ศิลปะปูนปั้นแห่งประเทศไทยครั้งที่19

ข่าวทั่วไป Tuesday April 30, 2019 13:59 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--30 เม.ย.--มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มทร.รัตนโกสินทร์ ผนึกกำลังกรมศิลปากร และองค์กรเอกชน จัด แข่งขันศิลปะปูนปั้นแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 19 นำศิลปินเก่าถ่ายทอดผลงานสู่ศิลปินหน้าใหม่ สืบสานศิลปะปูนปั้น สืบสานสมบัติอันทรงคุณค่าของไทย ที่วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ จัดพิธีเปิดการแข่งขันศิลปะปูนปั้นแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 19 โดยเป็นการ่วมมือระหว่าง กรมศิลปากร วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์ และบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) เพื่อชิงเงินพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเฟ้นหาสุดยอดฝีมือนักปั้นปูนและสืบสานให้งานศิลปะปูนปั้นให้เป็นสมบัติที่ล้ำค่าของประเทศไทย ชิงเงินรางวัล พร้อมโล่พระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งหวังให้งานศิลปะปูนปั้นเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของประเทศไทย และมีผู้สืบสานงานช่างฝีมือแขนงนี้ต่อไป โดยในปีนี้มีการจัดทัศนศึกษาดูงานปูนปั้นและสัมมนาวิชาการเรื่อง "ศิลปะ ทวารวดี" ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปะทวารวดี มาเป็นวิทยาการในการถ่ายทอดความรู้ตลอดการศึกษาดูงาน ทั้งนี้การประกวดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-28 เมษายน 2562 และตัดสินการประกวดในวันที่ 28 เมษายน 2562 ซึ่งมีพิธีเปิดในวันที่ 25 เมษายน 2562 โดยได้รับเกียรติจาก คุณประทีป เลี่ยวไพรัตน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัททีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วย ผศ.ดร.กฤชกนก สุทัศน์ ณ อยุธยา รองอธิการบดี กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมพิธี และ ผศ.บรรลุ วิริยาภรณ์ประภาส ผู้อำนวยการวิทยาลัยเพาะช่าง กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดการประกวด ณ วิทยาลัยเพาะช่าง มทร.รัตนโกสินทร์ โครงการประกวดศิลปะปูนปั้นแห่งประเทศไทยครั้งที่ 19 ประจำปี 2562 การประกวดประกอบด้วย 5 โครงการได้แก่ 1. การสัมมนาวิชาการและทัศนศึกษาศิลปะทวารวดี 2. การแข่งขันประกวดศิลปะปูนปั้น 3. การจัดแสดงนิทรรศการ 4. การ workshop ศิลปะปูนปั้นกับประติมากรปั้นปูนยอดเยี่ยม 5. การจัดหนังสือแบบอย่างลวดลายในพุทธศิลป์ แห่งสยามประเทศเล่มที่ 5 ศิลปะทวารวดี การแข่งขันศิลปะปูนปั้นแห่งประเทศไทยครั้งนี้ เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ต่อเนื่องมาจากการสัมมนาทางวิชาการและการทัศนศึกษาเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้เข้าประกวด อันเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์สืบสานและพัฒนางานศิลปะปูนปั้น โดยในปีนี้ได้จัดการประกวดเป็น 3 ประเภทคือ 1. ประเภทผลงานสำเร็จรูป หัวข้อการประกวดเรื่องนางสงกรานต์และสัตว์พาหนะ มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดผ่านการคัดเลือกจำนวน 66 ชิ้น 2. ประเภทปั้นปูนสด หัวข้อ การประกวดเรื่องหิมพานต์ มีผู้เข้าประกวด จำนวน 40 คน 3. ประเภทการปั้นปูนสำเร็จรูปปูน TPI (ระดับประชาชน) หัวข้อ การประกวดเรื่องจิตอาสา มีผู้เข้าประกวดจำนวน 32 คนและประเภทการปั้นปูนสำเร็จรูปปูน TPI ( ระดับเยาวชน) หัวข้อเรื่องตามรอยครูปูนปั้นสุโขทัย มีผู้เข้าประกวดจำนวน 94 คน รวมผู้เข้าประกวดทั้งสิ้น 232 คน โดยเริ่มการประกวดมาตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2562 และจะเสร็จสิ้นการประกวดในวันที่ 28 เมษายน 2562 พร้อมตัดสินผลงานที่เข้าประกวดทั้งหมด ในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก แขกผู้มีเกียรติที่คร่ำหวอดในวงการปูนปั้น ศิลปะและการออกแบบระดับชาติและระดับโลกรวมถึงผู้ให้การสนับสนุน อาทิ นายประทีป เลี่ยวไพรัตน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) ประธานในพิธี ผศ.ดร.กฤชนก สุทัศน์ ณ อยุธยา รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ อาจารย์วรพงษ์ อรุณเรือง ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ อาจารย์บรรลุ วิริยาภรณ์ประภาส ผู้อำนวยการวิทยาเพาะช่าง และรศ.ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ ราชบัณฑิต ร่วมเป็นกรรมการในการตัดสิน บรรยากาศเต็มไปด้วยนักปั้นปูน ระดับมืออาชีพและระดับนักเรียน นักศึกษา ที่ได้เข้ามาร่วมทำการแข่งขันและแสดงความสามารถ โดยการนำเอาศิลปะไทยในรูปแบบต่าง ๆ ร่วมถึงศิลปประยุกต์ เพื่อถ่ายทอดอารมณ์และเรื่องราวผ่านปูนปั้น ซึ่งได้สร้างความตื่นตาให้กับผู้เข้าร่วมชมและกรรมการตัดสินภายในงาน โดย นายประทีป เลี่ยวไพรัตน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) เผยว่า จากครั้งแรกที่มีการจัดการแข่งขันมาถึงปีนี้เป็นปีที่ 19 ถือว่ามีการพัฒนาของการสร้างสรรค์ผลงานและฝีมือของช่างปั้นปูนไปไทยมาไกลมาก ซึ่งช่างปั้นปูนไทยนั้นมีความสามารถไปไกลกว่าประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียน ช่างปูนปั้นไทยสามารถทำรายได้เป็นหลักแสนคืออย่างน้อย ซึ่งเราก็พร้อมจะพัฒนาปูนให้สามารถใช้ได้ง่ายมากขึ้น และการพัฒนาของช่างปั้นปูนของไทย วันนี้ไม่ใช่แค่ทำเพียง 2 มิติแต่ก้าวไกลไปถึงการปั้นแบบ 3 มิติซึ่งจะเป็นประโยชน์กับประเทศชาติในอนาคตเกี่ยวกับฝีมือการปั้นอย่างแน่นอน ด้าน รศ.ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ ราชบัณฑิต ปีนี้การพัฒนาของช่างปูนปั้นเดิมทีมีแค่ไม่กี่จังหวัดเช่นราชบุรี เพชรบุรี ซึ่งในฐานะที่ตนเองได้เป็นนักออกแบบสถาปัตยกรรมต่าง ๆ การมีช่างปูนที่มีความสามารถก็ทำให้การออกแบบได้สวยงาม ซึ่งเมื่อเคยได้ออกแบบอาคารรัฐสภาต้องเขียนแบบ ขนาดใหญ่กว่า 84 เมตรเท่าขนาดจริงการให้ช่างปูนได้ปั้นออกมาตามแบบถือว่าน่าพอใจและตอนนี้พบว่ามีช่างปูนที่มีความสามารถเกิดขึ้นอีกมาก ซึ่งจากที่ดูการแข่งขันมา 19 ครั้งก็พบว่ามีการพัฒนาไปอย่างมาก ขณะที่อาจารย์ วรพงษ์ อรุณเรือง ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ กล่าวว่า วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ เป็นองค์กรหลักในการสร้างบุคคลากรไปทำงานเพื่อประเทศชาติ การจัดกิจกรรมนี้เป็นการรักษาเอกลักษณ์ของชาติให้คงอยู่ต่อไป ซึ่งปัจจุบันมีช่างที่มีในอดีตได้เข้ามาร่วมกันทำงานกับช่างปั้นปูนรุ่นใหม่ ทำให้เกิดการสานต่อและสืบสานงานปั้นของประเทศไทยต่อไป การประกวดครั้งนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้มีหมายกำหนดที่จะเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดนิทรรศการศิลปะปูนปั้นแห่งประเทศไทยครั้งที่ 19 ในวันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน ศกนี้นับเป็นครั้งที่ 5 ที่พระองค์ท่านทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ต่อโครงการประกวดศิลปะปูนปั้นแห่งประเทศไทย ด้วยการเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดนิทรรศการและพระราชทานรางวัลด้วยพระองค์เองอันเป็นขวัญกำลังใจที่ดียิ่งแก่ประติมากรปูนปั้นและคณะกรรมการดำเนินงานทุกคน ในการที่จะจรรโลงและพัฒนาศิลปะปูนปั้นไปให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป การแข่งขันเริ่มตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน ถึงวันที่ 28 เมษายน 62 โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมชมการแสดงงานปูนปั้นและการแข่งขันปั้นปูน ได้ที่ พิพิธภัณฑ์ เพาะช่างเฉลิมพระเกียรติ วิทยาลัยเพาะช่าง ซึ่งจะมีการแข่งขันการปั้นปูนในหัวข้อ "นางสงกรานต์และสัตว์หาหนะ" ประเภทงานสำเร็จรูป การปั้นปูนสด หัวข้อเรื่อง "หิมพานต์" การปั้นประเภทปูนสำเร็จรูป ปูนทีพีไอ (ระดับเยาวชน) ในหัวข้อจิตอาสา และ "ตามรอครูปูนปั้นสุโขทัย" ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผลงานที่วิจิตรงดงาม บ่งบอกถึงความอ่อนช่อยในศิลปะของไทยที่มีมาแต่บรรพบุรุษ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ