NIDA Poll รู้สึกอย่างไรกับปัญหาพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)

ข่าวทั่วไป Monday July 8, 2019 09:31 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--8 ก.ค.--นิด้าโพล ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "รู้สึกอย่างไรกับปัญหาพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 4 – 5 กรกฎาคม 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,262 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความรู้สึกกับปัญหาพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 จากการสำรวจเมื่อถามถึงความรู้สึกของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในรอบสัปดาห์ ที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 26.86 ระบุว่า พรรคพลังประชารัฐมีความแตกแยกอย่างเห็นได้ชัด รองลงมา ร้อยละ 20.13 ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่เข้าใจการเมืองแบบประชาธิปไตยที่ต้องมีการแบ่งปันอำนาจ ร้อยละ 19.41 ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แค่พยายามจะทำให้ได้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่ดีที่สุด ร้อยละ 18.54 ระบุว่า ความเห็นต่างเป็นส่วนหนึ่งของระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ร้อยละ 16.64 ระบุว่า กลุ่มสามมิตรเล่นการเมืองแบบเดิม ๆ ใช้จำนวน ส.ส. กดดันขอเก้าอี้รัฐมนตรี ร้อยละ 10.54 ระบุว่า นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ควรทำตามคำพูดว่าจะไม่รับตำแหน่งรัฐมนตรี ร้อยละ 7.05 ระบุว่า กลุ่มสามมิตรสมควรได้ตำแหน่งรัฐมนตรีตามที่ผู้ใหญ่ในพรรครับปากไว้ ร้อยละ 2.06 ระบุว่า นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เหมาะสมกับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน ร้อยละ 1.19 ระบุว่า นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เหมาะสมกับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม ร้อยละ 0.87 ระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้เวลานานเกินไปในการจัดตั้งรัฐบาล ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายการเมือง และร้อยละ 27.42 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเห็นของประชาชนต่อการดำเนินการทางการเมืองในอนาคตของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.69 ระบุว่า ควรให้ความสำคัญกับการบริหารประเทศมากกว่าปัญหาภายในพรรคพลังประชารัฐ รองลงมา ร้อยละ 28.53 ระบุว่า หากมีปัญหามากนัก ก็ลาออก เลิกเป็นนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 24.17 ระบุว่า หากมีปัญหามากนัก ก็ยุบสภาเลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 22.50 ระบุว่า ควรแบ่งปันอำนาจให้เหมาะสมเพื่อความอยู่รอดของรัฐบาล ร้อยละ 12.84 ระบุว่า ควรใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด แม้ว่ารัฐบาลอาจจะอายุสั้นก็ตาม ร้อยละ 6.02 ระบุว่า ควรหาตำแหน่งทางการเมืองอื่น ๆ ให้กับ ส.ส. ที่ผิดหวังไม่ได้เป็นรัฐมนตรี ร้อยละ 5.55 ระบุว่า ไม่ควรเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐเพื่อจะได้ลอยตัวจากปัญหา ร้อยละ 5.23 ระบุว่า ควรเข้าดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค เพื่อแก้ไขปัญหาภายในพรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 2.54 ระบุว่า ควรเตรียม งูเห่า จากพรรคฝ่ายค้านในกรณีวิกฤติ เพื่อให้มาสนับสนุนนายกรัฐมนตรี และร้อยละ 9.75 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.80 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.67 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.22 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.84 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.47 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 48.65 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.35 เป็นเพศหญิง ตัวอย่างร้อยละ 7.37 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 14.82 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 24.25 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 34.07 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 19.49 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 94.85 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.57 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.87 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.71 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 22.43 สถานภาพโสด ร้อยละ 72.66 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.04 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.87 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 30.19 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 31.14 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.29 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.04 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.15 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.19 ไม่ระบุการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ 11.33 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.82 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.07 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 16.88 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.53 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 16.80 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.30 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.27 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 16.09 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 24.41 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 23.93 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 13.07 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 6.26 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 7.05 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.19 ไม่ระบุรายได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ