กรุงเทพฯ--1 ส.ค.--เวิรฟ พับบลิค รีเลชั่นส์ คอนซัลแตนท์ซี
คุณเชื่อหรือไม่ "ความขี้สงสัย" คือบ่อเกิดแห่งปัญญา และสามารถเรียกได้ว่าเป็นอุปนิสัยพื้นฐานของมนุษย์ตั้งแต่เด็กจนโต ที่มักจะชอบตั้งคำถามว่า 'ทำไม?' (Why?) หากใครเคยดูการ์ตูนยอดนิยมในอดีตเรื่อง "อิคคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญา" ต้องรู้จัก "เจ้าหนูจำไม" เด็กน้อยตัวเล็กที่มีลักษณะนิสัยที่ชอบตั้งคำถามตลอดเวลากับคำพูดติดปากว่า "จำไมล่ะ?" หรือแม้แต่ อีลอน มัสก์ (Elon Musk) เจ้าของฉายาไอรอนแมนในชีวิตจริงก็มีอุปนิสัยดังกล่าวเช่นเดียวกัน ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสิ่งที่เขาได้สร้างขึ้นนั้นสามารถทำประโยชน์มหาศาลแก่มวลมนุษยชาติ และหากมีใครถาม อีลอน มัสก์ ว่าเขามีเคล็ดลับอย่างไร ถึงสามารถสร้างสรรค์อะไรออกมาได้มากมาย เขาตอบว่ามีอยู่อย่างหนึ่งที่เขาคิดว่าแตกต่างจากคนอื่นคือ เขามี 'ห่วงโซ่ ขี้สงสัย' (Chained Why) อยู่ ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวทำให้เขามีแต้มต่อเมื่อเทียบกับคนทั่วไปในการสร้างสิ่งใหม่ เพราะคำว่า 'ทำไม' จะพาเราไปพบกับโอกาสในการพัฒนาศักยภาพที่ซ่อนเร้น อีกทั้งยังสามารถเพิ่มทักษะรอบด้านของตัวเราที่คนอื่นมองข้ามไปและสุดท้ายเส้นทางนี้จะนำพาเราไปสู่การเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด
นางอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า "ทุกวันนี้เราอยู่ในยุคดิจิตอล (Digital Age) อย่างเต็มภาคภูมิ ลองสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัวเราล้วนเปลี่ยนไปเป็นดิจิตอลทั้งสิ้น ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม หรือแม้ไลฟ์สไตล์ของเราก็ถูกผลกระทบนี้เช่นเดียวกันทำให้การทำธุรกิจต้องปรับทั้งกระบวนทัพทางความคิดและวิธีการในการบริหารจัดการใหม่ตลอดเวลา เพื่อให้ตอบสนองทันต่อความต้องการที่หลากหลายและรวดเร็วของลูกค้า และเมื่อธุรกิจเปลี่ยนแนวทาง ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแนวคิดในการขับเคลื่อนองค์กรให้ทันเกม รวมถึงมนุษย์เงินเดือนและเหล่าฟรีแลนซ์ก็ต้องปรับตัว ติดสปีด และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ไม่ใช่เพื่อให้ทันกับอัตราการวิ่งของโลก แต่ต้องติดจรวดความรู้ให้ก้าวนำหน้าโลกอยู่ตลอดเวลา"
ซึ่งในวันนี้ SEAC ได้ถอดรหัสสูตรสำเร็จของผู้นำแบรนด์ชั้นนำระดับโลกไม่ว่าจะเป็น Amazon, Grab, Alibaba, Haier หรือ LinkedIn เป็นต้น ออกเป็น 5 หัวข้อสำคัญ ได้แก่
- New priority 1: Inspiring curiosity
ผู้นำองค์กรต้องเป็นผู้ที่ไม่หยุดสงสัย และกระตุ้นให้คนในองค์กรเกิดความสงสัย ใคร่รู้ และกระหายที่จะเรียนรู้ในการหาวิธี หรือกลยุทธ์ เพื่อสร้างโอกาสและเส้นทางในการทำธุรกิจ โดยรูปแบบการเรียนรู้ไม่ได้กำจัดอยู่แค่การระดมความคิด (Brainstorm) แต่ผู้นำต้องกระตุ้นให้คนในองค์กรเกิดการเรียนรู้แบบต่อเนื่อง อาทิ การอ่านและการฟัง ด้วยการเรียนรู้หรือ หาสาระความรู้อื่นๆ นอกจากเนื้อหาของงาน อย่างบทความหรือคอร์สเรียนแบบออนไลน์ เพียงวันละ 8-12 นาทีก็ได้ ลองเปิดโอกาสให้ตัวเองได้เจอเพื่อนใหม่ๆ หรือพัฒนาคอมมิวนิตี้ใหม่ๆ เพราะความเชื่อที่ว่ายิ่งเราได้มีเพื่อนใหม่เยอะๆ เราจะสามารถแลกเปลี่ยนมุมมองความรู้ใหม่ๆ ได้นั้นเอง นอกจากนี้ การเรียนรู้ยังสามารถเกิดได้จากความล้มเหลวที่ผ่านมา หรือการบริหารความเสี่ยง สุดท้ายคือสร้างเป็นวงจรการสงสัยและเพิ่มการเรียนรู้ นั่นคือ ความสำเร็จของผู้นำแบบ Inspiring Curiosity
- New priority 2: Making sense of unlimited information
ผู้นำต้องรู้สึกอยากรู้และวิเคราะห์ข้อมูลอยู่ตลอด เพื่อหาบทสรุปการทำงานหรือกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจร่วมกันกับทีมงาน หรือคนในองค์กร ซึ่งในทุกครั้งผู้นำองค์กรที่ดีต้องรับข้อมูล หาข้อมูลเพิ่มเติม วิเคราะห์ความสำคัญ กระตุ้นให้คนองค์กรแบ่งปันความคิด เพื่อจุดหมายเดียวกันทั้งองค์กร
- New priority 3: A New relationship with technology
ผู้นำที่ดีต้องมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับเทคโนโลยีใหม่ หมายถึง แม้ปัจจุบันเราอยู่ในช่วง Digital Age ซึ่งเป็นธรรมดาที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกมามากมาย จนทำให้หลายๆ องค์กรต้องอัพเกรดทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ตลอดเวลา แต่ผู้นำต้องศึกษาและเข้าใจ เพื่อส่งต่อให้คนในองค์กรได้เข้าใจว่าแต่ละเทคโนโลยีเข้ามาตอบโจทย์ความต้องการอย่างไร และเป็นประโยชน์ต่อคนให้องค์กรอย่างไร ดังนั้น องค์กรที่ต้องการปรับตัวจึงต้องใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ควบคู่กับเทคโนโลยีเพื่อออกแบบและสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้
- New priority 4: A new relationship with the speed of change
ทุกวันนี้ การทำงานเร็วขึ้นกว่าเดิม โดยมีผลวิจัยระบุว่าทุกวันนี้ถ้าเราทำงานเพื่อที่จะได้ผลสำเร็จ เราต้องใช้สปีดที่ไวขึ้นกว่าเดิม 40% เพื่อให้ไปถึงจุดเป้าหมาย ดังนั้น ผู้นำที่ดีต้องความเข้าใจการเปลี่ยนแปลง นำพาคนในองค์กรให้เกิดการเข้าใจ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วตลอดเวลา
- New priority 5: Working in a multi-generational workforce
สิ่งที่ทุกองค์กรกำลังเผชิญอยู่ คือ การผสมของคนหลายเจนเนอเรชั่น โดยเฉพาะเจนเนอเรชั่น ซี (The C generation) ซึ่งไม่ได้ถูกแบ่งหรือจำกัดด้วยเรื่องของอายุแต่ด้วยเรื่องของพฤติกรรมที่ชื่นชอบในการค้นหาข้อมูล และเสพดิจิตอลเป็นชีวิตจิตใจ ดังนั้น ผู้นำที่ดีต้องเข้าใจลักษณะและพฤติกรรมของคนในองค์กรแต่ละเจนเนอเรชั่น ไม่นำตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ต้องปรับทัศนคติ มุมมองความคิด เพื่อให้รู้ว่าแต่ละเจนเนอเรชั่นกำลังคิดอะไร ต้องการอะไร และมีความสามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากน้อยแค่ไหน
ซึ่งหากนำผลจากการศึกษานี้มาดู จะทำให้เราสามารถถอดรหัสการทำธุรกิจของผู้บริหารชื่อดังได้อย่างเช่น แจ็ค หม่า (Jack Ma) ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหาร กลุ่มอาลีบาบา ผู้นำนักวิเคราะห์ข้อมูลที่ทุกครั้งจะเริ่มต้องจากการรับรู้และวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด เพื่อศึกษาความต้องการของลูกค้าในตลาด รวมทั้งเชิญชวนคนเก่งๆ มาทำงานร่วมกัน เพื่อยกระดับสังคมการทำงาน และหารูปแบบผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์การตลาดที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้อย่างตรงจุด จาง รุ่ย หมิน (Zhang Ruimin) ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Haier Group หรือที่เป็นที่รู้จักในฐานะ "ผู้ปฏิวัติตัวตนแห่งไฮเออร์" จากผลงานที่เขาพลิกเกมธุรกิจครั้งยิ่งใหญ่ โดยเน้นการกระตุ้นคนในองค์กรให้เกิดความสงสัยอยากรู้ จนนำไปสู่การศึกษาข้อมูลต่างๆ สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจน คือ การเซตทีมขนาดเล็ก ที่สามารถบริหารการทำงานของตนเองได้ ทำให้เกิดความคล่องตัว เพื่อให้คิดโจทย์และแผนธุรกิจเพื่อรองรับความต้องการและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เจฟฟ์ เบโซส์ (Jeff Bezos) ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Amazon เน้นให้คนในองค์กรเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ และเสนอความคิดเห็นในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของลูกค้าตลอดเวลา และเช่นเดียวกับผู้ก่อตั้ง LinkedIn อย่าง เรด ฮอฟแมน (Reid Hoffman) ที่สนับสนุนให้คนในองค์กรมีความสุดขั้วทางความคิดที่แตกต่างกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่มีความหลากหลายมากขึ้น เป็นการกระตุ้นให้คนในองค์กรกระหายการเรียนรู้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
สำหรับการพัฒนาคนในองค์กรนั้น มีผลวิจัยว่าในทุกๆ 4 ปี ความรู้ของคนเราจะถดถอยลง 30% ดังนั้น เราจึงต้องเติมความรู้ หรือสร้างระบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตขึ้นในระดับมายด์เซต (Mindset) ดร. สิรยา คงสมพงษ์ ที่ปรึกษาอาวุโส SEAC กล่าวว่า "ความขี้สงสัยในตัวคุณ คือ ตัวจุดประกายการเรียนรู้ที่ดีที่สุด แต่การสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ในตัวเรานั้น จำเป็นต้องวางรากฐานระดับมายด์เซต (Mindset) ให้พร้อม โดยแบ่งเป็น 3 ส่วนประกอบอันสำคัญ คือ
- Lifelong Learning Mindset คือ การค้นหาวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด บางคนเรียนรู้กับโปรแกรมออนไลน์ บางคนต้องเข้าคลาสแชร์ประสบการณ์กับเพื่อนหรืออ่านหนังสือด้วยตัวเอง แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนต้องมี คือ ความกระหายองค์ความรู้ ต้องรู้จัก Reskill และ Upskill
- เราต้องรู้จัก เรียนเพื่อเป็นผู้เรียนที่ดี หรือ Learn to be Learner Mindset นอกจากความสงสัยและต้องการเพิ่มพูนความรู้แล้ว สิ่งหนึ่งที่เรียนจะสามารถพัฒนามายด์เซต (Mindset) ได้คือ เราต้องรู้จัก 3 สิ่ง คือ การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ (Learn) การไม่ยึดติดกับสิ่งที่เคยเรียนรู้มา หรือกล้าลบสิ่งเดิมๆ ทิ้งไป (Unlearn) และการเรียนรู้สิ่งที่เคยรู้ด้วยมุมมองใหม่ๆ (Relearn)
- เรียนรู้กับความไม่ชัดเจน (Dealing with uncertainty mindset) การเรียนไม่มีรูปแบบที่แน่นอน บางครั้งการเรียนรู้เกิดจากความผิดพลาดล้มเหลว อย่ามองความล้มเหลวเป็นปัญหาให้มองเป็นบทเรียน กล่าวคือ 'ล้มเหลวได้ แต่อย่ายอมแพ้และห้ามกลัวที่จะล้มเหลว' เมื่อเราล้มเหลวจงนำสิ่งนั้นมาปรับปรุงและพัฒนาให้เป็นสิ่งใหม่
ซึ่งถ้าทั้งผู้นำและคนในองค์กรเกิดความสงสัยและกระหายการเรียนรู้ จนสามารถสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ (Lifelong learning ecosystem) ได้อย่างครบวงจรแล้ว องค์กรนั้นจะเป็นหนึ่งในองค์กรที่สามารถก้าวข้ามและพัฒนารูปแบบธุรกิจใน ยุคดิจิตอลได้อย่างยั่งยืน
พร้อมสัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้ตลอดชีวิตกับ YourNextU โมเดลการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning Model) ด้วยราคาสุดพิเศษเพียง 12,000++/คน/ปี ได้แล้ววันนี้ที่ www.yournextu.com