กรุงเทพฯ--22 ส.ค.--พีอาร์ มงกุฎเพชร
ประกาศผลแล้ว สสว. จับมือ ศูนย์แห่งความเป็นเลิศ : Excellence Center ด้านเกษตรและด้านการพัฒนาชุมชน จัดงาน "สุดยอดผลิตภัณฑ์เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน & Product Champion 2019" เพื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการขายให้กับผลิตภัณฑ์จากเครือข่ายกิจวิสาหกิจชุมชน รวมกว่า 400 รายจากทั่วประเทศ พร้อมกับนำร่อง อุ่นเครื่องด้วยการโชว์ 2 สุดยอดผลิตภัณฑ์ (Product Champion) ที่ได้รับการพัฒนาและผ่านการคัดสรรโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เมื่อวันที่ 15-18 สิงหาคม 2562 เวลา 10.00-22.00 น. ลานเมืองสุขสยาม ไอคอนสยาม โดยสุดยอดสองแรกผลิตภัณฑ์ที่เปิดตัวก่อน ได้แก่ "ขวัญธารา" ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากมะไฟจีน และ "Noble Sense" Coconut oil
ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากมะไฟจีน แบรนด์ ขวัญธารา จากวิสาหกิจชุมชนขวัญธารา จ.น่าน เป็นต้นแบบของนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับท้องถิ่นบนพื้นฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ เครื่องสำอางผลไม้มะไฟจีนถือเป็นพืชสมุนไพรอัตลักษณ์ของ จ.น่าน ที่มีวิตามินซี คลอลลาเจน ช่วยลดอาการอักเสบ และใบยังมีน้ำมันหอมระเหยอีกด้วย พัฒนากว่า 3 ปี จากวิสาหกิจชุมชนขวัญธารา ต.น้ำเกี๋ยน อ.ภูเกียง จ.น่าน มีประธานกลุ่มคือ ธารารัตน์ ศรีจันทร์ดี เผยถึงแนวความคิดการทำเครื่องสำอางจากมะไฟจีน ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องสำอางหนึ่งเดียวที่พัฒนาผลไม้ท้องถิ่นคือ "มะไฟจีน" สมุนไพรที่ได้ชื่อว่า บ้านน้ำเกี๋ยน จ.น่านปลูกได้มากที่สุดในประเทศไทย จนกลายเป็นพืชเศรษฐกิจของจังหวัด ตั้งแต่ดังเดิมคือทำผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น น้ำสมุนไพร แต่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนขวัญธาราที่เกิดจากการรวมตัวของชาวเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่อยากกลับมาพัฒนาบ้านเกิด และชอบทำอะไรที่ไม่เหมือนใคร จึงคิด ค้นคว้า วิจัยและทดลองจนได้เครื่องสำอางที่ทำจากมะไฟจีนที่ดีต่อผิวพรรณ
" มะไฟจีนเป็นพืชอัตลักษณ์ของจังหวัดน่าน ดังเดิมคนนำไปทำน้ำบ๋วย น้ำมะไฟจีนบ้าง เรากลุ่มวิสาหกิจชุมชนขวัญธาราซึ่งมีสมาชิกกลุ่ม 12 คนมีแนวคิดอยากเอาสมุนไพร จ.น่านมานำมาสร้างมูลค่า สร้างรายได้สู่ขุมชน โดยการคิดนอกกรอบ ทำอะไรที่คนอื่นไม่ทำกัน จึงคิดทำเครื่องสำอาง อาชีพหลักคือ ทำสวน เกษตรกร คนรุ่นใหม่ ที่อยากมาสร้างมูลค่า เราจะขายเรื่องราวเ สน่ห์ของน่าน ซึ่งต้องมีงานวิจัยรองรับ ทำทุกอย่างถูกวางตามหลักวิชาการทั้งหมด มีเลขจดแจ้ง ที่อย.กำหนดทุกตัว มีมาตราฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกำหนด "
พัฒนาได้ 3 ปี ซึ่งปัญหาการทำอะไรใหม่ ๆ มักยังไม่ได้การยอมรรับจากลูกค้า เพราะด้วยยังใหม่มาก พวกเธอจึงต้องเอางานวิจัยมารองรับ นำผู้เชี่ยวชาญมาสร้างการรับรู้แบรนด์จนผู้บริโภคยอมรับ อีก 1 ปัญหาที่ SME หน้าใหม่ประสบคือ สมุนไพรมะไฟจีนออกผลเพียง 2-3 เดือนต่อปีเท่านั้นคือเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม คิดสเต็ปต่อไปหากสินค้าติดตลาด แล้วไม่มีมะไฟจีนมาลองรับ จึงต้องใช้องค์ความรู้วิชาการ ให้มหาวิทยาลัยอุทยานวิทยาศาสตร์ ม.พะเยาและมหาวิทยาลัยทางภาคเหนือต่าง ๆ ช่วยบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ และทำงานวิจัยค่อย ๆ ทำสารสลัดจากมะไฟจีนได้จึงเพียงพอต่อการทำผลิตภัณฑ์ลองรับกลุ่มลูกค้าปีต่อปี เพราะอยากให้ผู้บริโภคได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่สดใหม่ทุกปี
" การพัฒนาธุรกิจต้องคิดอย่างเป็นสเต็ป เริ่มแรกเราผลิตแชมพู สบู่ ก่อนผลิตเราลงทุนใช้เงิน 1 ล้านบาทโดยไม่กู้ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ลงทุนซื้อเครื่องจักรเข้าโรงงาน จากนั้นทำการตลาดพยายามทำส่งในโรงแรมจังหวัดน่าน ออกบูธตามส่วนราชการเพื่อสร้างการับรู้แบรนด์ก่อน เสร็จแล้วแรก ๆ บรรจุภัณฑ์ไม่สวย ก็ต้องค่อยๆ พัฒนาหีบห่อ จากนั้นพยายามทำตลาดออนไลน์ แล้วเรากลายเป็นผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัดน่าน ตอนนี้เราเน้นเซรั่มบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของมะไฟจีน ซึ่งขายดีมาก นอกจากนี้ยังมีครีมบำรุงผิว เรามีโฟมมูสล้างหน้า บอดี้โลชั่น แฮนด์ครีมบำรุงมือและเล็บ สบู่เหลว และแชมพู และยังคงทำเจลว่านหางจระเข้ขายดีมาก ซึ่งเราทำก่อนมะไฟจีนด้วยซ้ำ "
สำหรับการมองคู่แข่งในตลาด ซึ่งกลุ่มมีการเตรียมรับมืออย่างดีแล้ว
" ถ้าเกิดการลอกเลียน เราคิดแล้ววางแผนธุรกิจมานานแล้ว ต่อให้เขาเลียนแบบเรา แต่หากเสิร์ชในอินเตอร์เน็ตผลิตภัณฑ์ด้านความงามจากมะไฟจีนจะขึ้นแต่ของเรา เพราะเราเป็นเจ้าเดียวที่ทำ ถ้าเราทำอะไรในสิ่งที่คนอื่นไม่ทำ แล้วเราทำก่อน เขาตามเราไม่ทันเพราะเขายังไม่ได้รับการยอมรับ แต่เราได้รับการยอมรับแล้ว อีกทั้งเราอยู่กับแหล่งปลูกมะไฟจีนที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เราจึงได้เปรียบด้านแหล่งวัตถุดิบ "
สุดท้ายสินค้าจะขายได้ดี ผู้ประกอบการหน้าใหม่ ควรทำดังนี้ 1. ต้องศึกษาให้รู้จริงในสิ่งนั้น 2.ตัวเองจะต้องไผ่รู้ไผ่เรียนให้มากที่สุด 3.สิ่งที่สำคัญ การทำธุรกิจมีอุปสรรคบ้างแต่หากเกิดปัญหาต้องมีสติ วิเคราะห์หาทางออก 4.ต้องมีกำลังใจที่เข้มแข็ง ต่อให้เรามีอปุสรรคต้องมีจุดยืนของเรา ทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุดในแต่ละวัน ทำวันนี้ให้ดีที่สุดแล้ว วันพรุ่งนี้จะทำหน้าที่ดูแลวันนี้ให้ดีเอง
ด้าน ผลิตภัณฑ์น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ภายใต้แบรนด์ Noble Sense Coconut oil ที่ผ่านขบวนการเก็บกลิ่นแบบธรรมชาติ เป็นระบบสกัดเย็นที่อุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส และมีขบวนการแยกความชื้นได้ 100% จากวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตน้ำมันมะพร้าวบ้านแสงอรุณ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตและจำหน่าย ซึ่งจุดแข็งที่ทำให้เขาได้รับคัดเลือกก็คือ การตอบแทนกลับคืนสู่สังคมด้วยการให้กลุ่มคนพิการในหมู่บ้านแสงอรุณ ทำกระปุกครีมบำรุงผิวจากเปลือกมะพร้าว ที่ช่วยอนุรักษ์โลกไม่ให้เกิดขยะจากบรรจุภัณฑ์ที่ใช้หมดแล้ว อีกทั้งเศษกะลามะพร้าวที่แตกหักยังสร้างอาชีพให้เด็ก ๆ ในละแวกหมู่บ้านได้นำไปประดิษฐ์เป็นเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งบ้านอีกด้วย คุณสำราญ สุจริตรักษ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตน้ำมันมะพร้าวบ้านแสงอรุณ อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทายาทชาวสวนมะพร้าวนับ 100 ไร่
ปัจจุบันนอกจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์แปรรูปเป็นแชมพู โลชั่น ครีมอาบน้ำ น้ำมันนวด ยาหม่อง สบู่ ลิปสติกบาล์ม โคโคนัทอบกรอบ และรับจ้างผลิตน้ำมันมะพร้าวส่งให้ธุรกิจอื่น ๆ ลูกค้าส่วนใหญ่นอกจากคนไทยแล้ว ยังมีชาวรัสเซีย ญี่ปุ่น จีนหลายมณฑล อิหร่าน คูเวต เป็นต้น มูลค่าการส่งออกราว ๆ ปีละราว 10 ล้านบาท ตอนนี้พัฒนาสินค้าโดยใช้หัวไชเท้าผสมกับน้ำมันมะพร้าวทำเป็นเซรั่มบำรุงผิวหน้าภายใต้แบรนด์ "มิส โคโค่" อีกด้วย ถือเป็นการต่อยอดแบรนด์อีกสเตปหนึ่ง
สำราญเล่าย้อนไปถึงจุดเริ่มต้นว่าที่บ้านปลูกมะพร้าวพันธุ์พื้นเมืองของทับสะแกให้น้ำกะทิที่เข้มข้นนับ 100 ไร่และปลูกแบบออแกนิคมาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ที่ต้องการประหยัดต้นทุนไม่ใช้สารเคมี ทำปุ๋ยหมักจากมูลไก่ มูลวัว มูลควายไว้ใช้เอง เปลือกมะพร้าวก็นำมาสับบดให้ละเอียดใช้ทำปุ๋ยได้ ปัจจุบันต่อยอดชักชวนและรวบรวมสมาชิกในกลุ่มได้ราว ๆ 30 คน 10 ครัวเรือน และให้ทุกครัวเรือนปลูกมะพร้าวปลอดสารทั้งหมด ซึ่งจะเป็นวิถีที่ยั่งยืนกว่า
" 12 ปีแล้วที่เข้าไปช่วยพ่อแม่ต่อยอดการปลูกมะพร้าว เพราะดังเดิมรายได้ไม่พอกับรายง่าย เราจึงต้องพัฒนาสินค้า ดิฉันจบคณะศึกษาศาสตร์ เอกวิทยาศาสตร์จากรามคำแหง พอเรียนจบก็กลับมาช่วยพ่อแม่พัฒนา เพราะค่าเก็บ ค่าดูแลมะพร้าวถูกมากแต่ไม่มีการประกันราคามะพร้าว รายได้รายจ่ายไม่สมดุลกัน เราจึงคิดแปรรูป พอดีมีเทรนด์รักสุขภาพเข้ามา แต่คนไม่รู้จักน้ำมันมะพร้าวเท่าไหร่ ก็ต้องเริ่มปรึกษากับผู้รู้ ดร.ณรงค์ โฉมเฉลา ให้ความรู้เรื่องน้ำมันมะพร้าวและการแปรรูปจึงนำองค์ความรู้มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ในการสกัดเย็น สกัดเย็นคือการแปรรูปมะพร้าวเป็นน้ำมันมะพร้าวแต่ยังคงคุณค่าของมะพร้าวที่ดีเช่นกรดบอลิก วิตามินอี ช่วยเรื่องภูมิคุ้มกัน เป็นหวัดบ่อย ๆ ช่วยได้ดี นอกจากกินยังพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผม ทาผิวได้ด้วย ลองผิดลองถูกมาเรื่อย ๆ " นี่คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในยุคแรก ๆ ได้รับเสียงรอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี โชคดีที่เธอรู้จักคนรัสเซียจึงเป็นช่องทางในการส่งสินค้าไปขายที่รัสเซียเป็นประเทศแรก คอนเนคชั่นสิ่งเป็นสิ่งสำคัญ
ก้าวต่อๆ ไปของ Noble Sense Coconut oil คือ ตั้งใจทำการตลาดในไทยให้มากขึ้น มั่นออกงานบูธกับรัฐบาลทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นตลาดที่เชื่อถือได้และได้รับการยอมรับว่าผลิตภัณฑ์ดีจริงจึงได้จับมือกับหน่วยงานรัฐไทย ประหยัดค่าใช้จ่ายไม่ต้องเช่าพื้นที่ ถือเป็นอีกช่องทางการตลาดหนึ่งที่ดีมาก
" ลูกค้าในไทยรู้จักมากขึ้น เราได้พบปะกับลูกค้าจริงๆ เรามีตัวตนไม่ใช่แม่ค้าออนไลน์ แนวคิดต่าง ๆ ในการพัฒนาแบรนด์ได้จากการเข้าฝึกอบรมกับหน่วยงานรัฐบาล สัมมนาจะมีวิทยากรที่สอนเราเรื่อง เรียนรู้การทำมาตราฐานโรงงานให้ปลอดภัย การตลาด ทำบัญชี ทำออนไลน์ ทำหีบห่อสิ่งเหล่านี้ดีมาก ๆ ช่วยเราได้จริง ๆ โดยเฉพาะ Excellence Center ช่วยเรามากจริง ๆ "
สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่ หากอยากแจ้งเกิด มีคำแนะนำมาฝาก
" ข้อแรกต้องดูก่อนว่าตลาดต้องการสินค้าประเภทไหน ถ้าสินค้าเราถูกกับตลาดช่วงนั้นก็จะทำการตลาดได้ง่ายขึ้น เช่น น้ำมันมะพร้าวเหมาะกับคนรักสุขภาพ ทั้งกินทั้งทาได้หมด ใช้ได้ทั้งหญิงและชาย หากสินค้าดีลูกค้าก็พร้อมจ่าย 2 คือต้องปรับเรื่องหีบห่อให้สวยงามและมีมาตราฐาน พยายามขอมาตราฐานให้ครบทุกตัว เช่น อย. ฮาลาล เข้าร่วมโครงการของกระทรวงพาณิชย์ หรือสสว.ให้ได้ให้เขายอมรับเรา 3. ออกบูธหาเวทีให้ตัวเอง 4 ต้องบุกตลาดออนไลน์ เรามีสินค้าจำหน่ายในเวบไซต์ช้อปปิ้งเกือบทั้งหมด เช่น ช้อปปี้ ลาซาด้า ฯลฯ เพื่อให้ลูกค้าพบเห็นสินค้าเราได้บ่อยและง่ายขึ้น ซึ่งปัญหาหรืออุปสรรคเดิม ๆ ที่เราต้องแก้ไขอยู่คือ ปัญญาแรงงานก็ต้องพึ่งกระทรวงแรงงานนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทดแทน "
ท้ายสุด คุณวนิดา จรูญเพ็ญ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า กิจกรรมทดสอบตลาดครั้งนี้ จัดทั้งสิ้น 4 ครั้ง โดยเป็นผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยต่างๆ หลังจากนี้จะจัดขึ้นวันที่ 5-8 กันยายน จัดโดย ม.เทคโนโลยีสุรนารี และ ม.แม่โจ้, 12-15 กันยายน จัดโดย ม.นเรศวร และ ม.วลัยลักษณ์ และ 19-22 กันยายน 2562 จัดโดย ม.ขอนแก่น และ ม.สงขลานครินทร์ ณ ลานเมืองสุขสยาม ห้างสรรพสินค้าไอคอนสยาม กรุงเทพมหานคร