ไอดีซีรายงานยอดจำหน่ายเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ไม่รวมญี่ปุ่นมีอัตราการเติบโต 20.9 % ในปี พ.ศ. 2550

ข่าวเทคโนโลยี Tuesday February 5, 2008 15:17 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--5 ก.พ.--ไอดีซี
สิงคโปร์ และ ฮ่องกง 21 มกราคม พ.ศ 2551 จากผลการสำรวจเบื้องต้นของไอดีซีเกี่ยวกับตลาดคอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคลในภมิภาคเอเชียแปซิฟิก ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น มีการเติบโตประมาณ 20.9% หรือคิดเป็นจำนวน 66.6 ล้าน เครื่องในปี พ.ศ. 2550 ที่ผ่านมา โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทพกพา เช่น โน้ตบุ๊กยังคงเป็นตัวหลักในการผลักดันให้ ตลาดเติบโต ซึ่งแทบจะทุกประเทศที่ทำการสำรวจได้ระบุถึงอัตราการเติบโตถึงสองหลัก สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ ประเภทพกพาเมื่อเปรียบเทียบกับปีพ.ศ. 2549 อย่างไรก็ตาม Lenovo ยังคงสามารถรักษาความเป็นผู้นำตลาดของ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในภูมิภาคนี้แม้ว่า HP จะรุกอย่างหนักหน่วงในตลาดผู้บริโภคที่เป็นผู้ใช้งานตามบ้านเพื่อหวัง จะลดช่องว่างส่วนแบ่งทางการตลาดของตนเองที่ห่างจากผู้นำตลาดเกือบ 2 จุด ส่วน Dell Acer และ Founder เป็น ยี่ห้อที่มียอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมากที่สุดใน 5 อันดับแรก
ไบรอัน มา ผู้อำนวยการแผนกวิจัยด้านระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลประจำไอดีซีเอเซียแปซิฟิก กล่าวว่า “ปี่นี้จะเป็น ปีที่น่าตื่นเต้นของตลาดพีซี แม้ว่าจะมีปัจจัยด้านลบจาก วิกฤตเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่กำลังค่อยๆ ถดถอยแต่ ด้วยพื้นฐานในด้านต่างๆ ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟกที่ยังคงแข็งแกร่งจนคาดว่าตลาดก็น่าจะยังคงรักษาระดับอัตรา การเติบโต ได้ที่ 16.8% ในปีพ.ศ. 2551 จากการคาดการณ์อย่างระมัดระวัง (conservative) สภาพเศรษฐกิจในจีน จะส่งผลช่วยเร่งการเติบโตได้ทั้งช่วงก่อนและหลังงานกีฬาโอลิมปิกส์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทพกพาจะยังคง เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์่ยอดนิยมสำหรับประเทศทั้งหมดในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแข่งขันที่เริ่มจะเข้มข้นใน เรื่องของการออกแบบรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ที่ดึงดูดและน่าใช้งาน”
ในไตรมาสสุดท้ายของปี พ.ศ. 2550 อัตราการเติบโตไตรมาสต่อไตรมาสอยูที่ 1 % และมีอัตราการเติบโตต่อปีอยู่ที่ 21% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกับของปีก่อน หรือประมาณ 18.1 ล้านเครื่อง ซึ่งยังคงตรงกับที่ไอดีซีได้คาดการณ์ไว้ ในบางประเทศ เช่น อินเดีย มาเลเซีย และ เวียตนาม ได้แสดงข้อมูลที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ไว้ ทั้งนมีสาเหตุจากการ ล่าช้าของงานประมูลต่างๆ ขณะที่ตัวเลขของคอมพิวเตอร์แบบพกพาในอินโดนีเซียกลับมาเป็นปกติอีกครั้งหลังจาก ผลิตภัณฑ์สามารถที่ผ่านขั้นตอนระบบศุลกากรได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อน สำหรับอันดับของผู้ค้านั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป จากอันดับทั้งปีพ.ศ. 2550 โดย Lenovo เป็นผู้นำตลาดในไตรมาสที่ 4 ตามด้วย HP และ Dell ที่กำลังกลับมาฟื้นตัว อีกครั้งในภูมิภาคนี้ Acer และ Founder เป็นยี่ห้อที่มียอดจำหน่ายสูงสุดใน 5 อันดับแรก
“ถึงแม้ว่างานแสดงสินค้า SITEX จะดูประสบความสำเร็จน้อยกว่างาน COMEX แต่ตัวเลขตลาดคอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคลในสิงคโปร์ ก็ยังคงตรงตามเป้าหมายที่คาดไว้ในไตรมาสที่ 4 และมีอัตราการเติบโตต่อปีที่ 22% เมื่อเทียบ กับไตรมาสเดียวกับของปีก่อน” กล่าวโดย รูเบน แทน ผู้จัดการอาวุโสแผนกวิจัยด้านระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ของไอดีซี ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เขายังกล่าวอีกว่า เมื่อก้าวเข้าสู่ ปี พศ. 2551 กลุ่มลูกค้าผู้บริโภคทั่วไป จะเป็นตัวหลักในการผลักดันการเติบโตตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ในสิงคโปร์ ซึ่งจะช่วยหักลบความล่าช้าที่ อาจจะเกิดขึ้นของโครงการ Standard Operating Environment (SOE) โดยรัฐบาลสิงคโปร์
ด้าน เคธี่ ซิน ผู้จัดการแผนกวิจัยด้านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของไอดีซี ประจำภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกเช่นกัน ได้กล่าว่า “ตลาดฮ่องกงมีการเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถทำได้มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึง 7% ทั้งๆ ที่เป็นไตรมาส สุดท้ายของปี น่าจะเงียบเหงาแต่ทว่ายังคงมีการสั่งสินค้าเข้าคลังเพิ่มขึ้นจากตัวแทนจำหน่ายในช่องทางต่างๆ อีกทั้ง การที่ฮ่องกมีการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวมที่ดี ล้วนแต่เป็นการผลักดันให้ตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เติบโตต่อไปได้อีกในปี พ.ศ. 2551 ซึ่งคาดว่าไม่น่าจะมีปัญหาหรือ มีปัญหาน้อยมาก”
ทรัพย์ทวี ชัยสมบูรณ์ นักวิเคราะห์ กลุ่มตลาดฮาร์ดแวร์ บริษัท ไอดีซี ไทยแลนด์ จำกัด กล่าวเสริมว่า “สำหรับประเทศไทย ตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลยังคงมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องคิดเป็น 14% ในไตรมาส 4 ปี พ.ศ. 2550 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ซึ่งตรงไปตามที่คาดการณ์ไว้ แม้ว่าโครงการต่างๆ ของรัฐบาลที่มีการชะลอตัวเนื่องมาจากสภาพการเมืองที่ไม่แน่นอนในปัจจุบัน แต่งานแสดงสินค้าอย่างคอมมาร์ท ก็สามารถกระตุ้นยอดขายในตลาดกลุ่มผู้บริโภคเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นตัวช่วยให้ตลาดมีการเติบโตไปได้อีกในปีนี้”
ตารางที่ 1ยอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลปี พ.ศ. 2550 (เบื้องต้น)เทียบกับ ปีพ.ศ. 2549 จำแนกตามผู้ค้า ในเอเชียแปซิฟิกไม่รวมประเทศญี่ปุ่น
อันดับ ผู้ค้า ส่วนแบ่งตลาด พ.ศ. 2549 ส่วนแบ่งตลาด พ.ศ. 2550 อัตราการเติบโตต่อปี
1 Lenovo 17.4% 18.4% 27.4%
2 HP 11.1% 13.9% 52.3%
3 Dell 7.7% 7.8% 22.0%
4 Acer 5.4% 6.1% 37.5%
5 Founder 5.4% 5.1% 14.0%
Others 53.1% 48.8% 11.0%
รวม 100.0% 100.0% 20.9%
ที่มา: ไอดีซี มกราคม พ.ศ. 2551
ตารางที่ 2ยอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไตรมาสที่ 4 ปี พ.ศ. 2549 เทียบกับไตรมาสที่ 3 และ ไตรมาส 4 ปี พ.ศ. 2550 (เบื้องต้น) จำแนกตามผู้ค้าในเอเชียแปซิฟิกไม่รวมประเทศญี่ปุ่น
อันดับ ผู้ค้า ส่วนแบ่งตลาด ไตรมาสที่ 4 ปี พ.ศ. 2549 ส่วนแบ่งตลาด ไตรมาสที่ 3 ปี พ.ศ. 2550 ส่วนแบ่งตลาด ไตรมาสที่ 4 ปี พ.ศ. 2550 อัตราการเติบโตต่อปี เปรียบเทียบระหว่าง ไตรมาสเดียวกัน
1 Lenovo 18.8% 19.3% 19.6% 25.9%
2 HP 11.6% 13.9% 13.8% 45.6%
3 Dell 7.4% 7.9% 8.4% 38.9%
4 Acer 5.3% 6.6% 6.4% 45.4%
5 Founder 5.6% 5.1% 4.9% 5.2%
Others 51.3% 47.3% 46.9% 11.2%
รวม 100.0% 100.0% 100.0% 21.4%
ที่มา: ไอดีซี มกราคม พ.ศ. 2551
สอบถามข้อมูลหรือต้องการซื้อรายงานดังกล่าวข้างต้นกรุณาติดต่อ
คุณภาวดี พงศ์สุพรรณ ที่หมายเลข +662-651-5585 ต่อ 111หรืออีเมลล์มาที่ phawadee@idc.com
เกี่ยวกับไอดีซี
ไอดีซีเป็นบริษัทที่ปรึกษาและวิจัยข้อมูลการตลาดชั้นนำระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาไอที โทรคมนาคม และ คอนซูเมอร์เทคโนโลยี โดยนำเสนอข้อมูลจากการวิเคราะห์-เจาะลึกแก่ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที ผู้บริหาร และนักลงทุน ให้สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจจัดซื้อเทคโนโลยีและกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ ปัจจุบันไอดีซีมีนักวิเคราะห์ กว่า 850 คน ใน 50 ประเทศ ทำหน้าที่นำเสนอข้อมูล และ ให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์อย่างรอบด้านแก่ลูกค้าในเรื่อง เทคโนโลยี รวมถึงโอกาสทางธุรกิจและแนวโน้มของอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค และในแต่ละ ประเทศ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่สั่งสมมากว่า 42 ปี เพื่อช่วยให้ลูกค้าบรรลุทุกวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ไอดีซี เป็นบริษัทในเครือของไอดีจี ซึ่งดำเนินธุรกิจสื่อสายเทคโนโลยี วิจัย และจัดงานสัมมนา ชั้นนำระดับโลก ค้นหา ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.idc.co.th
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
คุณศศิธร แซ่เอี้ยว
ที่หมายเลข 662-651-5585 ต่อ 113
Email:

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ