กรุงเทพฯ--24 ก.ค.--เอไอเอส
เอไอเอส จับมือฟาร์มไพรวัลย์ เปิดศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรฟาร์มสุขขึ้นเป็นที่แรกของเมืองไทย ด้วยแนวคิด "สอน เสริม สร้าง" บูรณาการองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น สร้าง Ecosystem เพาะพันธุ์ Young Smart Farmer ต้นแบบของภาคใต้
ผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน พร้อมสร้างแพลตฟอร์ม Intelligent Farm (iFarm) และคิดค้นนวัตกรรม IoT เพื่อให้เกษตรกรดูแลการเพาะปลูกให้สะดวกขึ้น ง่ายขึ้น ช่วยเพิ่มผลผลิตและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยอย่างยั่งยืน โดยเปิดให้เข้าชมศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรฟาร์มสุข ณ ฟาร์มไพรวัลย์ ได้แล้ววันนี้
นายวีรวัฒน์ เกียรติพงษ์ถาวร หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านธุรกิจสัมพันธ์และองค์กร เอไอเอส กล่าวถึงความตั้งใจของการริเริ่มเปิดศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรฟาร์มสุขที่ฟาร์มไพรวัลย์ในครั้งนี้ว่า "เอไอเอส ในฐานะ Digital Life Service Provider เรามุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลและโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล ภายใต้แนวคิด Digital for THAIs อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทย ตลอดจนช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยอย่างยั่งยืน พร้อมสนับสนุนให้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและกระบวนการทำงานรูปแบบเดิมให้มีความสะดวกสบายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะใน 2 กลุ่มหลัก คือ ภาคสาธารณสุข ผ่านแอปพลิเคชัน อสม.ออนไลน์ และด้านเกษตรกรรม ที่เอไอเอสได้ร่วมกับพันธมิตรหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการเกษตรระดับท้องถิ่น เพื่อรับฟังปัญหา ร่วมค้นหาแนวทางแก้ไข จนนำไปสู่กระบวนการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อการเกษตรอย่างเป็นรูปธรรม"
"ศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรฟาร์มสุข นับเป็นแหล่งเรียนรู้ทางการเกษตรแห่งแรกของภาคใต้ที่เอไอเอสได้ร่วมกับฟาร์มไพรวัลย์ Smart Famer ผู้มีแนวคิดและหลงใหลในการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อการเกษตรแบบยั่งยืน ปัจจุบันได้เรียนรู้และทดลองทำแปลงปลูกผัก โรงเรือนเพาะปลูกเมล่อน และผักสลัดปลอดสารพิษอยู่ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นวิถีการทำการเกษตรยุคใหม่ที่สอดคล้องกับแนวคิดในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรฟาร์มสุขที่ใช้แนวคิด "สอน - เสริม - สร้าง" เพื่อบูรณาการองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ผ่านการลงมือปฏิบัติงานจริงเข้ามาผสมผสานให้เกิด
เป็น Smart Farm โดยเอไอเอส ในฐานะผู้เชี่ยวชาญในด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ได้สร้างแพลตฟอร์ม IoT ภายใต้ชื่อ Intelligent Farm (iFarm) โดยสามารถเชื่อมต่อสมองกลอัจฉริยะ ผ่านโครงข่าย AIS ไปยังอุปกรณ์ภายในฟาร์ม ช่วยให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการฟาร์มได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น ผ่านสมาร์ทโฟนได้ทุกที่ทุกเวลา พร้อมกันนี้ ยังได้ร่วมกับ Young Smart Farmer ในพื้นที่ ร่วมศึกษาและพัฒนาต่อยอดด้วยการจัดเก็บข้อมูล สร้าง Big Data ให้พร้อมแปลงเป็นข้อมูลมาตรฐานด้านการเพาะปลูกและการเกษตรยุคใหม่ที่นำไปสู่การเพาะปลูกที่ช่วยเพิ่มผลผลิต สามารถวางแผนการลงทุน
ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ และครบถ้วน นับตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำจนถึงปลายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึง การสร้างเครือข่าย ecosystem ให้ Young Smart Farmer ทั่วประเทศ ได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากการปฏิบัติจริงซึ่งกันและกัน"
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อเข้าเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรฟาร์มสุข ฟาร์มไพรวัลย์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
"ผมเชื่อว่าเกษตรกรไทยในวันนี้มีความพร้อมที่จะปรับตัว และเรียนรู้การนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาภาคการเกษตรให้เจริญเติบโต เกษตรกรแข็งแกร่ง โดยเอไอเอส ยืนยันที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้เกษตรกรไทยมีขีดความสามารถที่ดีขึ้น" นายวีรวัฒน์ กล่าวสรุป
Digital Solution ภายในศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีเกษตรฟาร์มสุข @ฟาร์มไพรวัลย์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
1. โรงเรือนอีแว๊ป (Evap : Evaporative Cooling System) เป็นโรงเรือนเพาะปลูกควบคุมอุณหภูมิได้ โดยสามารถควบคุมให้อุณหภูมิภายในลดลง เมื่อเทียบกับอุณภูมิภายนอกได้ถึง 4-8 °C โดยใช้หลักการ ปล่อยกระแสลม ไหลผ่านตัวกลางที่มีน้ำไหลผ่าน คลูลิ่งแพด (Cooling pad) ดึงเอาความร้อนของอากาศออกทำให้อุณหภูมิของอากาศลดลง
2. อุปกรณ์ควบคุมฟาร์ม "Farmsuk Box" เป็นอุปกรณ์ตัวกลางที่เชื่อมต่อไปยัง Sensor และคอยสั่งงาน ควบคุม
การทำงานของอุปกรณ์การดูแลการเพาะปลูกภายในฟาร์ม ประกอบด้วย
a. อุปกรณ์ Sensor การวัดสภาพการเพาะปลูก ได้แก่ วัดอุณหภูมิทั้งภายในและภายนอกโรงเรือน,
วัดความชื้นในอากาศทั้งภายนอก ภายในโรงเรือน, วัดความเข้มของแสง, วัดความเข้มข้นของปริมาณสารละลาย (ปุ๋ย), วัดความเป็นกรด-ด่างในน้ำ
b. อุปกรณ์การดูแลการเพาะปลูก ประกอบด้วย พัดลมระบายอากาศ, ปั้มน้ำคลูลิ่งแพดเพิ่มความชื้น ความเย็น, อุปกรณ์จ่ายน้ำและปุ๋ยแบบอัตโนมัติ
3. ระบบสมองกลฟาร์มอัจฉริยะ Intelligent Farm (iFarm) เป็นแพลตฟอร์ม IoT เชื่อมต่อกับ Farmsuk Box เพื่อให้เกษตรกรควบคุมดูแลฟาร์มได้อย่างง่ายดายผ่านมือถือ และคอมพิวเตอร์ ได้จากทุกที่ โดยมีฟังก์ชั่นการใช้งาน ดังนี้
a. Dashboard แสดงสถานะพืชที่ปลูก อุปกรณ์ต่างๆ ภายในฟาร์ม และรายงานผลการวัดแบบ Real Time
b. Remote สั่งงาน ควบคุมการเปิด-ปิด แบบ Manual ผ่าน Internet ได้จากทุกที
c. ระบบสั่งงานแบบตั้งเวลา เพื่อเปิด-ปิด อุปกรณ์แบบอัตโนมัติ
d. ระบบสมองกลอัจฉริยะ เกษตรกรสามารถตั้งค่าให้อุปกรณ์ทำงานตามเงื่อนไข Sensor ได้ง่ายๆ
4. ระบบกล้อง IP Camera เพื่อการเกษตร เชื่อมต่อผ่านโครงข่าย AIS Fibre เพื่อเฝ้าดูการเจริญเติบโต และตรวจสอบดูแลฟาร์มได้ตลอดเวลา โดยได้ติดตั้งทั้งในโรงเรือนควบคุมอุณหภูมิ และแปลงผักสลัด