กรุงเทพฯ--25 มิ.ย.--มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ดร.พัทธนันท์ เพชรเชิดชู รองอธิการบดีสายภาคีสัมพันธ์ และผู้บริหารวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี ( College of Innovative Business and Accountancy: CIBA ) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) กล่าวว่า ในการขยายฐานรายได้ของภาคอุตสาหกรรม หลายแห่งมาจากการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ส่วนหนึ่งก็ได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยทั้งภาครัฐและเอกชน ให้เข้ามาช่วยคิดวิจัยและพัฒนาและร่วมลงทุนให้เกิดการพัฒนาต่อยอดแต่ก็อยากให้มีความร่วมมือกันมากกว่านี้ เชื่อว่าหากรัฐบาลสนับสนุนหรือโปรโมทภาคเอกชนหรือภาคอุตสาหกรรมให้มาทำความร่วมมือด้านนี้กับมหาวิทยาลัยมากขึ้นในการร่วมกันคิดค้นสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมใหม่เพื่อการพัฒนาประเทศในทุกด้าน โดยอาจจะให้สิทธิทางภาษีสามารถลดหย่อนมากกว่าเดิม จะทำให้ภาคธุรกิจหันมาทำความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในการวิจัยพัฒนามากขึ้นกว่าเดิมแน่นอน
"ที่มหาวิทยาลัยและวิทยาลัยของจีน เช่น ในหนานจิง มีบริษัทมาตั้งออฟฟิศในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยในแต่ละแห่งเป็นร้อยบริษัท เพื่อมาเชื่อมกับมหาวิทยาลัยและนักศึกษา เอาโปรเจคมาให้เด็กทำงานร่วมกับเขา บริษัทเหล่านี้รัฐบาลจีนจะให้สิทธิประโยชน์มากมาย เช่น สิทธิประโยชน์ด้านCorporate tax ของมณฑล เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เข้ามาร่วมลงทุนพัฒนานวัตกรรมใหม่ร่วมกัน อยากให้รัฐบาลไทยให้การสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมแบบนี้บ้าง เพราะถ้าไม่มีแรงจูงใจที่มากพอ ก็ยากที่จะขับเคลื่อนในภาพใหญ่ ไม่จูงใจภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่จะให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในการวิจัยพัฒนาสิ่งต่างๆร่วมกันกับสถาบันการศึกษา" ดร.พัทธนันท์ กล่าว
ดร.พัทธนันท์ กล่าวในตอนท้ายว่า เดิมรัฐบาลสนับสนุนสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้กับภาคเอกชนซึ่งสามารถมองได้ใน 2 ประเด็น คือ 1.ค่าใช้จ่ายที่จ้างนักศึกษาในโครงการสหกิจศึกษา 2. เงินบริจาคเพื่อการศึกษา แต่ไม่ได้อยากให้มองแค่ประเด็นนั้น อยากให้เกิดมีการร่วมมือกันอย่างจริงจัง ดึงเอาความรู้จากภาคอุตสาหกรรมเข้ามาในภาคอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมีความรู้ มีนักวิชาการ แต่เทคนิคคอลจริงๆต้องภาคอุตสาหกรรม อยากเสนอรัฐบาลชุดใหม่สนับสนุนเรื่องนี้อย่างจริงจัง ถ้าเอกชนมาจับมือมหาวิทยาลัยพัฒนางานวิจัยด้านต่างๆขึ้นมา รัฐบาลสามารถประกาศให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เพื่อสร้างแรงจูงใจที่มากพอและต้องมีกลไกให้ทั้งมหาวิทยาลัยรัฐและมหาวิทยาลัยเอกชน