กรุงเทพฯ--16 ส.ค.--เฟลชแมน ฮิลลาร์ด
Ajinomoto Co., Inc. ก้าวสู่ความท้าทายใหม่
เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการปลุกเร้าความสนใจเกี่ยวกับขยะพลาสติกให้ตื่นตัวอีกครั้ง ทั้งในสื่อทั่วไปและสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะขยะพลาสติกในทะเลและมหาสมุทรที่กลายมาเป็นหัวข้อสำคัญในปัจจุบัน รวมถึงการปรากฏตัวของ "ไมโครพลาสติก" ที่เป็นอนุภาคพลาสติกขนาดความยาวเล็กกว่า 5 มม. ไมโครพลาสติกประกอบด้วยเส้นใยขนาดเล็กที่ได้จากใยสังเคราะห์ไมโครบีดส์ นำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ประเภทสุขอนามัยและความงาม และพลาสติกอนุภาคเล็กอื่น ๆ ที่เกิดจากการย่อยสลายของพลาสติกขนาดใหญ่เมื่อเวลาผ่านไป
แน่นอนว่านี่ไม่ใช่ปัญหาใหม่แต่อย่างใด เป็นเวลาหลายสิบปีแล้วที่ผู้คนและบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลกจำนวนนับไม่ถ้วนได้พยายามทำตามแนวทางการ "ลด ใช้ซ้ำ และรีไซเคิล" เพื่อลดขยะพลาสติกโดยการลดปริมาณพลาสติกที่ต้องใช้ รวมถึงจำนวนพลาสติกที่ต้องทิ้งไปด้วย แต่ปัญหาด้านพลาสติกเป็นปัญหาที่แก้ได้ยาก เหมือนตัวพลาสติกเองที่ย่อยสลายยากและดูเหมือนจะไม่หายไปไหน
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพลาสติกที่คุณควรรู้
- มีการผลิตพลาสติกทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 2 ล้านตันในปี พ.ศ. 2493 เป็น 380 ล้านตันในปี พ.ศ. 25582
- พลาสติก 7,800 ล้านตันที่ผลิตได้ในปี พ.ศ. 2493 ถึงพ.ศ. 2558 จำนวนประมาณครึ่งหนึ่งมีการผลิตในช่วงเพียง 13 ปีที่ผ่านมานี้2
- การผลิตพลาสติกเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วยิ่งกว่าจำนวนประชากรโลก
การลดการผลิตพลาสติก
หากคุณคิดถึงการกำจัดขยะ คุณจะต้องนึกถึงหลักการ "3 R" - Reduce (ลด) Reuse (ใช้ซ้ำ) และ Recycle (รีไซเคิล) ซึ่งจัดเรียงลำดับกันตั้งแต่ ทำได้ง่ายสุด ไปจนถึงทำได้ยากที่สุด และในฐานะที่เป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารระดับโลก บริษัท Ajinomoto ได้มุ่งความสนใจไปที่การลดการผลิตพลาสติกมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ความพยายามในการลดการใช้พลาสติกประสบความสำเร็จในผลิตภัณฑ์ 72 ชนิด นั่นทำให้สามารถลดการใช้พลาสติกต่อปีไปได้ถึง 3,500 ตัน เพื่อให้เห็นภาพว่าปริมาณนี้มีจำนวนมากแค่ไหน ให้ลองนึกถึงช้างเอเชียขนาดทั่วไปที่มีน้ำหนักประมาณ 2.5 – 5.5 ตัน ซึ่งเราสามารถลดการใช้ขยะพลาสติกลงได้คิดเป็นปริมาณเท่ากับช้าง 1,000 ตัวต่อปี3
ในบางกรณี เราสามารถใช้วัสดุอื่นแทนพลาสติกได้ ยกตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรส "HON-DASHI(R)" จากพลาสติกเป็นกระดาษ ทำให้เราสามารถลดการใช้พลาสติกลงไปได้ถึง 11 ตันต่อปี
ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้พลาสติกเพื่อความปลอดภัยและยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ เราใช้การพัฒนาปรับปรุงรูปร่างและวิธีการบรรจุ รวมถึงทำให้ผลิตภัณฑ์มีขนาดกะทัดรัดขึ้น (น้ำหนักเบา) เพื่อช่วยแก้ปัญหาในส่วนนี้ ยกตัวอย่างเช่น ในผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูป "Blendy(R) Cafe Latory(R)" เราสามารถลดขนาดความยาวบรรจุภัณฑ์แบบ "แท่ง" ลงได้ 20 มม. ทำให้สามารถลดการใช้ขยะลงไปได้อีก 20 ตัน
เรามีผลิตภัณฑ์ที่ลดขนาดบรรจุภัณฑ์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และไม่ได้มุ่งเป้าไปแค่เฉพาะผลิตภัณฑ์ในตลาดญี่ปุ่นเท่านั้น แต่เราสามารถลดการใช้พลาสติกไปได้กว่า 2,000 ตันต่อปีโดยการออกแบบขนาดใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงรส "Masako(R)" ที่ขายในประเทศอินโดนีเซียด้วยเช่นกัน
Eat Well, Live Well.
แล้ว "การใช้ซ้ำ" ล่ะ?
"การใช้ซ้ำ" หรือ Reuse เป็น R ตัวที่สองในจำนวน "3 R" ซึ่งเป็นแนวคิดที่ดีหากวัสดุถูกต้องเหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น เราใช้แก้วซ้ำเสมอ เนื่องจากมีความแข็งแรงและทำความสะอาดได้ง่าย แน่นอนว่ามีสินค้าพลาสติกที่มีความทนทาน เช่น ถาดที่ใช้ในโรงอาหารและเก้าอี้ที่ใช้ภายนอกอาคาร ซึ่งจะมีการใช้ซ้ำหลายครั้ง แต่พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เช่น ขวดเพ็ท (PET) ไม่เหมาะสำหรับการนำกลับมาใช้ซ้ำเนื่องด้วยเหตุผลความแข็งแรงและความสะอาด
การรีไซเคิล (การหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่): ความท้าทายที่ใหญ่หลวงที่สุด
โชคร้ายที่การลดการใช้พลาสติกยังไม่เพียงพอ ที่จะลดขยะพลาสติกในโลกของเรา เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย เราต้องมุ่งความสนใจอย่างมากไปที่การรีไซเคิล สำหรับผู้คนส่วนใหญ่ การรีไซเคิลพลาสติกอาจฟังดูไม่ยากมากนัก แค่แยกขวดน้ำพลาสติกออกจากขยะอื่น ๆ แล้วรถเก็บขยะก็มาเก็บทุกอย่างไป แต่ความจริงคือ การรีไซเคิลพลาสติกมีความซับซ้อนกว่าที่ผู้คนคิดมาก เหตุผลคือ พลาสติกมีมากมายหลายชนิดแตกต่างกัน และมีหลากหลายวิธีที่จะสามารถทำการรีไซเคิลได้
ในบรรดาพลาสติกเหล่านี้ ขวดเพ็ทเป็นพลาสติกที่รีไซเคิลได้ง่าย เหตุผลก็คือ ขวดเพ็ททั้งขวดประกอบด้วยพลาสติกเพียงชนิดเดียวคือ "โพลีเอทิลีน เทเรฟทาเลต" (Polyethylene Terephthalate: PET) ดังนั้น ขวดเพ็ทจึงสามารถบีบอัดเข้ากันและสามารถนำมาใช้ทำขวดใหม่ได้ หรือนำมาใช้ทำวัสดุใหม่และผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น สิ่งทอ สินค้าพลาสติกชนิดอื่น เช่น ถาดในโรงอาหาร และแม้กระทั่งอุปกรณ์เครื่องเขียน4
ผลลัพธ์ที่ได้คือ อัตราการรีไซเคิลขวดเพ็ทอยู่ในปริมาณค่อนข้างสูงกว่าพลาสติกประเภทอื่น ในญี่ปุ่นประมาณ 85% ในยุโรป 42% และในสหรัฐอเมริกา 21%
อัตราการรีไซเคิลขวดเพ็ท จากสภาการรีไซเคิลขวดเพ็ท
แต่พลาสติกที่ใช้กับบรรจุภัณฑ์อาหารสามารถนำมารีไซเคิลได้ยากกว่า หน้าที่หลักของพลาสติกในบรรจุภัณฑ์อาหารคือเพื่อให้มั่นใจว่าอาหารมีความปลอดภัย และลดการสูญเสียของอาหารด้วย เนื่องจากพลาสติกทำหน้าที่เป็นตัวขวางกั้นแบคทีเรีย ความชื้น แสงอัลตราไวโอเล็ต และ "สิ่งที่ทำให้อาหารเน่าเสีย" อื่น ๆ เพื่อให้สามารถทำหน้าที่เหล่านี้ได้ พลาสติกที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์อาหารต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลายชั้นที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้น พลาสติกเหล่านี้จึงไม่สามารถบีบอัดรวมกันและนำมาใช้ได้อีกครั้งเหมือนขวดเพ็ท
ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับพลาสติกที่คุณควรรู้
พลาสติกที่ใช้สำหรับบรรจุภัณฑ์คิดเป็น 42% ของการผลิตพลาสติกทั้งหมด
- พลาสติกกว่า 79% ที่ผลิตขึ้นมาทั้งหมดในปี พ.ศ. 2558 ถูกทิ้งอยู่ตามท้องทุ่งหรือในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ จำนวน 12% ถูกเผาทิ้ง และมีเพียง 9% ที่นำมารีไซเคิล2
นวัตกรรมการรีไซเคิลพลาสติก
นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากทั่วโลกกำลังค้นหาแนวทางใหม่เพื่อแก้ไขปัญหานี้ หนึ่งในแนวทางใหม่คือการพัฒนาวัสดุขึ้นมาใหม่ เมื่อไม่นานมานี้มีการผลิตพลาสติกที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ (Biodegratdable plastic) จากมันสำปะหลัง ทำให้สื่อจำนวนมากให้ความสนใจว่าจะสามารถนำมาใช้ทดแทนถุงพลาสติกแบบไม่ย่อยสลายที่ใช้งานกันเป็นจำนวนมากในซุปเปอร์มาเก็ตและในร้านสะดวกซื้อ โชคไม่ดีที่พลาสติกที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาตินั้นมีความเสถียรทางชีวภาพต่ำ นั่นหมายความว่า พลาสติกชนิดนี้จะย่อยสลายได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับสารชีวภาพ จึงทำให้ไม่เหมาะกับการนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร เนื่องจากพลาสติกต้องทำหน้าที่เป็นตัวขวางกั้นสารชีวภาพ ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยเหตุผลในเชิงปฏิบัติ ความสามารถในการละลายน้ำได้ของพลาสติกนั้น ไม่ใช่คุณสมบัติที่เป็นที่ต้องการเท่าใดนักสำหรับบรรจุภัณฑ์ที่ใช้กับอาหาร5
แนวทางใหม่คือพิจารณาถึงวิธีการอื่นในการรีไซเคิล ซึ่งมี 3 วิธีหลัก ดังนี้ การรีไซเคิลวัสดุ (รีไซเคิลวัสดุพลาสติก) การรีไซเคิลสารเคมี (รีไซเคิลวัตถุดิบที่ใช้ทำพลาสติก) และการฟื้นสภาพพลังงาน (ฟื้นสภาพพลังงาน) แม้ว่าแต่ละวิธีจะมีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน แต่บริษัท Ajinomoto ให้ความสนใจไปที่ทุกนวัตกรรมและการพัฒนาที่สามารถนำเสนอหนทางแก้ไขที่สามารถปฏิบัติได้จริงและส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเราผลักดันให้เกิดการกำจัดขยะพลาสติก ในท้ายที่สุดแล้ว เราเชื่อว่า แนวทางการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือแนวทางที่สนับสนุนให้ "ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน" ลดขยะให้ได้มากที่สุดและปรับปรุงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพที่สุด
การทำงานอย่างอิสระและการทำงานร่วมกัน
การลดขยะพลาสติกให้เป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2573 (2030) ต้องใช้การผลักดันอย่างต่อเนื่อง และไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยองค์กรเดียว นั่นทำให้บริษัท Ajinomoto มองหาผู้ร่วมงานในส่วนนี้อย่างจริงจัง ตัวอย่างเช่น เราเป็นสมาชิกร่วมสัญญาของ CLOMA—the Clean Oceans Material Alliance ที่ก่อตั้งเมื่อต้นปีนี้โดยอุตสาหกรรม รัฐบาล และสถาบันวิจัยต่าง ๆ CLOMA ใช้แนวทางในแง่มุมต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยน "ระบบนิเวศน์ของพลาสติก" รวมถึงพฤติกรรมการใช้พลาสติกของผู้คน ผ่านการใช้นวัตกรรม ความร่วมมือ และกิจกรรมส่งเสริมการขาย
บริษัท Ajinomoto สามารถลดการใช้ขยะไปได้ในปริมาณมากโดยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ในแต่ละผลิตภัณฑ์ แน่นอนว่าความพยายามนี้จะมีต่อไป นอกจากนี้ เราจะผลักดันความพยายามในการรีไซเคิลพลาสติกให้มากที่สุดเท่าที่เทคโนโลยีจะสามารถทำได้
เราเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า ด้วยความพยายามในการทำงานร่วมกันกับองค์กรอื่นและทำงานเฉพาะในองค์กรของตน จะสามารถบรรลุเป้าหมายของเราในการช่วยสร้าง "ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน" ที่ช่วยผู้คนให้กินดีมีสุขต่อไปในโลกอนาคตได้อย่างยั่งยืน
เกี่ยวกับบริษัท Ajinomoto Co., Inc.
Ajinomoto Group เป็นผู้นำระดับโลกด้านกรดอะมิโน ต้องขอบคุณวิทยาศาสตร์ชีวภาพที่มีความก้าวหน้าและเทคโนโลยีด้านเคมีขั้นสูงของบริษัท ผลิตภัณฑ์ของบริษัทครอบคลุมสินค้าหลากหลายประเภท อาทิ เครื่องปรุงรส อาหารแปรรูป เครื่องดื่ม กรดอะมิโน เภสัชภัณฑ์และวัสดุชีวภาพ เป็นต้น ตั้งแต่บริษัทค้นพบเครื่องปรุงรส "อูมามิ" (รสชาติพื้นฐานที่ห้าที่ได้จากกรดกลูตามิกและเป็นกรดอะมิโนประเภทหนึ่ง) ในปี ค.ศ. 1908 (พ.ศ. 2451) เราได้มีการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์เพื่อค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการใช้กรดอะมิโนและการส่งเสริมการมีสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้คนทั่วโลกมาอย่างต่อเนื่อง จากคำขวัญองค์กรของเราที่ว่า "กินดี อยู่ดี" เรามุ่งมั่นที่จะเติบโตต่อไปและช่วยส่งเสริมความกินดีมีสุขของผู้คนอย่างต่อเนื่องด้วยการสร้างคุณค่าให้กับชุมชนและสังคมกลุ่มบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะ มีสำนักงานใน 35 ประเทศและภูมิภาค บริษัทขายผลิตภัณฑ์ในกว่า 130 ประเทศและภูมิภาค ในปีงบประมาณ 2560 มูลค่าการขายของบริษัทสูงถึง 1.127 ล้านล้านเยน (10,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมที่ https://www.ajinomoto.com/
อ้างอิง
1. "What are microplastics?" National Ocean Service, https://oceanservice.noaa.gov/facts/microplastics.html.
2. "Production, use, and fate of all plastics ever made" Science Advances, 19 ก.ค. 2560: ฉบับที่ 3, เลขที่ 7, e1700782 https://advances.sciencemag.org/content/3/7/e1700782.full
3. "How Much Do Elephants Weigh in Tons?" อ้างอิง https://www.reference.com/pets-animals/much-elephants-weigh-tons-36807d7c55c0caa4
4. Tim Hornyak "Plastic fantastic: How does Tokyo recycle its waste?" https://www.japantimes.co.jp/life/2017/06/10/environment/plastic-fantastic-tokyo-recycle-waste/#.XOTNOFNLjVo
5. Shelli van Santen "What are the disadvantages of bioplastics?" Quora, 15 ต.ค. 2561 https://www.quora.com/What-are-the-disadvantages-of-bioplastics .