กรุงเทพฯ--31 ก.ค.--โรงพยาบาลสุขุมวิท
จากข้อมูลในประเทศไทยล่าสุด 2560 โดยสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบว่า มะเร็งลำไส้ เป็นมะเร็ง ที่พบได้เป็นอันดับ 3 จากประชากรทั้งหมด โดยในเพศชายพบสูงเป็นลำดับที่ 2 รองจากมะเร็งตับ และท่อทางเดินน้ำดี ส่วนในเพศหญิงพบอันดับที่ 3 รองจากมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก โดยช่วงอายุที่พบบ่อยที่สุด ในเพศชาย คือ 55 - 59 ปี และในเพศหญิง คือ 50 - 54 ปี โดยส่วนใหญ่มักวินิจฉัยพบครั้งแรกผู้ป่วยก็เริ่มเข้าสู่ระยะท้ายของโรคแล้ว
มะเร็งลำไส้ เกิดขึ้นจากเซลล์เยื่อบุผิวภายในลำไส้ใหญ่โดยนิดที่พบบ่อยมากกว่าร้อยละ 90 คือ เนื้อเยื่อ ของมะเร็งที่มีลักษณะทางพยาธิวิทยาที่เรียกว่า Adenocarcinoma โดยประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ ของมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ ได้แก่ ลำไส้ส่วนซิกมอยด์ และไส้ตรง ทั้งนี้ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มักจะกลายมาจากเนื้องอกธรรมดาที่เยื่อบุผนังภายในลำไส้ เนื้องอกเหล่านี้ไม่ จำเป็นต้องกลายเป็นมะเร็งเสมอไปแต่โอกาสที่จะกลายเป็นมะเร็งขึ้นอยู่กับชนิด และขนาดของเนื้องอกเหล่านี้
ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่
1.อาหารและรูปแบบการใช้ชีวิต
- โรคอ้วน
- การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง, อาหารแปรรูปต่างๆ เช่น แฮม เบคอน ไส้กรอก
- รับประทานผักและผลไม้ในปริมาณต่ำ
- การสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานาน
- การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก
- ขาดการออกกำลังกาย
2.พันธุกรรม
- มีประวัติส่วนตัว หรือบุคคลในครอบครัวเป็นติ่งเนื้อ หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่
- โรคซึ่งถ่ายทอดทางพันธุกรรมและสัมพันธ์กับมะเร็งลำไส้ใหญ่
- กลุ่มโรคที่มีการอักเสบของระบบทางเดินอาหาร
อาการที่แสดงออกว่าเป็นมะเร็งลำไส้
- ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดจากมะเร็งของไส้ตรง และลำไส้ซิกมอยด์
- ถ่ายอุจจาะเป็นลำเล็กลง ปริมาณและความถี่อุจจจาระน้อยลงหรือเพิ่มขึ้น
- ถ่ายท้องผูกสลับท้องเสีย
- ปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด คลำได้ก้อนในท้อง
- ซีด มักพบเป็นอาการแสดงออกของมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้านขวา
- คลื่นไส้ อาเจียน
- อ่อนเพลีย ผอมลง เบื่ออาหาร
ในปัจจุบันมีเทคโนโลยี และนวัตกรรมในการรักษามะเร็งลำไส้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่หากผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ตรวจพบโรคได้ในระยะแรกเริ่มและพบเป็นเพียงติ่งเนื้อแพทย์จะทำการรักษาด้วยการตัดชิ้นเนื้อออกด้วยวิธี การส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เป็นการผ่าตัดโดยใช้กล้องเรียวเล็กที่สามารถขยายภาพ และเห็นภาพได้ชัดกว่า ปกติ ส่องเข้าไปในทวารหนัก และใช้อุปกรณ์ตัดติ่งเนื้อลำไส้ นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาอื่นๆ ตามระยะโรค ได้แก่ วิธีการผ่าตัดร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด หรือให้ยารักษาแบบพุ่งเป้า โดยการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ แพทย์จะทำการ ประเมินระยะโรคของผู้ป่วย ดังนั้น อยากจะเน้นย้ำว่าให้ผู้ป่วยมาตรวจคัดกรองตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะจะทำให้การรักษา มีประสิทธิภาพและได้ผลดี เช่น ถ้าเจอในระยะแรกเริ่มอาจจะรักษาด้วยการส่องกล้อง และสามารถตัดชิ้นเนื้อออก ได้ แต่ถ้าตรวจพบในระยะหลังอาจจะใช้วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดร่วมกับการให้ยาเคมี หรือบำบัดแบบพุ่งเป้า ประสิทธิภาพในการรักษาก็จะแตกต่างกันออกไปทั้งนี้ต้องดูระยะโรคของคนไข้เป็นหลัก
สอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มได้ที่ ศูนย์อายุรกรรมโรคทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลสุขุมวิท