ทช.ชี้แจงข้อเท็จจริงการดำเนินงานด้านการจัดการขยะพลาสติกต่อประเด็นข้อเสนอแนะของกรีนพีซ

ข่าวทั่วไป Monday July 1, 2019 16:52 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--1 ก.ค.--กรมทรัพยากรชายฝั่ง นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยหลังจากที่กรีนพีซออกมาแถลงการณ์ในกรณีปฏิญญากรุงเทพว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเล ในภูมิภาคอาเซียน และกรอบการปฏิบัติงานอาเซียนว่าด้วยขยะทะเลว่า กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้คำนึงถึงข้อเสนอแนะขององค์กรกรีนพีซและขอบคุณที่ได้แสดงความกังวลในสถานการณ์สิ่งแวดล้อม ดังเช่นกรมฯ และหน่วยงานอื่นๆ ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศที่ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ โดยกรมฯ ไม่ได้เพิกเฉยและมีการดำเนินการเพื่อสอดรับด้านต่างๆ ซึ่งทางกรมฯ เอง มีบทบาทหน้าที่ในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งการจัดการปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง โดยเฉพาะขยะทะเลซึ่งถูกยกเป็นประเด็นระดับโลก และรัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับปัญหาขยะให้เป็นวาระแห่งชาติ เป็นนโยบายสำคัญที่ต้องเร่งรีบแก้ไขอย่างเร่งด่วน กรมฯ จึงดำเนินการสนองนโยบายร่วมบูรณาการโครงการบริหารจัดการขยะ ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นด้านขยะทะเล ตั้งแต่ปี 2559 ภายหลังการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 34 เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2562 ณ โรงแรม ดิ แอทธินี ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ ได้มีการรับรองเอกสารผลลัพท์ประกอบด้วยปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเลในภูมิภาคอาเซียน และกรอบปฏิบัติการอาเซียนว่าด้วยขยะทะเลนั้น กรมฯ ได้ดำเนินโครงการที่สอดรับให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด เช่น การดำเนินงานตามกรอบปฏิบัติการอาเซียนด้านขยะทะเลโดยผ่านทางคณะทำงานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง (AWGCME) โดยประเทศไทยได้เสนอตัวเป็นประเทศผู้นำในการดำเนินงาน ด้านการจัดการมลภาวะทางทะเลรวมถึงขยะทะเล และสมัครเป็นประธานคณะทำงานฯ ในปี 2563 แสวงหาความร่วมมือจากหน่วยงานและแหล่งทุนต่าง ได้แก่ กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) ธนาคารโลก (World Bank) และประเทศญี่ปุ่น โดยงบประมาณจากกองทุน Japan-ASEAN Integration Fund (JAIF) และประเทศไทยโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านสิ่งแวดล้อมของอาเซียน (ASEAN Senior Official on Environment: ASOEN) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 8 – 12 กรกฎาคม 2562 เพื่อหารือแนวทางการทำงานด้านสิ่งแวดล้อมร่วมกันของอาเซียน โดยมีคณะทำงานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง (AWGCME) คณะทำงานอาเซียนด้านการจัดการสารเคมีและของเสีย (AWGCW) และคณะทำงานอาเซียนด้านเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน (AWGESC) นายจตุพร อธิบดี ทช. กล่าวว่า กรีนพีซได้ย้ำถึง 3 ข้อเสนอแนะต่อประเทศสมาชิกอาเซียน ดังนี้ 1.ห้ามการนำเข้าขยะพลาสติก รวมถึงการนำเข้า "เพื่อรีไซเคิล" และรับรองว่าประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดจะให้สัตยาบันในข้อแก้ไขเพิ่มเติมในอนุสัญญาบาเซล (Basel Ban Amendment) จากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติก รัฐบาลได้ให้ความสำคัญและดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยมีคณะอนุกรรมการเพื่อบูรณาการการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกที่นำเข้าจากต่างประเทศอย่างเป็นระบบ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2561 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธาน และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นองค์ประกอบ โดยมีหน้าที่ในการให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและมาตรการเพื่อจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกที่นำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้นโยบายว่าการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกที่นำเข้าจากต่างประเทศให้คำนึงถึงด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชนเป็นหลัก ประเทศไทยมีการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนภายใต้อนุสัญญาระหว่างประเทศ "อนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด" โดยการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาของประเทศไทยมีผลบังคับใช้ต่อไทยตั้งแต่ 2541 โดยได้มอบหมายหน่วยงานผู้มีอำนาจ: กรมโรงงานอุตสาหกรรม และศูนย์ประสานงาน: กรมควบคุมมลพิษ ซึ่งมีกลไกการปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ คือมีคณะอนุกรรมการอนุสัญญาบาเซล เพื่อให้การกำกับควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายระหว่างประเทศ และการป้องกันมลพิษด้านสิ่งแวดล้อมเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ 2.สร้างนโยบายระดับภูมิภาคแบบองค์รวมที่มุ่งสู่การลดการผลิต ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งอย่างมีนัยสำคัญ และเอื้อให้เกิดนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ใช้ซ้ำและระบบทางเลือก ประเทศไทยได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติก ภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการ และมติรัฐมนตรีรับร่าง Roadmap การจัดการขยะพลาสติก (พ.ศ. 2561 - 2573) เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2562 โดยร่าง Roadmap การจัดการขยะพลาสติก (พ.ศ.2561 - 2573) ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วยเป้าหมายที่ 1 การลดและเลิกใช้พลาสติกเป้าหมายด้วยการใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง 7 ชนิด โดย 3 ชนิดเลิกใช้ภายในปี 2562 ได้แก่ พลาสติกหุ้มฝาขวดน้าดื่ม ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีส่วนผสมของสารประเภทอ็อกโซ่ และไมโครบีด/ 4 ชนิดที่เลิกใช้ภายในปี 2562 ได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้วขนาดความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน กล่องโฟมบรรจุอาหาร แก้วพลาสติก (แบบบางใช้ครั้งเดียว) และหลอดพลาสติก เป้าหมายที่ 2 การนำขยะพลาสติกเป้าหมายกลับมาใช้ประโยชน์ ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 การดำเนินการของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในส่วนของขยะในทะเลกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ - การจัดเก็บขยะตกค้างในระบบนิเวศที่สำคัญ ได้แก่ ชายหาด ปะการัง และป่าชายเลน - การนำมาตรการลดปริมาณขยะที่เหมาะสมไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อลดปริมาณขยะลงทะเล - การดำเนินงานทางวิชาการในการสำรวจและศึกษาข้อมูลขยะทะเลทั้งในด้านสาเหตุและผลกระทบ - การจัดทำและพัฒนาระบบฐานข้อมูลขยะทะเลตามมาตรฐานสากล (ICC) เพื่อเป็นข้อมูลการบริหารจัดการ - ดำเนินงานเชิงรุกทั้งในระดับประเทศ เช่น เก็บขยะชายหาดสากล โครงการชายหาดปลอดบุหรี่ มีความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในระดับภูมิภาค ผ่านองค์กรนานาชาติ ได้แก่ UNEP IOC และ ASEAN เป็นต้น 3.ผลักดันกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่มีความยั่งยืนและเป็นธรรมบนพื้นฐานของแนวทาง zero waste ประเทศไทยมีคณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยมีคณะทำงานที่สอดรับการดำเนินงานในการผลักดันกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียน ได้แก่ ตั้งคณะทำงานด้านการพัฒนาและใช้ประโยชน์ขยะพลาสติก ด้านการจัดการขยะและสร้างโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยได้ดำเนินโครงการด้านการจัดการขยะและสร้างโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียน ในพื้นที่นำร่องเขตคลองเตย กรุงเทพฯและจังหวัดระยอง คณะทำงานด้านการพัฒนาและใช้ประโยชน์ขยะพลาสติก โดยมีการดำเนินการที่เกี่ยวข้องในการผลักดันกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนการดำเนินการอื่นๆ โครงการทำความดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม ในการจัดการขยะพลาสติกที่ตกค้างบนบก รวมทั้งการตกค้างสะสมในทะเล/ การงดใช้กล่องโฟมและถุงพลาสติกหูหิ้วในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ/ โครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero-waste school)/ การรณรงค์ให้ใช้ถุงผ้า การนำแก้วน้ำมาเอง การเลิกใช้หลอดพลาสติก รวมถึงการจับมือกับภาคธุรกิจ เพื่องดการใช้ถุงพลาสติกใส่สินค้า เป็นการลดปริมาณขยะพลาสติก/ ใช้หลัก 3R ในชีวิตประจำวัน/ สนับสนุนการลดใช้พลาสติกที่เกินความจำเป็น การใช้ซ้ำ และการคัดแยกขยะ เพื่อการ recycle และ ดำเนินงานตาม campaign/ นโยบายของภาครัฐ "นายจตุพร กล่าว"

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ