กรุงเทพฯ--29 พ.ค.--124 คอมมิวนิเคชั่นส คอนซัลติ้ง
การขนส่งร่วมที่มีประสิทธิภาพระหว่างบริษัทขนส่ง สามารถส่งผลในการลดต้นทุนและประหยัดเวลาในการส่งมอบ
บริษัทฮิตาชิ จำกัด (TSE: 6501, "Hitachi") จับมือบริษัทฮิตาชิ ทรานสปอร์ต ซิสเต็มส์ จำกัด (TSE: 9086,"Hitachi Transport System") เปิดตัวบริการการใช้ยานพาหนะขนส่งร่วมกันในประเทศไทย โดยจะเปิดให้บริการตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2562 นี้เป็นต้นไป บริการดังกล่าวจะอยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทฮิตาชิ เอเชีย (ประเทศไทย) ("Hitachi Asia (Thailand)") จำกัด และบริษัทฮิตาชิ ทรานสปอร์ต ซิสเต็มส์ แวนเทค (ประเทศไทย) Hitachi Transport System Vantec (Thailand) โดยบริการนี้จะช่วยจัดยานพาหนะได้อย่างเหมาะสมในการจัดส่งสินค้าตามรายการจากผู้ส่ง ตอบโจทย์การช่วยลดต้นทุนและประหยัดเวลาในการจัดส่งสินค้า
บริษัทฮิตาชิ เอเชีย (ประเทศไทย) และบริษัทฮิตาชิ ทรานสปอร์ต ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) ได้ร่วมทดสอบและรับรองผลของบริการนี้ ซึ่งมีผลในการเพิ่มประสิทธิภาพ อัตรารอบการใช้งาน(1) ให้ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 15 มาอยู่ที่ร้อยละ 30(2) ซึ่งเป็นตัวเลขที่ได้จาก การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ (Proof of Concept (PoC)) ที่ทำร่วมกับบริษัทยูนิชาร์ม คอร์ปอร์เรชั่น (Unicharm Corporation("Unicharm") ในการทดสอบ การนำบริการนี้มาใช้กับการขนส่งโดยตู้คอนเทนเนอร์ในระหว่างเดือนมกราคม 2562 ถึงเดือนมีนาคม 2562 โดยได้เปิดให้บริการกับบริษัทยูนิชาร์ม สยาม-ฮิตาชิ เอลลิเวเตอร์ จำกัด และบริษัทฮิตาชิ อินดัสเตรียล เทคโนโลยี (ประเทศไทย) ตั้งแต่เดือนเมษายน 2562
สำหรับบริษัทจัดส่งสินค้าและดำเนินงานด้านโลจิสติกส์ บริษัทฮิตาชิ เอเชีย (ประเทศไทย) และบริษัทฮิตาชิ ทรานสปอร์ต ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จะเริ่มเปิดให้บริการการจัดส่งโดยตู้คอนเทนเนอร์ในเดือนมิถุนายน 2562 และขยายบริการให้ครอบคลุมการจัดส่งโดยรถบรรทุก โดยมีเป้าหมายจะให้บริการได้ 21,000 คันภายในปีงบประมาณ 2566 และมียอดขายต่อปีที่ 8 พันล้านเยน โดยขยายการส่งมอบบริการไปยังโรงงานและบริษัทกระจายสินค้า บริษัทด้านโลจิสติกส์ และบริษัทจัดส่งสินค้า สำหรับบริการนี้จะตอบโจทย์ด้านนวัตกรรมดิจิทัลในภาคโลจิสติกส์ รวมถึงมีส่วนในการช่วยลดปัญหาการจราจรติดขัดในประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมุ่งหน้าสู่การเป็น Value-based Economy หรือเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ตามวิสัยทัศน์ประเทศไทย 4.0. โดยเส้นทางไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจอาจก่อให้เกิดความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นในด้านโลจิสติกส์และการขนส่ง ซึ่งอาจนำไปสู่การจราจรแออัด มลพิษทางอากาศ การขาดบุคลากรด้านขับรถ และต้นทุนด้านโลจิสติกส์ที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วประเทศ การบูรณาการด้านโลจิสติกส์และการใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมเป็นความลงตัวที่รัฐบาลไทยมองหาเพื่อลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์จากร้อยละ 14 (2559) ให้ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 12 ของจีดีพีภายในปี 2564 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
ด้วยเหตุนี้ บริษัทฮิตาชิ เอเชีย (ประเทศไทย) และบริษัทฮิตาชิ ทรานสปอร์ต ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จึงได้พัฒนาบริการการใช้ยานพาหนะขนส่งร่วมกันสำหรับภาคโลจิสติกส์ของไทย โดยผสมผสานเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญของกลุ่มไว้ในบริการนี้ ซึ่งสามารถบูรณาการข้อมูลในด้านต่างๆ อาทิเช่น สถานะการดำเนินงานของยานพาหนะและพื้นที่ว่างที่สามารถรองรับการขนส่งสินค้าได้ โดยรวบรวมข้อมูลดังกล่าว ณ จุดบริการหลายแห่งไว้บนหน้าสรุปเดียว และสามารถใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อค้นหายานพาหนะที่เหมาะสมสำหรับการส่งมอบสินค้าแต่ละรายการ ที่โดยบริการนี้ยังสามารถช่วยค้นหายานพาหนะที่เหมาะสมโดยใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ทั้งนี้ระบบจะจับคู่สถานะต่างๆ อาทิเช่น ประเภทของรถ อุณหภูมิ และความน่าเชื่อถือของคนขับรถที่ได้รับการให้คะแนน ข้อมูลการจราจร และอื่นๆ ตามรายการการจัดส่ง
การเปิดตัวการให้บริการนี้จะช่วยให้ผู้ดำเนินธุรกิจในภาคโลจิสติกส์ได้ประโยชน์จากการใช้ยานพาหนะที่ว่างจากการใช้งานจากจำนวนยานพาหนะทั้งหมดที่มีอย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถใช้ยานพาหนะขนส่งร่วมกันได้สำหรับสินค้าที่มีปลายทางใกล้เคียงกัน นอกจากนี้ ยังช่วยลดเวลาการทำงานของคนขับรถและประหยัดค่าน้ำมัน จากการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
นายโคสุเกะ โฮริอุจิ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฮิตาชิ เอเชีย (สิงคโปร์) จำกัก กล่าวว่า "เรามีความยินดีที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ด้วยบริการทางดิจิทัลของเรา เรามุ่งมั่นที่จะผลักดันบริการด้านนวัตกรรมเพื่อสังคมเพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนของประเทศไทยผ่านการสรรสร้างร่วมกันของลูกค้าและพันธมิตรของเรา รวมทั้งเทคโนโลยีจากศูนย์ลูมาด้า Lumada Center"
นาย มิทูชิกะ นากาโน กรรมการผู้จัดการ บริษัทฮิตาชิ ทรานสปอร์ต ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "กลุ่มบริษัทฮิตาชิ ทรานสปอร์ต ซิสเต็มส์ จะสร้างประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และการขนส่งที่ไว้วางใจได้ทั่วประเทศไทย โดยใช้ประโยชน์จากความรู้ความชำนาญที่เราได้สะสมมาจากทั่วโลกและในประเทศ เราจะเร่งสร้างความร่วมมือกับบริษัทขนส่งในประเทศไทย เพื่อขยายและเสริมความแข็งแกร่งบริการในด้านนี้ให้ยิ่งยวดขึ้นไป"
ดร. สมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า"กนอ. ได้รับความร่วมมือจากจากองค์กรขนาดใหญ่ในการเปิดตัวเทคโนโลยีสมัยใหม่ อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ เพื่อสร้างเศรษฐกิจเชิงมูลค่า ซึ่งจะสามารถนำความรู้และเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ในนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC อันจะเป็นศูนย์กลางที่สำคัญสำหรับการค้า การลงทุนในภูมิภาค ทั้งนี้ที่ผ่านมา กนอ. ได้รับความร่วมมือจากฮิตาชิด้วยดีเสมอมา ในการส่งเสริมการผลิตอัจฉริยะ สมาร์ทโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งฮิตาชิได้พิสูจน์ให้เห็นถึงการผลิตอัจฉริยะแล้วในพื้นที่ EEC และได้จัดทำโซลูชั่นสมาร์ทโลจิสติกส์อันทันสมัย โดยจะช่วยในการพัฒนาทั้งในด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมสำหรับนิคมอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนต่อไป"
(1) รอบการใช้คอนเทนเนอร์: คอนเทนเนอร์ที่ใช้ซ้ำเพียงขาเดียวในการนำสินค้าเข้า ซึ่งปกติมักตีรถเปล่ากลับ โดยนำมาใช้บรรทุกขาส่งสินค้าออก
(2) จากแผนคำนวณการใช้คอนเทนเนอร์ในลักษณะนี้ อัตรารอบการใช้คอนเทนเนอร์จะดีขึ้นระหว่างร้อยละ 15 ถึงร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับแต่ก่อน
เกี่ยวกับ บริษัท ฮิตาชิ เอเซีย จำกัด
บริษัท ฮิตาชิ เอเซีย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือฮิตาชิ มีสำนักงานใหญ่อยู่ในสิงคโปร์ บริษัทมีสำนักงานกระจายอยู่ในประเทศกลุ่มอาเซียน คือ อินโดนีเชีย มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม และให้ความสำคัญกับธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคมที่ช่วยตอบโจทย์ความท้าทายของสังคม ฮิตาชิ เอเซีย และบริษัทในเครือนำเสนอระบบข้อมูลข่าวสารและโทรคมนาคม พลังงาน โครงสร้างพื้นฐานทางสังคมและระบบอุตสาหกรรม ระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องจักรในการก่อสร้างรวมทั้งอุปกรณ์และชิ้นส่วนที่มีความสามารถระดับสูง ระบบยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและอื่นๆ ในหลายรูปแบบ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฮิตาชิ เอเซีย สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ของบริษัทได้ที่ https://www.hitachi.com.sg.
เกี่ยวกับ บริษัท ฮิตาชิ จำกัด
บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (TSE: 6501) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มุ่งมั่นถ่ายทอดนวัตกรรมที่ช่วยตอบโจทย์ความท้าทายของสังคม โดยผสมผสานเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ เทคโนโลยีสารสนเทศ และผลิตภัณฑ์/ระบบ เข้าด้วยกัน รายรับตามบัญชีงบประมาณของบริษัทเมื่อปีงบ 2561 (สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2562) คิดเป็นจำนวน 9,480.6 พันล้านเยน (85.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) กลุ่มฮิตาชิมีพนักงานประมาณ 296,000 คนทั่ว ฮิตาชินำเสนอธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคมโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลโดยใช้ ลูมาด้า (Lumada) ใน 5 อุตสาหกรรม ได้แก่ การติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย (mobility) การใช้ชีวิตอัจฉริยะ (Smart Life) อุตสาหกรรม พลังงาน และไอที สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฮิตาชิ เข้าไปที่เว็บไซต์ของบริษัทที่ http://www.hitachi.com
เกี่ยวกับ บริษัทฮิตาชิ ทรานสปอร์ต ซิสเต็มส์ แวนเทค (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท บริษัทฮิตาชิ ทรานสปอร์ต ซิสเต็มส์ แวนเทค (ประเทศไทย) เป็น บริษัท ย่อยของ บริษัท ฮิตาชิ ทรานสปอร์ต ซิสเต็มส์ จำกัด มีสำนักงานใหญ่ที่จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย บริษัทฯ เป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์ แบบครบวงจรซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ 3PL/contract logistics Frieght forwarding การขนส่งหนัก คลังสินค้าและกระจายสินค้า รวมทั้งให้คำปรึกษาด้านโลจิสติก บริษัท มีสำนักงาน 10 แห่งและคลังสินค้าในประเทศไทย สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ บริษัท ที่ http://www.hitachi-tstv.com/
เกี่ยวกับ บริษัท ฮิตาชิ ทรานสปอร์ต ซิสเต็มส์ จำกัด
บริษัท ฮิตาชิ ทรานสปอร์ต ซิสเต็มส์ จำกัด(TSE: 9086) มีสำนักงานใหญ่ที่กรุงโตเกียวประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์แบบครบวงจร รายได้รวมของบริษัท สำหรับปีงบประมาณ 2561 (สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2562) มีมูลค่ารวม 708.8 พันล้านเยนและ บริษัท มีพนักงานประมาณ 46,300 คนทั่วโลก ภายใต้สโลแกนแบรนด์ของเรา" มุ่งสู่อนาคต" และแนวคิดธุรกิจของเรา " LOGISTEED" กลุ่มฮิตาชิ ทรานสปอร์ต ซิสเต็มส์ มุ่งมั่นที่จะขยายพื้นที่การทำงานร่วมกันในธุรกิจและอุตสาหกรรม พร้อมทั้งสร้างนวัตกรรมใหม่เหนือขอบเขตของโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของเรา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ บริษัท ที่ https://www.hitachi-transportsystem.com/th/