Financial Insights รายงานเกี่ยวกับกลยุทธ์ทางธุรกิจที่สำคัญ 10 อันดับ

ข่าวเทคโนโลยี Thursday February 14, 2008 10:04 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 ก.พ.--ไอดีซี
Financial Insights รายงานเกี่ยวกับกลยุทธ์ทางธุรกิจที่สำคัญ 10 อันดับ สำหรับธนาคารใน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประจำปี 2008 : เรื่องของลูกค้าจะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นเรื่องที่สำคัญ อีกครั้งสำหรับธนาคารต่างๆในภูมิภาคนี้
บริษัทวิจัยอิสระชั้นนำและบริษัทที่ปรึกษาด้านไอทีในธุรกิจบริการ ทางการเงิน (Financial Insigths - FI) ของ ไอดีซี (IDC) จัดทำรายงานฉบับใหม่เสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นำเสนอ เกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ๆ ที่สำคัญ 10 ประเภทซึ่งจะเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจสำหรับธนาคารในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประจำปี 2008
รายงานฉบับนี้ได้ระบุถึงการเติบโตที่เริ่มจะอิ่มตัวและคุณลักษณะเฉพาะที่สำคัญของธุรกิจธนาคาร ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก การเติบโตที่ว่านี้คาดว่าจะเริ่มเห็นผลมากขึ้นตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจโลก ที่ซบเซา บริษัท FI เชื่อว่า ธนาคารต่างๆ จะมุ่งปรับปรุงและพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจที่สำคัญในหลายๆ ด้าน เพื่อ สนับสนุน การเติบโตของธุรกิจและเพิ่มส่วนแบ่งตลาดให้กับตนเอง รวมถึงเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือกับ ปัญหาวิฤกตการณ์ทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต จุดเด่นของงานวิจัยนี้ได้ระบุถึงแนวโน้มต่างๆ ที่กำลัง จะเกิดขึ้น เช่น
ลูกค้าและช่องทางต่างๆ ที่ลูกค้าสามารถเข้าไปใช้บริการ กำลังจะกลายเป็นจุดสนใจที่ธนาคารในภูมิภาค เอเชียแปซิฟิกต่างให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก ซึ่งสิ่งนี้จะสะท้อนถึงภาพที่แท้จริงในการดำเนินธุรกิจของ ธนาคาร ว่าลูกค้าธนาคารเหล่านี้ ซึ่งอยู่ในตลาด Retail Banking หรือ Corporate Banking กำลังคาดหวัง เกี่ยวกับการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่แตกต่างกันออกไป
ปี 2008 บริษัท FI คาดว่าธนาคารต่างๆ ในภูมิภาคนี้จะมีการกำหนดมาตรฐานและกฎระเบียบต่างๆ ที่เข้มงวดมากยิ่งขี้นและจะเป็นเรื่องที่มุ่งเน้นไปในด้านของการกำหนดตัวชี้วัด และการวัดประสิทธิผลของ การดำเนินงาน สิ่งนี้จะเป็นการก้าวเข้าสู่การประเมินผลในแง่ตัวเลขที่ชี้วัดได้ในการทำงานขั้นตอนต่างๆ ซึ่ง จะยกระดับความเป็นมืออาชีพมากขึ้น แทนการทำงานในลักษณะของการคาดเดาที่ถูกใช้ในการตัดสินใจ หรือพิจารณาเรื่องต่างๆ แบบที่ผ่านมา
ภาพรวมของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับบริการด้านการเงินจะยังคงหดตัวต่อไป เนื่องจากการควบ รวมกิจการทำให้จำนวนของธนาคารลดลงและกลายเป็นธนาคารขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามผู้ค้าหรือผู้จัดหา รายใหญ่ ที่มีเทคโนโลยีเฉพาะด้านจะยังคงมีโอกาสในการทำธุรกิจอยู่ ซึ่งจะเห็นได้จากจำนวนโครงการ ลงทุนที่กินเวลาหลายปีของธนาคารกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นในฝั่งของผู้ค้าเทคโนโลยีรายใหญ่
ถึงแม้วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างที่เกิดขึ้นในปี 2540 ไม่น่าจะเกิดขึ้นซ้ำอีกครั้ง แต่ธนาคารก็จำเป็น จะต้องคำนึงว่าจะดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ฝืดเคืองนี้อย่างไร และสิ่งนี้จะหมายถึงการให้ความ สำคัญเรื่องการปรับปรุงหรือบริหารในเรื่องต่างๆ เช่น การจัดการความเสี่ยง การดำเนินธุรกิจให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุด และ การพัฒนาด้านการลงทุนด้านทรัพยากรบุคคล
ในตารางที่ 1 จะแสดงถึงความคิดริเริ่มที่สำคัญ 4 อันดับและสิ่งเหล่านี้จะครอบคลุมถึงแนวโน้มที่เป็นกลยุทธ์ การลงทุนของธนาคารต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (กรุณาดูตารางด้านล่างประกอบ)
ตารางที่ 1 กลยุทธ์ที่สำคัญ 4 ที่ริเริ่มขึ้นสำหรับธนาคาร ในภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิค ปีพ.ศ 2551
อันดับ กลยุทธ์ริเริ่มทางธุรกิจที่สำคัญ
1 การให้ความสำคัญต่อลูกค้าในทุกเรื่อง
2 เกณฑ์มาตรฐานการประเมินผลงานเปรียบเทียบตัวชี้วัด
3 การบริหารความเสี่ยงและการปฏิบัติตามข้อบังคับ
4 การเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานหลักของธนาคาร(core banking systems)
ที่มา : Financial Insights, 2008
ในขณะที่ความผันผวนทางเศรษฐกิจทำให้ธนาคารต้องเพิ่มความระมัดระวังในการวางแผนทางกลยุทธ์ แต่ในความ เป็นจริงแล้ว การเติบโตทางธุรกิจของธนาคารก็ยังคงเป็นเป้าหมายที่ต้องดำเนินต่อไปเช่นกัน ดังนั้นสิ่งนี้จึงสะท้อนถึง แนวโน้มเชิงบวกเกี่ยวกับการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของธนาคารต่างๆ ในภูมิภาคนี้ ดังจะเห็นได้จากแผนภาพที่ 1 แสดงถึง ธนาคารชั้นนำขนาดใหญ่จำนวนหนึ่งจะมีแผนที่จะเพิ่มการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) อย่างไร
แผนภาพที่ 1 อัตราการเติบโตของการใช้จ่ายด้านไอทีของธนาคารในเอเชียปี 2008
คำถาม : คาดว่าธนาคารของท่านมีแผนสำหรับงบประมาณการใช้จ่ายด้านไอทีเพิ่มขึ้นเป็นเท่าใดในปี 2008
จำนวนตัวอย่าง = 16 ราย จากการให้สัมภาษณ์โดย CIO ของธนาคารที่ถูกเลือกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ที่มา : Financial Insights, 2008
นาย ดักลาส เอ เจฟฟ ผู้อำนวยฝ่ายวิจัย ของ FI ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “เอเชียกำลังถูกจับตา มองว่าเป็นกลุ่มประเทศที่ยังคงมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงอย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2551 แต่ทว่า เอเชียจะ รักษาอัตราการเติบโตดังกล่าวไว้ไม่ได้หากเกิดสภาพเศรษฐกิจตกต่ำซึ่งส่งผลกระทบไปทั่วโลก ด้วยสภาวะเศรษฐกิจ เช่นนี้ จะเป็นตัวกระตุ้นให้ธนาคารต่างๆ ลงทุนในด้านต่างๆ ที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็นบุคลากร เพื่อการดำเนินงานของ ธนาคาร และ ด้านเทคโนโลยีที่จะทำให้ธนาคารต่างๆ มั่นใจได้ว่าจะสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งใน ช่วงเวลาที่คับขัน และ ช่วงเวลาปกติ”
นายไมเคิล อาราเนต์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการให้คำปรืกษาและวิจัยประจำภาคภูมิเอเชียแปซิฟิกของบริษัท FI ซึ่งให้บริการคำปรึกษาด้านเกณฑ์มาตรฐานการประเมินผลงานสำหรับธุรกิจการเงินกล่าวว่า “เราได้สังเกตเห็นถึง อัตราการเติบโตที่มั่นคงของธนาคารต่างๆ ในภาคภูมิเอเชียแปซิฟิกนี้ เนื่องจากธนาคารต่างๆ ได้เพิ่มการลงทุนที่นอก เหนือไปจากแค่เรื่องโครงสร้างพื้นฐานแต่ได้รวมถึงการบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจด้วย ในปีนี้กลุ่มธนาคารจะให้ความ สำคัญมากต่อลูกค้าในทุกๆ ด้าน การริ่เริ่มใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าไม่ว่าจะเป็น ช่องทางสื่อสารต่างๆ การบริหาร งานลูกค้าสัมพันธ์ การบริหารกลุ่มผลิตภัณฑ์ ระบบการชำระเงิน และ การพัฒนาการดำเนินงานของธุรกิจ จะถูกปรับให้เหมาะสม และ สามารถประเมินผลได้ว่าธนาคารจะสามารถให้บริการที่ดีกว่าเดิมแก่ลูกค้าได้อย่างไร
สอบถามข้อมูลหรือต้องการซื้อรายงานดังกล่าวข้างต้นกรุณาติดต่อคุณภาวดี พงศ์สุพรรณ ที่หมายเลข +662-651-5585 ต่อ 111หรืออีเมลล์มาที่ phawadee@idc.com
เกี่ยวกับไอดีซี
ไอดีซีเป็นบริษัทที่ปรึกษาและวิจัยข้อมูลการตลาดชั้นนำระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาไอที โทรคมนาคม และ คอนซูเมอร์เทคโนโลยี โดยนำเสนอข้อมูลจากการวิเคราะห์-เจาะลึกแก่ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที ผู้บริหาร และนักลงทุน ให้สามารถนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจจัดซื้อเทคโนโลยีและกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ ปัจจุบันไอดีซีมีนักวิเคราะห์ กว่า 850 คน ใน 50 ประเทศ ทำหน้าที่นำเสนอข้อมูล และ ให้คำปรึกษาเชิงกลยุทธ์อย่างรอบด้านแก่ลูกค้าในเรื่อง เทคโนโลยี รวมถึงโอกาสทางธุรกิจและแนวโน้มของอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในระดับโลก ระดับภูมิภาค และในแต่ละ ประเทศ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่สั่งสมมากว่า 42 ปี เพื่อช่วยให้ลูกค้าบรรลุทุกวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ไอดีซี เป็นบริษัทในเครือของไอดีจี ซึ่งดำเนินธุรกิจสื่อสายเทคโนโลยี วิจัย และจัดงานสัมมนา ชั้นนำระดับโลก ค้นหา ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.idc.co.th
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม :
คุณศศิธร แซ่เอี้ยว
ที่หมายเลข 662-651-5585 ต่อ 113
Email: sasithorn@idc.com

แท็ก เอเชีย   ก.พ.   ไอที  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ