กรุงเทพฯ--23 ส.ค.--แม็กซิม่า คอนซัลแตนท์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยหลักสูตรปริญญาโทด้านแบรนด์และการตลาด (Master in Branding and Marketing) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ประกาศผลงานวิจัยและมอบรางวัล ASEAN's and Thailand's Top Corporate Brands 2019 ให้แก่องค์กรที่มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุดของแต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียน และ 15 หมวดธุรกิจในประเทศไทย ประจำปี 2562 จากการคำนวณด้วยเครื่องมือวัดมูลค่า แบรนด์องค์กร CBS Valuation (Corporate Brand Success Valuation) พัฒนาโดย ศ.ดร. กุณฑลี รื่นรมย์ และ ดร. เอกก์ ภทรธนกุล โดยในประเทศไทย ผลปรากฏว่า บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) มีมูลค่า แบรนด์องค์กรสูงสุด 22,107 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (698,753 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 16 พ.ค. 62) เข้ารับรางวัลจาก ศ.ดร. บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ถ.รัชดาภิเษก
สำหรับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน ที่มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด อินโดนีเซีย ได้แก่ PT Hanjaya Mandala Sampoerna Tbk. มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 30,014 ล้านเหรียญสหรัฐฯ, สิงคโปร์ ได้แก่ Singapore Telecommunications Limited มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 22,353 ล้านเหรียญสหรัฐฯ, ฟิลิปปินส์ ได้แก่ SM Prime Holdings, Inc. มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 14,050 ล้านเหรียญสหรัฐฯ, มาเลเซีย ได้แก่ Public Bank Berhad มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 11,453 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเวียดนาม ได้แก่ Vietnam Dairy Products Joint Stock Company มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 8,840 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ศ.ดร. กุณฑลี รื่นรมย์ หนึ่งในผู้สร้างเครื่องมือวัดมูลค่าแบรนด์องค์กร CBS Valuation เผยว่า "ในฐานะที่ จุฬาฯ เป็นผู้นำทางวิชาการ ได้มีการเผยผลงานวิจัยการประเมินมูลค่าแบรนด์องค์กรให้สังคมและภาคธุรกิจรับทราบมาอย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้เป็นเป็นปีที่ 10 โดยคณะผู้วิจัยได้ทำการวิจัยมูลค่าแบรนด์องค์กรทั้งในระดับประเทศ และภูมิภาคอาเซียน เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริหารระดับสูงมีการพัฒนาแบรนด์องค์กรอย่างจริงจัง มีความตื่นตัวในการสร้างแบรนด์องค์กร ซึ่งจะสร้างการเติบโตที่แข็งแรงและความยั่งยืนของธุรกิจ อันจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศและภูมิภาคโดยรวม"
สำหรับรางวัล Thailand's Top Corporate Brands 2019 มอบให้แก่องค์กรธุรกิจที่มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุดใน15 หมวดธุรกิจ โดยปีนี้มี 9 องค์กรชั้นนำรายใหม่ขึ้นรับรางวัล ได้แก่ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 558,608 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจพาณิชย์, บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 65,926 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์, บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 64,811 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์, บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 49,511 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์, บริษัท วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 44,949 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์, บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 34,207 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, บริษัท โรงพยาบาลจุฬารัตน์ จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 22,120 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจการแพทย์, บริษัท ดิ เอราวัณ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 8,602 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจการท่องเที่ยวและสันทนาการ และบริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 5,810 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต
ส่วนองค์กรที่ยังคงรักษาแชมป์ได้อีกหนึ่งสมัย ได้แก่ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 142,034 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 135,787 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจธนาคาร, บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 125,206 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจพลังงานและสาธารณูปโภค, บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 98,882 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม, บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุด 45,363 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจเงินทุนและหลักทรัพย์ และ บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) มีมูลค่า แบรนด์องค์กรสูงสุด 34,185 ล้านบาท ในหมวดธุรกิจวัสดุก่อสร้าง
นอกจากนี้ยังได้ประกาศรางวัลหอเกียรติยศ Thailand's Top Corporate Brands Hall of Fame 2019 ให้แก่องค์กรที่มีมูลค่าแบรนด์องค์กรสูงสุดในหมวดธุรกิจนั้นๆ ต่อเนื่องกัน 5 ปี ตั้งแต่ปี 2014 – 2018 จำนวน 6 องค์กร ได้แก่ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ในหมวดธุรกิจประกันภัยและประกันชีวิต, บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ในหมวดธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์, บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ในหมวดธุรกิจการแพทย์, บริษัท โรงแรมเซ็นทรัล พลาซา จำกัด (มหาชน) ในหมวดธุรกิจการท่องเที่ยวและสันทนาการ, บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในหมวดธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ และ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ในหมวดธุรกิจชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดยบริษัทเหล่านี้จะไม่นำกลับมาคำนวณอีกในหมวดนั้นๆ
ด้าน ดร. เอกก์ ภทรธนกุล หนึ่งในผู้สร้างเครื่องมือวัดมูลค่าแบรนด์องค์กร CBS Valuation กล่าวปิดท้ายว่า "มูลค่าแบรนด์องค์กรที่ได้จากสูตร CBS Valuation สามารถนำไปสร้างความเชื่อมั่นไว้วางใจให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรธุรกิจ ที่ผ่านมา CBS Valuation ได้รับการยอมรับจากองค์กรธุรกิจชั้นนำ ให้เป็นเครื่องมือที่ช่วยกำหนดเป้าหมายการพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ เพราะแบรนด์องค์กรที่ดีจะนำมาซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนที่ลดลง เม็ดเงินลงทุนที่มีคุณภาพสูงขึ้น และที่สำคัญคือความสำเร็จอย่างยั่งยืน" ผลงานวิจัยและรางวัล ASEAN and Thailand's Top Corporate Brands 2019 จึงเป็นกุญแจสำคัญที่สร้างความแข็งแกร่งและยั่งยืนให้ธุรกิจไทยและอาเซียน