กรุงเทพฯ--21 พ.ค.--นิด้าโพล
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มี อายุ 15 ปีขึ้นไป เรื่อง "ตำรวจเรียกดูใบอนุญาตขับรถ จะทำอย่างไร" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15 – 16 พฤษภาคม 2562 กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,251 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการเรียกดูใบอนุญาตขับรถ (ใบขับขี่) ของตำรวจ การสำรวจอาศัย การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0
จากการสำรวจเมื่อถามประชาชนถึงการมีใบอนุญาตขับรถ (ใบขับขี่) พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 68.75 ระบุว่า มีใบอนุญาต ขับรถ (ใบขับขี่) ขณะที่ ร้อยละ 31.25 ระบุว่า ไม่มีใบอนุญาตขับรถ (ใบขับขี่)
เมื่อถามผู้ที่มีใบอนุญาตขับรถ (ใบขับขี่) ว่าถ้าถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจขอดูใบอนุญาตขับรถจะทำอย่างไร พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 88.49 ระบุว่า ให้ดูใบอนุญาตขับรถ ตามที่เจ้าหน้าที่ร้องขอทันที รองลงมา ร้อยละ 10.93 ระบุว่า ถามถึงข้อหาที่ได้รับ ก่อนตัดสินใจว่าจะให้ดูใบอนุญาตขับรถ ตามที่เจ้าหน้าที่ร้องขอหรือไม่ ร้อยละ 0.34 ระบุว่า ถามถึงข้อหาที่ได้รับ แต่อย่างไรก็ไม่ให้ดูใบอนุญาตขับรถ และร้อยละ 0.12 ระบุว่า ไม่ให้ดูใบอนุญาตขับรถแน่นอน และให้ดูสำเนาใบอนุญาตขับรถ ในสัดส่วนที่เท่ากัน
เมื่อถามถึงการเคยอ้างยศ/ตำแหน่งหน้าที่ของตนเองหรือของผู้อื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจใบอนุญาตขับรถหรือถูกออกใบสั่งจากการกระทำผิดกฎจราจร พบว่า ผู้ที่มีใบอนุญาตขับรถ (ใบขับขี่) ส่วนใหญ่ ร้อยละ 98.61 ระบุว่า ไม่เคยอ้าง รองลงมา ร้อยละ 0.81 ระบุว่า เคยอ้าง และร้อยละ 0.58 ระบุว่า ไม่เคยถูกเรียกดูใบอนุญาตขับรถ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผู้ขับขี่ยานพาหนะ ที่อ้างยศ/ตำแหน่งหน้าที่ของตนเองหรือของผู้อื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกตรวจใบอนุญาตขับรถหรือถูกออกใบสั่งจากการกระทำผิดกฎจราจร พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.04 ระบุว่า เป็นการใช้ยศ/ตำแหน่งหน้าที่ของตนเอง/ผู้อื่น ในทางที่ผิด รองลงมา ร้อยละ 25.26 ระบุว่า เป็นเรื่องของการใช้ระบบพรรคพวก/เส้นสาย ในทางที่ผิด ร้อยละ 17.11 ระบุว่า เป็นเรื่องธรรมดาปกติของสังคมไทยแต่ยอมรับไม่ได้ ร้อยละ 16.39 ระบุว่า เป็นการสร้างความลำบากใจในการบังคับใช้กฎหมายของตำรวจ ร้อยละ 6.31 ระบุว่า เป็นเรื่องธรรมดาปกติของสังคมไทยและยอมรับได้ ร้อยละ 4.56 ระบุว่า เป็นการใช้ยศ/ตำแหน่งหน้าที่ของตนเอง/ผู้อื่น เพื่อขอความสะดวก ร้อยละ 4.24 ระบุว่า เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีให้กับคนในสังคม ร้อยละ 3.52 ระบุว่า ทุกคนต้องเคารพกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน ร้อยละ 2.80 ระบุว่า เป็นแค่การขอความอะลุ่มอล่วยจากตำรวจ ร้อยละ 0.80 ระบุว่า เป็นเรื่องของการสร้างเครือข่ายเพื่อการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในวันข้างหน้า และร้อยละ 1.60 ไม่แน่ใจ/ไม่ระบุ/ไม่แสดงความคิดเห็น
เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.79 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.82 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 15.59 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 37.09 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 12.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 51.64 เป็นเพศชาย ร้อยละ 48.28 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 8.31 มีอายุ 15 – 25 ปี ร้อยละ 14.31 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 24.06 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 33.02 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 20.06 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 0.24 ไม่ระบุอายุ
ตัวอย่างร้อยละ 94.72 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.36 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.72 นับถือศาสนาคริสต์/ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 1.20 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 21.26 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 74.26 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.36 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.12 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 31.73 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.98 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.67 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.62 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.64 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.36 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 11.03 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.19 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.70 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.87 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 17.58 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 17.03 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 4.24 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.36 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 15.42 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 27.10 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 26.70 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 11.59 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 4.72 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 5.04 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.43 ไม่ระบุรายได้