กรุงเทพฯ--13 ส.ค.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์
- ระบบนิเวศการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุทีคึกคักช่วยส่งเสริมความสนใจในประเทศและการเติบโต
- การสนับสนุนของรัฐบาลและสถาบันวิชาการยกระดับศักยภาพการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ
ระบบนิเวศการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ (Additive Manufacturing หรือ AM) ในประเทศไทย ได้รับการคาดหมายว่าจะเติบโตอย่างต่อเนื่องพร้อมกับพัฒนาการของห้องประดิษฐกรรม (Fab Lab) การผนึกกำลังกันระหว่างสถาบันวิชาการและภาคอุตสาหกรรม รวมถึงการจัดกิจกรรมของสถาบันอุดมศึกษาที่เพิ่มขึ้นจะช่วยกระตุ้นความสนใจและการรับรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้
ผลการศึกษาเชิงลึกจากรายงานในหัวข้อ "Additive Manufacturing: Adding Up Growth Opportunities for ASEAN"(อุตสาหกรรมการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ การเพิ่มโอกาสการเติบโตสำหรับทวีปเอเชียน) ซึ่งเพิ่งได้รับการเผยแพร่โดยธิสเซ่นครุปป์ บริษัทวิศวกรรมยักษ์ใหญ่ระดับโลกระบุถึงความเป็นดาวรุ่งของประเทศไทยในการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุของอาเซียนด้วยการครองส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 25 ในภูมิภาคนี้ โดยได้แรงขับเคลื่อนจากอุตสาหกรรมยานยนต์ เคมีภัณฑ์ และการดูแลสุขภาพ การผลิตแบบ AM ในประเทศไทยมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องโดยดึงดูดบริษัทในประเทศและต่างประเทศให้หันมาสนใจการผลิตแบบ AMมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เป็นผู้นำการผลิตแบบ AM ในประเทศไทย บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ระดับโลกอย่างโตโยต้าและบีเอ็มดับเบิลยูได้ใช้ประโยชน์จากการผลิตแบบ AM แล้วในปัจจุบัน อุตสาหกรรมยานยนต์ได้ลงนามเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งกับสถาบันวิจัยชื่อดัง อาทิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (NTU) จากสิงคโปร์เพื่อพัฒนาวัสดุสำหรับชิ้นส่วนยานยนต์
สำหรับกลุ่มสถาบันวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เปิดตัวห้องปฏิบัติการต้นแบบดิจิตอล (Digital Prototyping Laboratory) ซึ่งนำเสนอบริการโรงงานพิมพ์ (printer farm) ด้วยระบบคลาวด์แห่งแรกในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อการจัดการหลักสูตรการศึกษาในมหาวิทยาลัยและการพัฒนางานวิจัย
รัฐบาลไทยยังมีส่วนร่วมในการผลักดันการผลิตแบบ AM ล่าสุดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีลงนามบันทึกความเข้าใจกับออโต้เดสก์ (Autodesk) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อก่อตั้งกลุ่มความร่วมมือ"แพลตฟอร์มการผลิตแบบดิจิทัล" (Digital Manufacturing Platform) เพื่อช่วยสนับสนุนแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ บันทึกความเข้าใจดังกล่าวมีเป้าหมายยกระดับขีดความสามารถทางการผลิตผ่านการใช้เทคโนโลยี 3D ที่ล้ำสมัยในทุกอุตสาหกรรมและศักยภาพการผลิตดิจิทัล
โอกาสมากมายในตลาดอาเซียนจะทำให้ได้ใช้ประโยชน์จากการผลิตแบบ AM โดยเฉพาะการช่วยส่งเสริมการผลิตระดับโลก และมีการคาดการณ์ว่าตลาดการผลิต AM จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มสูงสุดประมาณ 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2568 และช่วยส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของภูมิภาคอาเซียนมีแนวโน้มเติบโตขึ้นร้อยละ 1.5 ถึง 2 ทำให้โอกาสแห่งการเติบโตที่ขับเคลื่อนด้วยการผลิตแบบ AM ในภูมิภาคนี้มีมากมายมหาศาล
"ผลการศึกษาของเราแสดงให้เห็นว่า การผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุมอบโอกาสอันยิ่งใหญ่ในการพลิกโฉมภูมิภาคอาเซียนและยกระดับภาคธุรกิจที่มีความสำคัญ" นาย แยน ลูเดอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธิสเซ่นครุปป์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกล่าว "แน่นอนว่าการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุจะเป็นโซลูชั่นนวัตกรรมใหม่ที่จะขับเคลื่อนการเติบโตในอาเซียน ตราบใดที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทำงานร่วมกันเพื่อสร้างการรับรู้และระบบ
นิเวศที่รองรับการใช้งานและการพัฒนาการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ การก่อตั้งศูนย์เทคโนโลยีการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุของเราในสิงคโปร์สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเราในการนำนวัตกรรมแห่งการเปลี่ยนแปลงมาสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างใกล้ชิดมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าของเรา"
เกี่ยวกับ ธิสเซ่นครุปป์:
ธิสเซ่นครุปป์ เป็นกลุ่มเทคโนโลยีที่มีจุดแข็งตั้งแต่แรกเริ่มในด้านวัสดุ พนักงานกว่า 160,000 คนใน 78 ประเทศทำงานด้วยความมุ่งมั่นและเต็มเปี่ยมด้วยองค์ความรู้ทางเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง พร้อมสร้างกระบวนการทางอุตสาหกรรมและการบริการอัจฉริยะเพื่อความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน ทักษะและความทุ่มเทของพนักงานคือพื้นฐานแห่งความสำเร็จของเรา ธิสเซ่นครุปป์ มีผลประกอบการอยู่ที่ 42.7 พันล้านยูโรในปีงบประมาณ 2560/2561
ด้วยการทำงานร่วมกับลูกค้าของเรา เราพัฒนาโซลูชั่นส์ที่มีขีดความสามารถในการรับมือกับความท้าทายในอุตสาหกรรมของลูกค้าในอนาคต ด้วยความเชี่ยวชาญทางวิศวกรรมของเรา เราช่วยให้ลูกค้าของเรามีความได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดโลกและสร้างผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ด้วยการใช้ต้นทุนและทรัพยากรอย่างเหมาะสม เทคโนโลยีและนวัตกรรมของเราคือกุญแจสำคัญสู่การตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าและตลาดทั่วโลก ขยายการเติบโตในตลาดแห่งอนาคต สร้างรายได้ที่มั่นคงและแข็งแกร่ง ส่งเสริมการเติบโตของกระแสเงินสดและมูลค่า