กรุงเทพฯ--6 มิ.ย.--คิปส์ คอมมูนิเคชั่น
คาเฟ่ อเมซอน (Cafe Amazon) แบรนด์กาแฟของไทย ที่ถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 2545 โดยเริ่มต้นให้บริการภายในสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่น จากจุดยืนทางการตลาดที่มุ่งหวังเป็น "Green Oasis" เพื่อตอบสนองต่อไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค โดยได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดีตลอดกว่า 17 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันเปิดให้บริการทั้งในและต่างประเทศทั้งหมดกว่า 2,700 สาขา ภายใต้แนวคิด "Green Oasis" ที่มีความต้องการเป็นร้านกาแฟในบรรยากาศธรรมชาติ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้บริโภค รวมถึงคำนึงถึงชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม" ที่ใส่ใจสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น
โดยปัจจุบันทาง คาเฟ่ อเมซอน มีนโยบายร่วมสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์แก้วและวัสดุต่างๆ ภายในร้านกาแฟที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยปัจจุบันได้มีการปรับใช้แล้วดังนี้
แก้วร้อน BIO สามารถย่อยสลายได้โดยการฝังกลบ 180 วัน ทุกสาขาทั่วประเทศกว่า 12,600,000 ใบ/ปี ช่วยลดปริมาณขยะ 146 ตัน/ปี
หลอด BIO ห่อกระดาษ สามารถย่อยสลายได้โดยการฝังกลบ 180 วัน ทุกสาขา 270 ล้านเส้น/ปี ช่วยลดปริมาณขยะ 202.50 ตัน/ปี
แก้วเย็น PLA สามารถย่อยสลายได้โดยการฝังกลบ 180 วัน จำนวน 10 สาขา กว่า 800,000 ใบ/ปี ช่วยลดปริมาณขยะ 15.6 ตัน/ปี
รวมถึงการใช้ถุงกระดาษทดแทนถุงพลาสติกใส่เบเกอรี่ และยังเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย จากข้อมูลข้างต้นทั้งหมด ทำให้คาเฟ่ อเมซอน สามารถช่วยลดประมาณขยะได้ถึงประมาณ 370 ตัน / ปี (ข้อมูลปี 2561)
นอกจากนี้ คาเฟ่ อเมซอน ยังมีการออกแบบตกแต่งร้านด้วยบรรยากาศของพืชพรรณไม้ให้สดชื่นและยังคำนึงถึงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใส่ใจในทุกรายละเอียดตั้งแต่การออกแบบร้าน วัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้ ตลอดจนเฟอร์นิเจอร์ที่นำมาตกแต่ง เพื่อให้ลูกค้าผู้เข้ามาใช้บริการสามารถดื่มด่ำไปกับรสชาติกาแฟ รู้สึกผ่อนคลาย และวางใจอย่างเต็มที่ว่าความสุขที่ได้รับนั้น มีส่วนช่วยบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อม
ให้อยู่ดีมีสุขไปด้วยกัน หรือรบกวนสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด โดยมีสาขาต้นแบบ คือ ร้าน Cafe Amazon @ PTT STATION สาขา สามย่าน และ "ร้าน Cafe Amazon @ ปตท. สำนักงานใหญ่"
คาเฟ่ อเมซอน ได้สะท้อนเจตนารมณ์การดำเนินธุรกิจควบคู่การดูแลสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมของกลุ่ม ปตท. และจะเป็นจุดเริ่มต้นของการต่อยอดความร่วมมือเพื่อสร้างธุรกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่อไป