ไทยพีบีเอสตั้งเป้า ชู Informed Citizen Content ขยายฐานเด็กเยาวชนครอบครัว

ข่าวทั่วไป Monday June 17, 2019 15:55 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 มิ.ย.--ไทยพีบีเอส ไทยพีบีเอสเดินหน้าปรับ Content ข่าว-รายการ กำหนด Segment สร้าง Informed Citizen มุ่งขยายฐานผู้ชมบน Platform OTT เติมเต็มช่องว่างให้เด็กเยาวชนและครอบครัว พร้อมให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้พิการ ปรับโครงสร้างองค์กร พัฒนาบุคลากรเป็น Transmedia ในภาวะที่สื่อทุกสื่อกำลังปรับตัว ปรับกลยุทธ์เพื่อแข่งขันในตลาดทีวีดิจิทัล โดยเฉพาะหลังการปิดตัวลงของ 7 ช่องทีวีดิจิทัล ไทยพีบีเอสเร่งปรับกลยุทธ์เพื่อเดินหน้าให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในยุค Media Disruption แนวทางของผู้บริหารเบอร์หนึ่งอย่าง รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธาณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ได้ให้สัมภาษณ์ถึงทิศทางการทำงานของไทยพีบีเอส ว่า "ไทยพีบีเอสได้เร่งทบทวนกลยุทธ์ โดยยังยึดมั่นภารกิจเพื่อสาธารณะภายใต้งบประมาณที่มีอยู่ให้สามารถทำประโยชน์และคุ้มค่าต่อสังคมมากที่สุด มีประเด็นหลักๆ เช่น การพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้ทำงานแบบ Multi Skills มากขึ้น ต้องสร้าง content ที่เหมาะกับแต่ละ Platform หรือเรียกว่า Transmedia แต่คงอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม ความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นความแข็งแรงและจุดเด่นของไทยพีบีเอส อีกทั้งจะปรับโครงสร้างองค์กรให้เป็น Content Based มากขึ้น นำร่องสร้างหน่วยย่อยๆ ในลักษณะของ Business Unit บริหารจัดการได้อย่างคล่องตัวเพื่อสนองความต้องการของสังคมได้มากขึ้นและทำงานแบบความร่วมมือกับเครือข่ายพันธมิตรได้ดีขึ้น เช่น หน่วยสื่อสารภัยพิบัติ หน่วยที่มุ่งสื่อสารให้บริการประชาชน หน่วย Thai PBS World ที่เน้นนำเนื้อหาของไทยออกไปสู่ Global และอีก 2 กลุ่มเนื้อหาที่เป็นจุดแข็งของไทยพีบีเอส คือ หน่วยผลิตสารคดี และศูนย์สื่อเพื่อเด็กเยาวชนและครอบครัว ซึ่งทั้งหมดเป็นทิศทางที่กำลังเร่งพัฒนาในเร็วๆ นี้ นอกจากนั้น การปรับเนื้อหาให้สามารถแข่งขันได้มากขึ้น ไทยพีบีเอสได้กำหนด Segment ของตัวเองเป็นการสนองตอบและสร้างกลุ่มเป้าหมายแบบ Informed Citizen เนื้อหาของข่าวและรายการมุ่งทำให้ผู้ชมเป็นพลเมืองตื่นรู้ หรือพลเมืองประเทืองปัญญา ที่เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างถูกต้องรอบด้าน เพราะจุดแข็งของ ไทยพีบีเอส คือ ข้อมูลข่าวสารอยู่บนความถูกต้อง น่าเชื่อถือ เป็นธรรม ปราศจากอคติ ปลอดจากการแทรกแซงของกลุ่มทุนและการเมือง มุ่งสื่อสารเพื่อหาทางออกอย่างสร้างสรรค์ร่วมกัน โดยจะเพิ่มรูปแบบการนำเสนอให้น่าสนใจและน่าติดตามมากขึ้น ซึ่งจะเริ่มเห็นภาพการปรับตัวของไทยพีบีเอสได้ตั้งแต่เดือนกรกฏาคมเป็นต้นไป จากสถานการณ์การคืน 7 ช่องทีวีดิจิทัล มีผลทำให้ช่องเด็กหายไป ไทยพีบีเอสในฐานะสื่อสาธารณะให้ความสำคัญกับสื่อเพื่อเด็กและครอบครัวมาโดยตลอด จึงมีต้นทุนทางด้านความรู้ และเครือข่ายความร่วมมือด้านเด็กซึ่งพร้อมที่จะเติมเต็มช่องว่างนี้ เรามีแผนที่จะพัฒนา ศูนย์สื่อเพื่อเด็กและครอบครัว เพื่อต่อยอดเนื้อหารายการเด็กให้แข็งแรงขึ้น ทั้งสื่อทางหน้าจอทีวี สื่อออนไลน์ และพื้นที่กิจกรรมการเรียนรู้ ขยายเครือข่ายที่ทำงานด้านเด็ก รวมถึง Gamer ที่ผลิตเกมสำหรับเด็ก นอกจากนั้นเรามีสถาบันวิชาการสื่อสาธารณะ ที่ทำวิจัยติดตามพฤติกรรมการรับสื่อของเด็ก กลุ่มอายุ 3-6 ปี และกลุ่มอายุ 7-11 ปี ทั้งสองกลุ่มนี้ต้องการสื่อที่ตอบสนองพัฒนาการในช่วงวัย เราจึงให้ความสำคัญมาก ผลการวิจัยพบว่าเด็กวัย 3-6 ปี ยังดูทีวีเป็นอันดับแรก รองลงมาคือการอ่านหนังสือและดู YouTube ส่วนเด็กอายุ 7-11 ปี พบว่าใช้สื่อ YouTube มากที่สุด รองลงมาคือโทรทัศน์ ไทยพีบีเอสจึงเชื่อมั่นว่าทุนทางสังคมที่เราสั่งสมมานาน จะทำให้ศูนย์สื่อเพื่อเด็กและครอบครัว สามารถสร้างสรรค์ Content ที่มีคุณภาพ และตอบสนองการวางใจของครอบครัวได้มากขึ้น อีกหนึ่งความท้าทายของไทยพีบีเอส ในขณะที่ผู้ชมรับสื่อผ่านหน้าจอโทรทัศน์มีจำนวนลดลง และหันมาชมผ่านทางออนไลน์มากขึ้น เราจึงเตรียมที่จะเผยแพร่ Content ผ่านช่องทาง OTT ซึ่งไทยพีบีเอสเรียกว่าช่อง "VIPA" รองรับผู้ชมทางออนไลน์ที่สนใจเนื้อหาคุณภาพในแบบไทยพีบีเอส และมุ่งสร้างเนื้อหาเชิงสาระที่สามารถสร้างความสนใจสำหรับกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น โดยวาง Positioning เป็น Passionate Learners คือ คนที่กระตือรือร้นแสวงหาการเรียนรู้ และยังเป็นการเปิดพื้นที่ในการสร้างสรรค์ผลงานจาก Creator Online ส่งเสริมการมีส่วนร่วมบนสื่อออนไลน์อีกด้วย ด้านเป้าหมายเชิงสังคมของไทยพีบีเอส ก็คือมุ่งสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับคนทุกกลุ่ม เราเป็นต้นแบบในการริเริ่มนวัตกรรมเพื่อให้ผู้พิการสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างเท่าเทียม (Television for All) โดยจัดทำ Closed Caption อักษรบรรยายภาพ (CC) และจัดทำ Audio Description เสียงบรรยายแทนภาพ (AD) ซึ่งปัจจุบันเราผลิตรายการที่มี AD และ CC เพื่อรองรับผู้พิการได้มากกว่าที่ กสทช.กำหนดถึง 3 เท่าตัว (มากกว่า 180 นาทีต่อวัน) และในอนาคตเราจะจัดทำเพิ่มมากขึ้น จากทั้งหมดที่กล่าวมาความท้าทายของ ไทยพีบีเอสในอุตสาหกรรมสื่อ สรุปได้ว่าหากเราจะรองรับความเปลี่ยนแปลงได้มากเพียงใด ขึ้นอยู่กับการปรับตัวได้เร็วขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะบุคลากรของไทยพีบีเอสก็ต้องเร่งปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงเพื่อพร้อมผลิตงานที่คุ้มค่าสู่สังคม เราจะยังคงความเข้มข้นของภารกิจการเป็นที่พึ่งของข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้องให้สังคมได้ในทุกสถานการณ์ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมเนื้อหาที่ลงทุนในเรื่องของคุณภาพและความสร้างสรรค์ เราตั้งเป้าในแต่ละปีว่าจะสร้างผลกำไรอะไรให้กับสังคมได้บ้าง กำไรของเรา คือ ผลประโยชน์ของสังคมที่จะได้รับจากไทยพีบีเอส"

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ