ์แบบ อย่างเช่นโรงแรมวินด์มิลล์ ที่เกือบจะได้ — และแล้วก็จับตรงโน้นนิดตรงนี้หน่อยมาเป็นฉาก ซ้อนกันเป็นองค์ประกอบที่มีสัญญลักษณ์ “ เธออธิบาย
สำหรับเพย์นนั้น พาพาไมเคิลอธิบายว่าทางด้านเทคนิคของการถ่ายทำคือทำงานทีละอย่างเท่านั้น : “สำหรับอเล็กซานเดอร์แล้วมันเป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่จะเก็บเอาช่วงเวลานั้น และเขาต้องการให้เราสามารถปรับให้เข้ากับอะไรก็ตามที่เขาเห็นว่าเกิดขึ้นระหว่างนักแสดง — เขาอาจเปลี่ยนใจเกี่ยวกับการจัดแสง ภาพวิว หรือช็อตได้ทันทีทันใด เขาทำอะไรอย่างรวดเร็วมาก แต่เขาทำได้เพราะเขารู้ดีว่าเขาต้องการอะไร”
นอกจากความว่องไวและยืดหยุ่นซึ่งเป็นที่รู้กันของเขาแล้ว เพย์นยังกลายเป็นที่รู้จักในการสร้างอารมณ์ให้กับกองถ่ายของเขา หนึ่งในความเป็นอิสระที่ไม่อายใครของศิลปิน ซึ่งมีให้เห็นอย่างเด่นชัดมากขึ้นในเรื่อง SIDEWAYS “ผมคิดว่า SIDEWAYS เป็นหนังที่เบากว่าและสนุกกว่าหนังเรื่องก่อนหน้านี้ เพราะมันมีอารมณ์ร่าเริงในกองถ่าย” พาพาไมเคิลเล่า “ความสวยงามของสถานที่ อาหาร ไวน์ และความสนุกที่เราได้รับ สะท้อนออกมาอย่างมากในภาพของหนัง การแสดงและจิตวิญญาณของทุกอย่าง”
องค์ประกอบสำคัญในด้านอารมณ์ที่ขุ่นข้องและยั่วยวนของเมืองไวน์นั้นยังได้สะท้อนออกมาในผลงานประพันธ์เพลงของรอล์ฟ เคนท์ สำหรับเรื่อง SIDEWAYS เคนท์ซึ่งก่อนหน้านี้เคยแต่งเพลงให้กับภาพยนตร์เรื่องก่อนๆ ของ อเล็กซานเดอร์ เพย์น อย่าง ABOUT SCHMIDT, ELECTION และ CITIZEN RUTH เริ่มคุยเกี่ยวกับ SIDEWAYS ล่วงหน้าก่อนการถ่ายทำ “ผมขับรถไปที่ซานตาเนซในระหว่างที่อเล็กซานเดอร์กำลังเตรียมการถ่ายทำ และเราจิบผลผลิตท้องถิ่นแล้วก็คุยกันเรื่องแนวความคิด” เคนท์ทบทวน “เขาบอกผมว่าเขาอยากได้เพลงประกอบที่เป็นแจ๊ซ แล้วเขาก็ให้ผมฟังเพลงประกอบที่เป็นแจ๊ซอิตาเลียนตั้งแต่สมัย 1960”
เมื่อถึงตอนที่ภาพยนตร์เสร็จสมบูรณ์ เพย์นก็ยิ่งให้ความสนใจมากขึ้นกับเพลงประกอบภาพยนตร์โมโนยุคเก่า เขาถามเคนท์ว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ที่จะบันทึกเพลงของหนังด้วยระบบโมโน “มันเป็นความคิดที่เยี่ยมมาก แต่อาจจะสร้างปัญหาเวลาลงเสียงรวมกับบทสนทนา” เคนท์อธิบาย “ผมเลยแนะให้บันทึกเป็นระบบสเตอริโอแทน ตแต่ใช้เทคนิคการบันทึกแบบโบราณ — ซึ่งลงท้ายเราต้องคารวะให้กับ เกรก ทาวน์ลีย์ ผู้มิกซ์เพลงประกอบ”
ในขณะเดียวกัน เคนท์เริ่มที่จะลงลึกยิ่งๆ ขึ้นในเพลงแจ๊ซของจริงที่เขาแต่งขึ้น “แต่พอผมเล่นเพลงบางส่วนให้อเล็กซานเดอร์ฟัง เขาถามว่า ‘นั่นใช่ดนตรีของรอล์ฟรึเปล่า?’ ผมถึงนึกขึ้นมาได้ว่าเขากำลังมองหาแจ๊ซแบบผสมผสานกับการแต่งด้วยใจความแบบของผม ซึ่งผมก็ทำออกมาได้ในที่สุด”
ความท้าทายชิ้นใหญ่สำหรับคนที่พอใจแต่สิ่งที่สมบูรณ์แบบอย่างเคนท์ เกิดขึ้นระหว่างการบันทึกเพลงประกอบ “มันเป็นเรื่องยากมากที่จะยอมให้คนบ้าอย่างผมปล่อยเสียงดนตรีไป และยอมรับว่าแจ๊ซไม่ได้เป็นสิ่งที่เราจะเจาะจงได้” เขาให้ความเห็น “ตรงกันข้าม เราต้องเอาเพลงไปที่สตูดิโอ หานักดนตรีมืออาชีพที่เก่งจริงๆ แล้วคอยดูสิ่งวิเศษที่ไม่อาจเดาได้เกิดขึ้น! ผมคิดว่าเพลงประกอบนี้เป็นฝีมือผมและไม่ใช่ด้วย เพราะบรรดายอดฝีมือที่ทำงานได้สอดใส่หลายอย่างไว้ในเพลง”
ตลอดขั้นตอนการทำงานอเล็กซานเดอร์ เพย์นยังได้ให้อิสระแก่เคนท์ในการทดลองอย่างสร้างสรรค์ “มันเป็นความช่วยเหลืออย่างมากที่อเล็กซานเดอร์ร่วมเป็นองค์ประกอบในการทำเพลง” ผู้ประพันธ์กล่าว “เขาอยู่ด้วยทุกครั้งที่บันทึก และคอยให้กำลังใจผมในการทำสิ่งใหม่ๆ เขาบอกอย่างชัดเจนว่าภาพที่ถูกต้องไม่สำคัญ — แต่ชีวิตและพลังของเพลงคือสิ่งที่มีความหมาย”
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ
Viroj Laorungreungchai
Tel. 66-2-631-1218 ext.125
Fax 66-2-236-4834--จบ--

แท็ก ภาพยนตร์  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ