กรุงเทพฯ--20 ส.ค.--มหาวิทยาลัยศรีปทุม
วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม เดินหน้าพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ก้าวทันยุค 4.0 พร้อมความหลากหลายของหลักสูตร เพิ่มทางเลือกสำหรับผู้เรียน ตอบโจทย์คนวัยทำงานในศตวรรษที่ 21 สู่บัณฑิตพันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพและศักยภาพ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรินี มณีศรี คณบดีวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเผยว่า จากสถานะการณ์ในปัจจุบันที่งานด้านโลจิสติกส์มีการเจริญเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในปี 2559 มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้มีการจัดตั้งวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชนขึ้น เพื่อให้มหาวิทยาลัยศรีปทุม มีความโดดเด่นในแง่ของหลักสูตรด้านการเรียนการสอนและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำหรับมหวิทยาลัยศรีปทุม นับเป็นมหาวิทยาลัยแรกๆที่เปิดสอนหลักสูตรด้านโลจิสติกส์ทั้งในระดับปริญญาตรี(Undergraduate degree) ปริญญาโท (Graduate degree) และระดับปริญญาเอก (Postgraduate degree) ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ซึ่งตลอดระยะเวลาที่เปิดการเรียนการสอนขึ้น ทำให้ศรีปทุม ได้ผลิตบุคลากรที่มีสมรรถนะในอุตสาหกรรมการผลิตและบริการออกไปสู่ภาคอุตสาหกรรมของประเทศเป็นจำนวนมาก
อย่างไรก็ตามแม้ว่าหลักสูตรด้านโลจิสติกส์ของวิทยาลัยจะสามารถสร้างบุคลากรที่มีศักยภาพป้อนเข้าไปยังอุตสาหกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ทางวิทยาลัยเองก็มิได้หยุดนิ่งที่จะปรับหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อให้ทันต่อยุคสมัยอยู่ตลอดเวลา ขณะเดียวกันยังได้มีการจัดหลักสูตรที่มีความหลากหลายเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียนได้อย่างตรงจุด ทั้งในหลักสูตร Degree และ Non-Degree
รวมถึงได้มีการพัฒนาหลักสูตรที่เรียกว่า Logistics Qualification System Program (LQSP PWS) เป็นหลักสูตร Logistics Professional ร่วมกับสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย(Thai National Shippers'Council : TNSC) หรือสภาผู้ส่งออก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์และการสร้างมาตรฐานบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมของไทย
นอกจากนี้ยังร่วมมือกับ Japan Institute of Logistics System (JILS) และ Japan External Trade Organization (JETRO) พัฒนาโครงการ Logistic Qualification System Program (LQSP) ขึ้น โดยนำรุปแบบการอบรมและกการทดสอบความรู้จากประเทศญี่ปุ่นมาเป็นต้นแบบและประยุกต์ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศไทย ผู้เรียนจะได้รับ Certified Logistics Professional และสามารถนำ certified มาเทียบโอนในระดับปริญญาโทได้อีกด้วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรินี มณีศรี กล่าวต่อว่า ผู้เรียนในระดับปริญญาโท (Graduate degree) จะมีหลากหลายของกลุ่มธุรกิจ หรือแม้แต่ผู้ที่พึ่งเรียนจบในระดับปริญญาตรี โดยสัดส่วนของผู้เรียนมากถึง 80% เป็นคนทำงานแล้ว โดยในปีนี้ยังอยู่ระหว่างการเปิดรับสมัครจนไปถึงสิ้นเดือนสิงหาคม ปี2562 พร้อมกับการประชาสัมพันธ์อย่างเต็มที่ผ่านทุกช่องทางดิจิทัลเพ่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย
https://www.spu.ac.th/fac/logistics/