Work Life Balance เทคนิคใช้เวลาวันหยุด ไม่ให้เกิดภาวะซึมเศร้าก่อนวันทำงาน (จากหนังสือ Work Life Balance ด้วยการหยุดพักจริง ๆ )

ข่าวบันเทิง Friday June 21, 2019 13:33 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 มิ.ย.--อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง ไลฟ์สไตล์มนุษย์เงินเดือนที่แสนงานยุ่งตลอดเวลา ทำให้นิยามคำว่า Work Life Balance ดูจะห่างไกลความเป็นจริง หลายครั้งพอได้หยุดยังมีเรื่องงานให้กังวลจนส่งผลต่อพฤติกรรมที่ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงไปอีก ปัญหานี้มีทางออกที่สามารถทำได้ด้วยการเปลี่ยนความคิดเพื่อให้สมองและร่างกายได้พักผ่อนอย่างแท้จริงนั่นเอง นายแพทย์มาซากิ นิชิดะ แพทย์เฉพาะทางด้านจิตวิทยาและผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาอาการที่เกี่ยวกับการนอน ผู้เขียนหนังสือ Work Life Balance ด้วยการหยุดพักจริง ๆ ลิขสิทธิ์แปลไทยโดยสำนักพิมพ์ Shortcut ได้กล่าวว่า "ในสังคมการทำงานของญี่ปุ่นที่มีเวลาทำงานแสนยาวนาน ผมเองครุ่นคิดอยู่เสมอว่าควรจะหยุดพักอย่างไรดี ไม่ใช่เพื่อคนไข้เท่านั้น แต่เพื่อรักษาสุขภาพของตัวเองด้วย ผมจึงอยากเล่าถึงความสำคัญของการหยุดพัก ทั้งต่องานและการใช้ชีวิตส่วนตัว ผสมผสานทั้งแง่มุมปัจจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ และประสบการณ์การรักษาคนไข้ของตัวผมเอง ผมหวังว่าความคิดที่มีต่อการหยุดพักจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น เพื่อการทำงานพร้อมกับสุขภาพกายใจ ผมก็มีความยินดีอย่างที่สุดแล้ว" ครั้งนี้จึงขอแนะนำ "เทคนิคใช้เวลาวันหยุด ไม่ให้เกิดภาวะซึมเศร้าก่อนวันทำงาน" ข้อมูลจากหนังสือ Work Life Balance ด้วยการหยุดพักจริง ๆ เพราะไม่เฉพาะคนไข้โรคซึมเศร้าเท่านั้นที่กลุ้มใจเรื่องแบบนี้ ยังมีเหล่าคนทำงานจำนวนไม่น้อยที่พยายามอย่างหนักในทุก ๆ วัน ก็กลุ้มใจเรื่องแบบนี้เช่นเดียวกัน มาตรการที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีในการป้องกัน "ภาวะซึมเศร้าในวันหยุด" คือ การแบ่งเวลาออกเป็นช่วง ๆ อย่างคร่าว ๆ เช่นแบ่งเป็นช่วงเช้ากับช่วงบ่าย ถ้าใช้เวลาช่วงเช้าคิดงานแล้ว เวลาช่วงบ่ายจะตัดเรื่องงานออกไป 100 เปอร์เซ็นต์ โดยให้เวลากับเรื่องที่ตนเองชอบ ไม่ว่าจะเป็นออกกำลังกายหรือดูภาพยนตร์ โดยให้เวลากับเรื่องที่ตนเองชอบ ไม่ว่าจะเป็นออกกำลังกายหรือดูภาพยนตร์ หรือจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงเวลา คือ เช้า บ่าย และกลางคืน ก็ได้เช่นกัน หรือยอมจำนนไปเลยว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่คิดเรื่องงานในวันหยุด แล้วกำหนดว่าช่วงเวลาใดจะทำงานหรือเรื่องส่วนตัวอื่น ๆ หากกำหนดแบบนี้ ถึงแม้ช่วงเช้าจะดูโทรทัศน์ไปเรื่อยเปื่อยแต่ช่วงบ่ายได้วางแผนทำงานอย่างอื่นไว้แล้ว จึงสามารถเปลี่ยนโหมดความรู้สึกได้ง่ายขึ้น การปล่อยกายปล่อยและใจโดยไม่สนใจเวลาในวันหยุด เป็นการใช้วันหยุดได้อย่างคุ้มค่า แต่ทำได้จริงยาก หากสภาพแวดล้อมรอบตัวเปลี่ยนไปเลย เช่น ได้ไปเที่ยวพักผ่อนรีสอร์ตประเทศทางใต้ คงสามารถใช้ชีวิตอย่างสนุกและลืมเรื่องงานไปได้ แต่ต้องคำนึงว่าวันหยุดเกือบทั้งหมดของเราคือการใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านตัวเอง สรุปได้ว่า การแบ่งเวลาวันหยุดออกเป็น 2 หรือ 3 ช่วง คืออย่างแรกที่อยากให้ลองทำดู เพื่อวางแผนวันหยุดพักผ่อนว่าจะทำอะไร จะใช้เวลาอย่างไร เพียงเท่านี้ เรากำหนดไว้อย่างคร่าว ๆ จึงไม่ได้รู้สึกแย่มากนักหากทำตามไม่ได้ เมื่อเทียบกับการวางแผนอย่างละเอียดแต่ทำไม่ได้จริง ซึ่งอาจส่งผลกระทบมากกว่า ถึงอย่างไรก็ต้องมากลัดกลุ้มเรื่องงานในวันหยุดอยู่แล้ว ควรใช้วิธีจำกัดเวลางานลงไปเลย เพื่อใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น พบกับเคล็ดลับบอกลาอาการหมดแรงในทุก ๆ วัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานด้วยการพักผ่อนให้ถูกวิธีอีกมากมาย ในหนังสือ Work Life Balance ด้วยการหยุดพักจริง ๆ วางจำหน่ายแล้ววันนี้ที่ร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ หรือสั่งซื้อผ่าน www.amarinbooks.com
แท็ก นิยาม   สมอง   ลาว  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ