กรุงเทพฯ--27 มิ.ย.--outdoorpr
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เผยความสำเร็จจัดงาน "Thailand Cybersecurity 2019" จบลงอย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้การจับมือร่วมกับสองอีเว้นต์ชั้นนำของโลก "อาร์เอสเอ คอนเฟอเรนซ์ (RSA(R) Conference) และไซเบอร์ เทคโกลบอล อีเวนต์ (CYBERTECH Global Events)" กระแสตอบรับ 2 วัน มีผู้ร่วมงานมากกว่า 3,000 คน หลั่งไหลชมนวัตกรรมจากองค์กรทั้งไทยและนานาชาติ พร้อมไฮไลท์ของเวทีสัมมนาที่มีผู้เชี่ยวชาญมาอัปเดตและแชร์เทรนด์ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ใหม่ๆ ด้วยมุมมองและข้อมูลเชิงลึก
จบลงอย่างสวยงาม สำหรับงานอีเว้นต์ "Thailand Cybersecurity 2019" มหกรรมนิทรรศการและการประชุมระดับสากล ภายใต้แนวคิด Cybersecurity Digital Transformation เพื่อให้คนไทยพร้อมรับ-ปรับตัวสู่ดิจิทัลอย่างมั่นคงปลอดภัย นับได้ว่าเป็นการจัดงานใหญ่ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ที่มีจุดเริ่มต้นจากงาน Thailand Cybersecurity Week 2017 ในปี 2560 ต่อเนื่องมาสู่งาน "Big Change to Big Chance" ในปี 2561 ในโอกาสครบรอบ 8 ปีเอ็ตด้า ซึ่งไฮไลต์หนึ่ง คือ งานด้านความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์ภายใต้การขับเคลื่อนของเอ็ตด้า เพื่อให้เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญว่า "ความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์เป็นเรื่องของทุกคน" และมีผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ จนมาสู่งาน "Thailand Cybersecurity 2019" นับเป็นงานอีเวนต์ระดับสากล โดยงานครั้งนี้ได้ร่วมกับ "อาร์เอสเอ คอนเฟอเรนซ์ (RSA(R) Conference) และไซเบอร์เทคโกลบอล อีเวนต์ (CYBERTECH Global Events)" สององค์กรชั้นนำของโลกในการจัดอีเวนต์ด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ที่ได้นำงาน "RSA(R)C UNPLUGGED และ CYBERTECH ASIA 2019" มาจัดพร้อมเพรียงภายในงานเดียวกัน พร้อมเปิดเวทีสัมมนาผู้เชี่ยวชาญมาอัปเดตและแชร์เทรนด์ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ใหม่ๆ ชมนวัตกรรมด้านความมั่นคงปลอดภัย เพื่อแชร์ประสบการณ์ด้าน Cybersecurity ระดับโลก ด้วยมุมมองและข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน เพื่อยกระดับความมั่นคงปลอดภัยด้านไซเบอร์ของประเทศ จัดขึ้น 19-20 มิถุนายน 2562 ที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์เซ็นทรัลพลาซา (ลาดพร้าว) ที่ผ่านมา
สำหรับวันพิธีเปิดงานฯ ETDA ได้รับเกียรติจาก ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานเปิดงาน Thailand Cybersecurity 2019 พร้อมด้วย มร.ชิโร ซะโดะชิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) มร.แอรอน (รอนนี่) เอลัท ผู้จัดการทั่วไปแห่ง Custodio มร.เท็ด คาโมเนค รองประธานอาวุโสฝ่ายขายต่างประเทศแห่ง RSA นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ประธานคณะกรรมการกำกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และนางจารุวรรณ เฮงตระกูล เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ร่วมในพิธีเปิดงาน และเริ่มต้นด้วยการปาถกฐาโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้กล่าวถึง Digital Transformation ของประเทศไทย ว่า "Cybersecurity Systems ต้องครอบคลุมทั้งระบบเพื่อดูแลเสถียรภาพความปลอดภัย ทั้งในระดับปัจเจก ผู้ประกอบการ ภาครัฐ และสังคมโดยรวม โดยภัยคุกคามไซเบอร์ เป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนไม่ควรมองข้าม และการสร้างความมั่งคงปลอดภัยไซเบอร์ ไม่ใช่หน้าที่ของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่เป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ต้องมีส่วนร่วมเดินหน้าลงมือทำไปพร้อมกัน"
ด้านนางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) ในฐานะแม่งานหลักผู้จัดงานครั้งนี้ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่ง สำหรับการจัดงาน Thailand Cybersecurity 2019 ภายใต้แนวคิด Cybersecurity Digital Transformation ที่ได้มีภาครัฐ เอกชน นักธุรกิจ นักศึกษา ประชาชนทั่วไปและผู้ที่เกี่ยวข้องกับทางด้าน it รวมกว่า 3,000 คน เดินทางมาร่วมงานสัมมนากันอย่างคับคั่งตลอด 2 วันเต็มที่มีการจัดงาน สะท้อนให้เห้นว่าทุกภาคส่วนมีการตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญ Cybersecurity มากยิ่งขึ้น ซึ่งภายในงานมีกูรูผู้เชี่ยวชาญมาอัปเดตและแชร์เทรนด์ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ใหม่ๆ หลากมุมมองจากผู้กำหนดนโยบาย หน่วยงานกำกับดูแล และผู้บริหารธุรกิจชั้นนำ ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ตลอดจนการจัดแสดงนิทรรศการตามบูธต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ RSA Cybertech หรือสปอนเซอร์ต่างๆ คอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านความมั่นคงปลอดภัยพร้อมทั้งเปิดโต๊ะให้เจรจาธุรกิจด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้
นอกจากนี้ภายในงานยังมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการวัดระดับและเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาความมั่นคงความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์สำหรับธุรกิจดิจิทัล ภัยคุกคามและการตรวจจับ ความรับผิดชอบ ต่อปัญญาประดิษฐ์ไมโครซอฟต์ สถานการณ์ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในประเทศญี่ปุ่น การปรับปรุงความสามารถ ในการตรวจจับภัยคุกคาม เป็นต้น ซึ่งในหัวข้องานประชุมสัมมนาทั้ง 2 วัน สำหรับผู้ที่สนใจและประสงค์จะรับชมงาน Thailand Cybersecurity 2019 ย้อนหลัง พร้อมทั้งดาวน์โหลดเอกสารที่เกี่ยวข้องภายในงานสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.etda.or.th/tc2019/ โดยมีหัวข้อในการสัมมนาดังนี้
- "ThaiCERT's Transformation"
- Cultivating Organizational Resilience โดย Kitti Kosavisutte, Senior Vice President, Head of Security Management, Bangkok Bank PCL
- The Next Chapter for AI : Ethics and Governance โดย Desarack Teso, Director of Corporate, External & Legal Affairs, Thailand + CMLV, Microsoft
- Threats and Detection โดย Anusorn Oopkum, Senior Technology Consultant, ASEAN RSA
- Digital Transformation Strategy in OT by Leonard Kleinman, RSA
- Modern Trends of DDoS by Xin Meng, Regional Solution Engineer, Cloudflare
- The Art of Cyber Security IoT by Piyatida Tantrakul, Country Manager, Trend Micro
- Cyber Security for ICS/SCADA & IoT by Woranon Vechamaneesri, Cyber Security Specialist, Palo Alto
- Security Challenges for Smart Cities and Nations by Eric D'Angelo, Security Transformation, Dell Technologies
- Cyberthreat Landscape in Thailand and the Asia Pacific Region by Anup B Kumar, Senior Regional Investigator – Asia, Microsoft Digital Crimes Unit
- Operational and Architectural Opportunities to Better Secure Businesses by David Lewis, Global Advisory CISO, Cisco Systems
- Cybersecurity Measures in Japan by Izumi Hiroya, Deputy Director-General for ICT R&D and Cybersecurity Policy, Ministry of Internal Affairs and Communications, Japan
- Redefine Your Endpoint Protection Strategy by Wuthikrai Ratanamaitrikiat, Security Consultant, Trend Micro (Thailand) Co., Ltd.
- Security Transformation by Itay Glick, Head of Business Development, Dell EMC Cyber Solution Group
- Best Practices for Future-ready Enterprise Security by Chonlatorn Chunhavikasit, Data One
- Fight Against Unpredictable Cyber Threats by Barry Chen, Regional Sales Director, South APAC, IXIA
- และอื่นๆ
ส่วนผู้สนับสนุนการจัดงาน ได้แก่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน), สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA), บริษัท บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS), ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน), คลาวแฟร์ โดย ซอฟท์เดบู, บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด, อาร์เอสเอ (RSA), บริษัท เอซีอินโฟเทค จำกัด (ACinfotec), เอนีวิชั่น (AnyVision), บริษัท เบย์ คอมพิวติ้ง จำกัด (Bay Computing), บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด (Cisco), มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล (CMKL), บริษัท ดาต้าวัน เอเชีย (ประเทศไทย) จำกัด (DataOne), บริษัท เอ็กซ์คลูซีฟ เน็ทเวอร์คส์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท ฟอร์ติเน็ต (ประเทศไทย) จำกัด (Fortinet), บริษัท จีเอเบิล จำกัด (G-Able), กิ๊กกะม่อน (Gigamon), อิมเพอว่า (Imperva), อิกซ์เซีย (IXIA), ธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน), บริษัท เอ็นทีที คอมมิวนิเคชั่นส์ (NTT Communications), บริษัท ไซแมนเทค (Symantec), เทนเอเบิล (Tenable), บริษัท เทรนด์ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด (Trend Micro) บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จำกัด (nForce Secure) และผู้สนับสนุนอื่น ๆ มากมาย